Causal Analysis of Ground-Level Ozone and Other Variables in Map Ta Phut Pollution Control Zone, Rayong Province, Thailand

Authors

  • Ketsiri Khamkhod บัณฑิตศึกษา สาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • Phimphaka Taninpong - ศูนย์วิจัยวิทยาการข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • Watha Minsan ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • Salinee Thumronglaohapun ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

โอโซนระดับพื้นดิน, PLS-PM, การวิเคราะห์เชิงสาเหตุ, ระยอง

Abstract

การวิเคราะห์เชิงสาเหตุของโอโซนระดับพื้นดินและตัวแปรอื่น ๆ ในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างโอโซนระดับพื้นดินและตัวแปรอื่น ๆ ได้แก่ ปัจจัยปฏิกิริยาโฟโตเคมี ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา ปัจจัยมลพิษทางอากาศ และปัจจัยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) โดยใช้การวิเคราะห์เชิงสาเหตุด้วยการสร้างตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-PM) การศึกษาครั้งนี้รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยมลพิษทางอากาศ และปัจจัยปฏิกิริยาโฟโตเคมี มีผลกระทบทางตรงเชิงบวกต่อความเข้มข้นของโอโซนระดับพื้นดิน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.7453 และ 0.1423 ตามลำดับ ขณะที่ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา มีผลกระทบทางอ้อมเชิงลบต่อความเข้มข้นของโอโซนระดับพื้นดิน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ -0.6099 อย่างไรก็ตาม VOCs ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเข้มข้นของโอโซนระดับพื้นดินแต่ส่งผลกระทบโดยตรงเชิงบวกต่อปัจจัยมลพิษทางอากาศ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.2384 ดังนั้นปัจจัยมลพิษทางอากาศจึงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเข้มข้นของโอโซนระดับพื้นดิน  Causal Analysis of Ground-Level Ozone and Other Variables in Map Ta Phut Pollution Control Zone, Rayong Province, Thailand. This study aims to describe the causal relationship between ground-level ozone and other variables including photochemical reaction factors, meteorological factors, air pollution factors, and VOCs factors using causal analysis by partial least squares path modeling (PLS-PM). The data were collected during January 2008 to August 2019 from Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment, Thailand. The results show that air pollution factors and photochemical reaction factors have the direct positive impact on ground-level ozone concentration with the path coefficient of 0.7453 and 0.1423, respectively. In contrast, meteorological factors have the indirect negative effect on ground-level ozone concentration with the path coefficient are -0.6099. However, VOCs do not have the direct impact on ground-level ozone concentration but have a direct positive impact with air pollution factors with the path coefficient is 0.2384. As a result, air pollution factors are the main factors affecting the concentration of ground-level ozone.  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-12-28

How to Cite

Khamkhod, K., Taninpong, P., Minsan, W., & Thumronglaohapun, S. (2020). Causal Analysis of Ground-Level Ozone and Other Variables in Map Ta Phut Pollution Control Zone, Rayong Province, Thailand. Science Essence Journal, 36(2), 21–39. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/12311