การคัดเลือกและการจัดจำแนกชนิดแบคทีเรียแลคติกที่สร้างแบคทีริโอซินได้จากอาหารหมัก และการศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นของแบคทีริโอซินที่ผลิตได้
Keywords:
แบคทีเรียแลคติก, แบคทีริโอซินAbstract
การแยกเชื้อแบคทีเรียแลคติก (lactic acid bacteria, LAB) จากอาหารหมักจำนวน 50 ตัวอย่าง พบว่าได้แบคทีเรียแกรมบวก ไม่สร้างสปอร์ ไม่สร้างเอนไซม์คะตะเลส ทั้งหมด 131 ไอโซเลท โดยมีรูปร่างท่อน 110 ไอโซเลท รูปไข่ 7 ไอโซเลท และทรงกลม 14 ไอโซเลท เมื่อนำไปทดสอบความสามารถในการยับยั้ง Staphylococcus aureus TISTR 118 โดยวิธี agar spot assay พบว่า LAB ที่แยกได้ 73 ไอโซเลท สามารถยับยั้งการเจริญของ S. aureus ได้ เมื่อนำไป ทดสอบต่อโดยวิธี agar well diffusion assay พบว่า 21 ไอโซเลท สามารถยับยั้งการเจริญของ S. aureus ได้ โดยมี 8 ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด แต่ไอโซเลทที่มีความคงตัวในการยับยั้ง S. aureus ได้ดีที่สุดคือ เชื้อรหัส FFL17-2 ซึ่งแยกได้จากปลาส้มฟัก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเชียงงา จังหวัดลพบุรี การจัดจำแนกเชื้อรหัส FFL17-2 โดยใช้ API 20 Strep (BioMerieux) พบว่าเป็นLactococcus lactis subsp. lactis เมื่อนำ culture supernatant ที่ได้จากเชื้อรหัส FFL17-2 ไป treat ด้วยเอนไซม์ย่อยโปรตีน พบว่ายับยั้งการเจริญของ S. aureus ได้น้อยลง แสดงว่าสารที่ออกฤทธิ์เป็นโปรตีน และน่าจะเป็นแบคทีริโอซิน การศึกษาสมบัติเบื้องต้นของแบคทีริโอซินที่ผลิตได้จากเชื้อ Lactococcus lactis subsp. lactis FFL17-2 พบว่าทนความร้อน 100 องศาเซลเซียส ได้นาน 10 นาที มีความคงตัวดีในช่วง pH 4-7 มีantibacterial spectrum ค่อนข้างกว้าง เพราะนอกจากจะยับยั้ง S. aureus ซึ่งเป็นเชื้อโรคอาหารเป็นพิษได้ดีแล้ว ยังสามารถยับยั้ง Lactobacillus sakei, Lb. plantarum, Leuconostoc mesenteroides, Pediococcus pentosaceus, Streptococcus salivarius, Lactococcus cremoris, Bacillus cereus, B. circulans, B. coagulans และ Listeria monocytogenes ได้อีกด้วย และเมื่อเปรียบเทียบ antibacterial activity กับไนซิน พบว่าสามารถยับยั้ง S. aureus ได้ประมาณ 75% ของ commercial nisin ที่ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
ศิริโภค ส., อังประภาพรชัย ป., โพธิเวชกุล ข., & พริ้งศุลกะ อ. (2008). การคัดเลือกและการจัดจำแนกชนิดแบคทีเรียแลคติกที่สร้างแบคทีริโอซินได้จากอาหารหมัก และการศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นของแบคทีริโอซินที่ผลิตได้. Science Essence Journal, 23(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/105
Issue
Section
Research Article