Evaluation of Genetic Diversity of Natural Seablite (Suaeda maritima (L.) Dumort.) using SRAP Marker

Authors

  • Maliwan Nakkuntod
  • Pornsawan Wudthigarn
  • Surin Peyachoknakul

Keywords:

Suaeda maritime, seablite, genetic diversity, SRAP marker, ชะคราม, ความหลากหลายทางพันธุกรรม, เครื่องหมายเอสอาร์เอพี

Abstract

บทคัดย่อ ชะครามมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Suaeda maritima (L.) Dumort อยู่ในวงศ์ Chenopodiaceae เป็นพืชอวบน้ำที่สามารถทนเค็มได้ในหลายระดับและสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงมีแนวโน้มที่จะสามารถส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจได้ในอนาคต เนื่องจากนำมาใช้ประกอบอาหารและเป็นสมุนไพรได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของชะคราม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของชะครามที่รวบรวมจาก 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร จำนวน 18 ตัวอย่าง โดยใช้เครื่องหมาย SRAP จำนวน 10 คู่ไพรเมอร์ พบว่ามี 4 คู่ไพรเมอร์ที่ให้ความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอ เมื่อศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เกิดขึ้นพบว่ามีแถบดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน 17 แถบ (94.44%) จากทั้งหมด 18 แถบ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง  0.27-1.00 โดยเมื่อนำมาจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA พบว่าที่ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนเท่ากับ 0.58 สามารถจัดกลุ่มชะครามได้ 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1, 5 และ 6 เป็นตัวอย่างชะครามที่เก็บจากเพชรบุรี กลุ่มที่ 2 เป็นตัวอย่างจากกรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 3 เป็นตัวอย่างจากเพชรบุรีและสมุทรสงคราม และกลุ่มที่ 4 เป็นตัวอย่างจากสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร และสมุทรสงคราม จากงานวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่าตัวอย่างชะครามจากจังหวัดเพชรบุรีมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงที่สุด เพราะมีการกระจายตัวอยู่ในหลายกลุ่ม ABSTRACT Seablite (Suaeda maritima (L.) Dumort), belonging to Family Chenopodiaceae, is succulent plant to highly tolerate to various level of salinity; moreover, it is very easy to propagate. Therefore, it is able to promote to be an economic crop in the future because of using in culinary and medicinal purposes. Currently, there is no report on the study of the genetic diversity of seablite. The objective of this research was to evaluate the genetic diversity of 18 samples of seablite collected from natural habitat in 4 provinces, namely Phetchaburi, Samut Sakhon, Samut Songkhram and Bangkok using SRAP markers. It was found that only 4 out of 10 primers produced 17 polymorphic bands (94.44%) from total of 18 bands. According to the genetic relationship among seablite samples, the similarity index ranged from 0.27-1.00. For cluster analysis using UPGMA, all smaples could be separated into six groups at the similarity coefficient of 0.58. Group 1, 5, and 6 was the samples collected from Phetchaburi. Group 2 was the samples from Bangkok. Group 3 was the samples from Phetchaburi and Samut Songkhram and group 4 was the samples from Samut Sakhon, Bangkok and Samut Songkhram. From this study, it was pointed that seablite from Phetchaburi were the most diversified because they were placed into many groups.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-26

How to Cite

Nakkuntod, M., Wudthigarn, P., & Peyachoknakul, S. (2020). Evaluation of Genetic Diversity of Natural Seablite (Suaeda maritima (L.) Dumort.) using SRAP Marker. Science Essence Journal, 36(1), 117–128. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/11190

Issue

Section

พฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13(ปิดรับ)