ผลของไซโตไคนินต่อการเจริญและพัฒนาของต้นอ่อนกล้วยไม้ลูกผสมดอนมาลี X เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium Green Lantern)
Keywords:
ไซโตไคนิน, กล้วยไม้ลูกผสม, การเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง, การย้ายปลูกAbstract
จากการเลี้ยงชิ้นส่วนต้นอ่อนของกล้วยไม้ลูกผสมดอนมาลี X เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium Green Lantern) อายุ 9 เดือน ความสูงประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร บนอาหารแข็งสูตรดัดแปลง Vacin and Went (VW) (1949) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนินชนิดต่างๆ ได้แก่ N6-furfuryladenine (Kinetin) N6-benzylaminopurine (BA) Thidiazuron (TDZ) N6-isopentenyladenine (2iP) และ Zeatin ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5, 1.0, 2.5 และ 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า สูตรอาหารที่เติม Zeatin 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่มากที่สุด 3.6 ยอดต่อชิ้นส่วนเพาะเลี้ยง ในขณะที่สูตรอาหารที่เติม Zeatin 2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร จะชักนำให้มีความสูงยอด และความยาวรากมากที่สุด 3.5 และ 2.8 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่สูตรอาหารที่เติม 2iP เข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ Zeatin 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร จะส่งเสริมให้มีการเพิ่มของจำนวนใบได้ดีที่สุดแต่ไม่แตกต่างกัน 4.1 ใบต่อยอด และการเติม 2iP เข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร จะชักนำการสร้างรากมากที่สุด 6.8 รากต่อยอด ต้นอ่อนกล้วยไม้ใหม่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยง สามารถย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมปกติภายนอกได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงสุดถึง 89.6% ที่เวลา 8 สัปดาห์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
กงบังเกิด อ., & วงษศา ธ. (2008). ผลของไซโตไคนินต่อการเจริญและพัฒนาของต้นอ่อนกล้วยไม้ลูกผสมดอนมาลี X เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium Green Lantern). Science Essence Journal, 23(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/106
Issue
Section
Research Article