หนอนพยาธิในทางเดินอาหารของหนูชนิดต่างๆ จากจังหวัดเลย ประเทศไทย (Gastrointestinal Helminth Fauna in Rodents from Loei Province, Thailand)
Keywords:
Helminth, Rodents, Parasite species richness, Habitat, Loei province, ThailandAbstract
การศึกษาหนอนพยาธิในทางเดินอาหารของสัตว์ฟันแทะจำพวกหนูชนิดต่างๆ จำนวน 443 ตัว ซึ่งดักจับได้จากแหล่งที่อยู่อาศัยหลากหลายเช่น พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรมบนที่สูง พื้นที่เกษตรกรรมในที่ลุ่มชุ่มน้ำ และพื้นที่ใน เขตชุมชนเมือง ของอำเภอเมือง จังหวัดเลย ผลการศึกษาพบหนูจากการดักจับทั้งหมด 16 ชนิด และมีการติดหนอนพยาธิในทางเดินอาหารจำนวนทั้งสิ้น 19 ชนิด โดยแบ่งเป็น กลุ่มพยาธิใบไม้ 3 ชนิด กลุ่มพยาธิตืด 3 ชนิด กลุ่มพยาธิตัวกลม 12 ชนิด และกลุ่มพยาธิหัวหนาม 1 ชนิด ความชุกของการติดหนอนพยาธิคิดเป็นร้อยละ 55.1% (ตรวจพบหนอนพยาธิในหนู 244 ตัว) หนอนพยาธิที่ถูกพบมากที่สุดคือ พยาธิตัวกลมในวงศ์ Trichostrongylidae (25.5%) ตามด้วยพยาธิตืดหนู (Hymenolepis diminuta; 12.4%) และพยาธิเข็มหมุดของหนู (Syphacia muris; 9.2%) โดยหนูหริ่งนาหางยาว (Mus caroli) มีอัตราการติดพยาธิสูงที่สุด (81.5%) ตามด้วยหนูเขาสูง (Leopoldamys edwardsi; 75%) หนูพุกเล็ก (Bandicota savilei; 71.4%) และหนูหริ่งใหญ่ (Mus cookii; 70.2%) ตามลำดับ ในขณะที่หนูนาเล็ก (Rattus losea) มีจำนวนชนิดของหนอนพยาธิที่ติดสูงที่สุดคือ 12 ชนิด ตามด้วยหนูพุกเล็ก (Bandicota savilei) 9 ชนิด หนูหริ่งนาหางสั้น (Mus cervicolor) 8 ชนิด หนูขนเสี้ยนดอย (Niviventer fulvescens) 8 ชนิด และหนูบ้านเอเชีย(Rattus tanezumi) 8 ชนิด จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า จำนวนชนิดของหนอนพยาธิที่ติดในหนูแต่ละตัว มีความสัมพันธ์กับวัยของหนูอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือจำนวนชนิดของหนอนพยาธิที่ติด จะพบสูงในหนูวัยโตเต็มที่มากกว่าหนูวัยอ่อน ในทางตรงกันข้ามพบว่าหนูเพศผู้ และเพศเมียไม่มีความแตกต่างต่อจำนวนชนิดของหนอนพยาธิที่ติด พยาธิที่มีความสำคัญทางการแพทย์ และสาธารณสุข โดยมีความเสี่ยงเป็นโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งมีหนูเป็นพาหะหรือตัวอมโรคได้แก่ พยาธิตืด Raillietina sp. พยาธิตืดแคระ Rodentolepis nana (syn. Hymenolepis nana) พยาธิตืดหนู Hymenolepis diminuta และพยาธิหัวหนาม Moniliformis moniliformis นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า หนูพุกเล็ก (Bandicota savilei) หนูจี๊ด (Rattus exulans) หนูนาเล็ก (Rattus losea) และหนูบ้านเอเชีย (Rattus tanezumi) ประกอบกับแหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมบนที่สูง และที่ลุ่มชุ่มน้ำ มีความเสี่ยงต่อ มนุษย์ในการสัมผัสกับโรคหนอนพยาธิที่มีหนูเป็นพาหะหรือตัวอมโรคในพื้นที่จังหวัดเลยที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ The presence of gastrointestinal helminth (GI helminth) was investigated in 443 murid rodents, trapped in various habitats as forest, upland, lowland agricultural areas and domestic place from Loei province, Thailand. The study revealed 16 species of rodents infected with 19 species or taxonomic groups of parasites (3 trematodes, 3 cestodes, 12 nematodes and 1 acanthocephalan). The prevalence of infection was 55.1% (244 infected out of 443 rodents). Among GI helminths, the dominant parasite was Trichostrongylidae (25.5%), followed by Hymenolepis diminuta (12.4%) and Syphacia muris (9.2%). The highest prevalence was found in Mus caroli (81.5%), followed by Leopoldamys edwardsi (75%), Bandicota savilei (71.4%) and Mus cookii (70.2%). Rattus losea revealed the highest total parasite species richness (totalPSR) (12 parasite species), followed by Bandicota savilei (9), Mus cervicolor (8), Niviventer fulvescens (8), and Rattus tanezumi (8). Statistical analysis of individual parasite species richness (individualPSR) with sex and maturity showed that high individualPSR was possibly related to maturity (adult rodents). In contrast, individualPSR was not associated with host sex. The following parasites, Raillietina sp., Rodentolepis nana (syn. Hymenolepis nana), Hymenolepis diminuta and Moniliformis moniliformis are considered as cause of parasitic zoonoses of medical important linked with murid rodents. Bandicota savilei, Rattus exulans, Rattus losea and Rattus tanezumi together with habitat fragmentation as upland and lowland agricultural areas appear to be the possible risks for human exposure to helminthiasis in this location.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
ฉายศิริ ก., เชยชมศรี ว., สิรันทวิเนติ จ., Herbreteau, V., & Morand, S. (2011). หนอนพยาธิในทางเดินอาหารของหนูชนิดต่างๆ จากจังหวัดเลย ประเทศไทย (Gastrointestinal Helminth Fauna in Rodents from Loei Province, Thailand). Science Essence Journal, 26(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/1266
Issue
Section
Research Article