การพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรมการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ปรับเหมาะ: กรณีศึกษาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา 1 คน ด้วยโปรแกรมการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ปรับเหมาะ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการ ตัวแปรปฏิบัติการประกอบด้วยแผนฝึกทักษะการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ ในระหว่างการฝึกใช้เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และเครื่องวัดค่าออกซิเจนในเลือด เพื่อควบคุมให้การฝึกเป็นไปอย่างปลอดภัย ใช้แบบบันทึกความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมรายครั้งเพื่อตรวจสอบทักษะในแต่ละขั้น ดำเนินการฝึก 6 สัปดาห์ ในเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ตัวแปรตามคือทักษะการเคลื่อนไหว ประเมินความแข็งแรงและความคล่องแคล่วของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้วยการทดสอบ 9 กิจกรรมตามคู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) บันทึกข้อมูลโดยใช้แบบประเมินทักษะการเคลื่อนไหวและบรรยายสภาพความพร้อมของร่างกาย วิเคราะห์และสรุปผลเป็นรายกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า ในระหว่างการฝึก เด็กกรณีศึกษาปฏิบัติได้ทุกกิจกรรม ระดับอัตราการเต้นของหัวใจ และค่าออกซิเจนในเลือด อยู่ในเกณฑ์ตามที่แพทย์กำหนด ผลการประเมินทักษะการเคลื่อนไหว 9 กิจกรรม พบว่า เด็กกรณีศึกษาปฏิบัติกิจกรรมได้ตามเกณฑ์ 7 กิจกรรม คำสำคัญ: ทักษะการเคลื่อนไหว, โปรแกรมการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ปรับเหมาะ, เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ABSTRACT The purpose of this research was to improve the motor skills of a child with developmental delay and Hypertrophic Cardiomyopathy with an Adaptive Base Movement Program. Use an operational research methodology action variables consist of a stationary movement skill training plan and mobile movement during training use a heart rate monitor and blood oxygen meter to control the training to be safe one training observation form was used to examine skills at each stage. The training was conducted for 6 weeks in February-April 2021. The dependent variable was motor skills. The strength and dexterity of the large muscles were assessed with the 9 activities test according to the Childhood Development and Surveillance Manual (DSPM). Analyze and summarize the results by assessment of the ability to motor skill. The results showed that during training case study child can practice all activities. Heart rate level and blood oxygen within the criteria prescribed by the doctor. The results of the assessment of motor skills in 9 activities found that the case study child performed 7 activities. Keywords: Movement Skill, Basic Movement Program, Child with Developmental DelayDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-31
Issue
Section
Research article