ผลของเอทธิลีนไธโอยูเรีย (ETU) ต่อสมบัติของยางผสมระหว่างยางคลอโรพรีน (CR) และยางธรรมชาติ (NR) ที่เสริมแรงด้วยซิลิกา

Authors

  • กรรณิกา หัตถะปะนิตย์
  • ชาคริต สิริสิงห
  • พงษ์ธร แซ่อุย

Keywords:

ยางธรรมชาติ, ยางคลอโรพรีน, ยางผสม, ซิลิกา, เอทธิลีนไธโอยูเรีย

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของปริมาณเอทธิลีนไธโอยูเรีย (ETU) ต่อสมบัติต่างๆ ของยางผสมระหว่างยางคลอโรพรีน (CR) และยางธรรมชาติ (NR) ที่มีการเสริมแรงด้วยซิลิกา โดยในการทดลองได้ทำการผสมยางคลอโรพรีนกับยางธรรมชาติที่สัดส่วนการผสมเท่ากับ 75/25 และใช้ซิลิกาเกรด HiSil 255s เป็นสารตัวเติมเสริมแรงในปริมาณ 30 phr จากนั้นจึงทำการปรับเปลี่ยนปริมาณเอทธิลีนไธโอยูเรียจาก 0.0 ถึง 0.9 phr จากการศึกษา พบว่าการเพิ่มปริมาณเอทธิลีนไธโอยูเรียนอกจากจะส่งผลทำให้ยางมีความหนืดสูงขึ้นแล้ว ยังส่งผลทำให้ยางมีอัตราเร็วในการคงรูปและมีระดับความหนาแน่นของการเชื่อมโยงที่สูงขึ้นอีกด้วย ผลการทดลองยังบ่งชี้ว่าการเพิ่มปริมาณเอทธิลีนไธโอยูเรียส่งผลทำให้ยางผสมที่ได้มีค่าโมดูลัส และความแข็งที่สูงขึ้น ส่วนค่าความทนทานต่อแรงดึงนั้นพบว่ามีค่าสูงขึ้นตามการเพิ่มปริมาณของเอทธิลีนไธโอยูเรียจนถึง 0.3 phr หลังจากนั้นก็จะเริ่มลด ลง ยิ่งไปกว่านั้น การเพิ่มขึ้นของระดับความหนาแน่นของการเชื่อมโยงตามการเพิ่มปริมาณของเอทธิลีนไธโอยูเรียยังมีส่วนช่วยทำให้ยางผสมมีสมบัติความทนทานต่อน้ำมันที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่อเติมเอทธิลีนไธโอยูเรียในปริมาณที่สูงกว่า 0.3 phr สมบัติการเสียรูปหลังการกดอัดที่อุณหภูมิสูงของยางผสมกลับด้อยลง ทั้งนี้คาดว่าอาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขัดขวางการเกิด post curing ของเอทธิลีนไธโอยูเรียในระหว่างการทดสอบซึ่งมีการบ่มเร่งที่อุณหภูมิสูง อย่างไรก็ดีปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ส่งผลให้ยางผสมมีสมบัติความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อนสูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

หัตถะปะนิตย์ ก., สิริสิงห ช., & แซ่อุย พ. (2008). ผลของเอทธิลีนไธโอยูเรีย (ETU) ต่อสมบัติของยางผสมระหว่างยางคลอโรพรีน (CR) และยางธรรมชาติ (NR) ที่เสริมแรงด้วยซิลิกา. Science Essence Journal, 23(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/104