กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงความสัมพันธ์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • สุกัญญา หะยีสาและ Faculty of Science, Srinakharinwirot University
  • รุ่งฟ้า จันท์จารุภรณ์
  • รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
  • สมวงษ์ แปลงประสพโชค

Keywords:

การคิดเชิงความสัมพันธ์ เครื่องหมายเท่ากับ ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนสองจำนวน การชดเชย และสมบัติของจำนวนและการดำเนินการ

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงความสัมพันธ์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 แล้วศึกษาความสามารถในการคิดเชิงความสัมพันธ์ ความคงทนของความสามารถในการคิดเชิงความสัมพันธ์ และพฤติกรรมการคิดเชิงความสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์) เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 32 คน  โดยมีนักเรียนเป้าหมาย 6 คน เพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการคิดเชิงความสัมพันธ์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงความสัมพันธ์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 แผน แผนละ 1 คาบเรียน คาบเรียนละ 60 นาที (2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดเชิงความสัมพันธ์หลังการทดลองทันที (3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดเชิงความสัมพันธ์หลังสิ้นสุดการทดลอง 2 สัปดาห์ (4) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านการคิดเชิงความสัมพันธ์ และ (5) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาความสามารถด้านการคิดเชิงความสัมพันธ์ กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงความสัมพันธ์นี้ เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามารถในด้านการคิดเชิงความสัมพันธ์ ซึ่งจะสอดแทรกไปกับกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ในชั้นเรียนปกติ  โดยกิจกรรมการเรียนรู้นี้พัฒนาขึ้นโดยใช้แนวทางของการเพิ่มพูนการคิดเชิงคณิตศาสตร์และการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด ผลการวิจัยพบว่า      1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงความสัมพันธ์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 มีความสามารถในการคิดเชิงความสัมพันธ์ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของคะแนนเต็ม มากกว่า ร้อยละ 50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ระดับนัยสำคัญ .05               2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงความสัมพันธ์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 มีความสามารถในการคิดเชิงความสัมพันธ์หลังการทดลองทันทีและหลังสิ้นสุดการทดลอง 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความคงทนของความสามารถในการคิดเชิงความสัมพันธ์               3. เมื่อนักเรียนมีประสบการณ์ในกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงความสัมพันธ์ นักเรียนที่มีความสามารถในการคิดเชิงความสัมพันธ์ด้านความเข้าใจเครื่องหมายเท่ากับด้านความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนสองจำนวนและใช้การชดเชย และด้านความสามารถในการใช้สมบัติพื้นฐานของจำนวนและการดำเนินการ มีจำนวนมากขึ้น โดยด้านความเข้าใจเครื่องหมายเท่ากับ นักเรียนสามารถเขียนประโยคจำนวนที่ใช้เครื่องหมายเท่ากับได้อย่างหลากหลาย และสามารถหาคำตอบของประโยคเปิดของจำนวนได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถใช้เครื่องหมายเท่ากับในลักษณะที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณได้ ในขณะที่ด้านความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนสองจำนวนและใช้การชดเชย  นักเรียนสามารถเขียนตัวเลขแสดงจำนวนได้อย่างหลากหลายโดยใช้ทบสิบหรือพหุคูณของทบสิบช่วยในการหาคำตอบ  แสดงร่องรอยการขีดเขียนโดยใช้เส้นเชื่อมจำนวนที่สัมพันธ์กัน  ใช้ลูกศรหรือแผนภาพเปรียบเทียบจำนวนที่กำหนด  และใช้การเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนเพื่อช่วยในการหาคำตอบ   สำหรับด้านความสามารถในการใช้สมบัติพื้นฐานของจำนวนและการดำเนินการ นักเรียนสามารถใช้สมบัติสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่และสมบัติพื้นฐานอื่นๆ ช่วยในการหาคำตอบทำให้ลดขั้นตอนในการคิดคำนวณ ABSTRACTThe purpose of the study was to construct activities used to enhance grade 1 students’ relational thinking on addition and subtraction of number of which answers and operands not exceeding 100, study its effects on students’ ability in relational thinking, retention in relational thinking on students’ ability in relational thinking, and performance in relational thinking               Thirty-two grade 1 students of Khannayao (Tharincharensngkor) were participated in this study. Six out of them were targeted for a thorough analysis of their behavior in Relational Thinking. The instruments of this study were (1) a set of learning activities for enhancing Relational Thinking in addition and subtraction of integers whose results and dividends less than or equal to 100 for 1st grade primary students, for a total of 18 activities, each of which is applied in one class period that lasts for 60 minutes; (2) a retention test of relational thinking capability that was conducted after the experiment; (3) a retention test of relational thinking capability that was applied two weeks after the experiment; (4) a form for observing students’ behavior in relational thinking; (5) an interview form for measuring  students’ capability in relational thinking.The proposed learning activities were developed by adopting Advancing Children’ Mathematical Thinking (ACT) and Cognitive Guided Instruction (CGI). Results of the study were as follows: 1. An analysis of the data, with at .05 level of significance, revealed that more than 50% of subjects performed better than 50% of the total score.2. The outcomes of the retention test that was conducted after the experiment and the retention test applied two week after the experiment on the relational thinking were not significantly different.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2011-11-30

How to Cite

หะยีสาและ ส., จันท์จารุภรณ์ ร., แย้มรุ่ง ร., & แปลงประสพโชค ส. (2011). กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงความสัมพันธ์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. Science Essence Journal, 27(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/1792