สถานภาพของพืชดัดแปรพันธุกรรมและความปลอดภัยทางชีวภาพ

Authors

  • ชาลินี คงสวัสดิ์
  • จินตนา จันทร์เจริญฤทธิ์

Keywords:

พืชดัดแปรพันธุกรรม ความปลอดภัยทางชีวภาพ GMOs Genetically Modified Plants, Biosafety

Abstract

พืชดัดแปรพันธุกรรมีการปลูกในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนกระทั่งปัจจุบันพื้นที่ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี พ.ศ. 2552 มีพื้นที่ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมทั้งสิ้น 134 ล้านเฮคแตร์ ใน 25 ประเทศ ในยุคแรกของการพัฒนาพืชดัดแปรพันธุกรรมเน้นที่การต้านทานโรคและแมลง เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และเริ่มเปลี่ยนทิศทางเป็นการพัฒนาในด้านอื่นๆ เช่น เพื่อผลิตสารทางเภสัชภัณฑ์ หรือเป็นแหล่งพลังงานชีวภาพ โดยเริ่มมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในหลายประเทศต่างออกกฎระเบียบเพื่อใช้ในการกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้ประโยชน์ของพืชดัดแปรพันธุกรรม ทั้งในรูปแบบของกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ สำหรับประเทศไทยไม่อนุญาตให้นำเข้าพืชดัดแปรพันธุกรรมเพื่อปลูกในเชิงการค้า โดยอาศัยข้อบังคับของพระราชบัญญัติกักพืช เนื่องจาก ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ใช้กำกับดูแลพืชดัดแปรพันธุกรรม โดยอยู่ระหว่างการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกา Genetically Modified (GM) Plants were first commercialized in 1996 and the number continually increases every year. In 2009, there were 134 hectares of GM plants in 25 countries. Trend in the research and development of GM plants have changed from the first-generation focus on agronomic traits, such as increased pest and disease resistance, to other areas of development, such as bio-pharming and bio-fuels, which have been gradually released onto the market. This has resulted in the effort to regulate the use of GM plant through guidelines and laws in many countries. At present, Thailand uses the Plant Quarantine Act B.E. 2507 (1964; amendment 2010) to prevent the import of GM plants for commercial release since we still don’t have specific laws for GMO regulation; however a draft Biosafety Act has been approved by the cabinet and is now under consideration by the Office of the Council of State of Thailand.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

คงสวัสดิ์ ช., & จันทร์เจริญฤทธิ์ จ. (2011). สถานภาพของพืชดัดแปรพันธุกรรมและความปลอดภัยทางชีวภาพ. Science Essence Journal, 27(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/1463