การนำมัลติเอเจนท์มาใช้ในการปรับสารสนเทศการเรียนตามความสนใจของผู้เรียน

Authors

  • อุราพร ศุขะทัต
  • จรัญ แสนราช
  • มนต์ชัย เทียนทอง
  • นิดาพรรณ สุรีรัตนันท์

Keywords:

มัลติเอเจนท์, การปรับสารสนเทศการเรียน, การกลั่นกรองสารสนเทศ, ดัชนีชี้วัดโดยนัย, การเรียนการสอนที่นำเทคโนโลยีเว็บมาเป็นพื้นฐาน

Abstract

การวิจัยนี้ได้นำเสนอกรอบแนวคิด ในการออกแบบและพัฒนาแบบจำลองการปรับสารสนเทศการเรียน (Adaptive Learning Information: ALIN) ผนวกกับสารสนเทศจากเว็บที่สัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนเข้าในระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ โดยนำวิธีการมัลติเอเจนท์มาใช้ในการติดตามพฤติกรรมและความสนใจของผู้เรียนที่มีการปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน สารสนเทศที่ ALIN แนะนำเป็นสารสนเทศเสริมจากเว็บตามความต้องการของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญทั้งศาสตร์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาการศึกษาจำนวน 6 ท่าน ทบทวนและประเมินความเหมาะสมของสถาปัตยกรรมโดยรวมที่สอดคล้องตามกรอบแนวคิดและแบบจำลอง มีความเห็นตรงกันในระดับเห็นด้วยมากที่สุด จึงนำไปสู่การพัฒนาระบบที่ผนวกเข้ากับระบบบริหารจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน (Learning Content Management System: LCMS) ”ATutor” ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยประเมินความพึงพอใจจากตัวอย่างผู้เรียนจำนวน 111 คน ที่เรียนวิชา Data Structure and Algorithm และ Gems and Jewelry Business Administration เพื่อเปรียบเทียบภาพรวมของการเรียนผ่านระบบ ALIN กับการเรียนออนไลน์แบบเดิมด้วยการใช้ Google เป็นเครื่องมือในการสืบค้น และประเมินความพึงพอใจในการปฏิสัมพันธ์กับการปรับสารสนเทศที่ระบบแนะนำ ซึ่งข้อมูลที่ระบบใช้ในการแนะนำ ได้มาจากการติดตามพฤติกรรมความสนใจสารสนเทศการเรียนบนเว็บจากตัวบ่งชี้โดยนัย (Implicit Indicator) ของกลุ่มผู้เรียน ได้แก่ การใช้เวลาบนหน้าเว็บ การอ่าน การเก็บ การพิมพ์ และการคั่นเอกสาร นำมาบันทึกและใช้ในแบบจำลองการวิเคราะห์การให้น้ำหนัก ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียนผ่านระบบ ALIN กับการเรียนออนไลน์แบบเดิม ด้วย t-test ต่อการปฏิสัมพันธ์กับการปรับสารสนเทศการเรียนทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ผู้เรียนได้รับสารสนเทศตามความต้องการเสริมจากเนื้อหาบทเรียน 2) ทำการสืบค้นสารสนเทศตามความต้องการด้วยเกณฑ์การสืบค้นที่ผู้สอนเตรียมไว้เพื่อให้เกิดการกลั่นกรอง 3) แหล่งสารสนเทศที่ผู้เรียนได้รับมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนหรือตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้สอน 4) มีการจัดการและการเข้าถึงสารสนเทศตามที่ผู้เรียนสนใจ ผลปรากฏว่า ได้คะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าการเรียนออนไลน์แบบเดิมที่อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = .05

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2008-09-02

How to Cite

ศุขะทัต อ., แสนราช จ., เทียนทอง ม., & สุรีรัตนันท์ น. (2008). การนำมัลติเอเจนท์มาใช้ในการปรับสารสนเทศการเรียนตามความสนใจของผู้เรียน. Science Essence Journal, 24(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/144