https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/issue/feed วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2024-07-28T16:39:48+00:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา มิตรานันท์ rise.journal@gmail.com Open Journal Systems วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/15911 การบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2024-02-15T09:43:33+00:00 วิเชียร วงค์ผาบุตร 6512470014@rumail.ru.ac.th ศิริพงษ์ เศาภายน 6512470014@rumail.ru.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 52 โรงเรียน จำนวน 357 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การกำหนดตัวอย่างวิจัยแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมตามโครงสร้าง (SEAT) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม พบว่า ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในขนาดสถานศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในตำแหน่งต่างกันโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16099 ผลของการใช้ชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ สำหรับครูระดับชั้นมัธยมศึกษา 2024-04-18T04:59:06+00:00 เกศรา เชิงค้า kadsara.c@ku.th วรางคณา โสมะนันทน์ Kadsara.c@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ในการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ สำหรับครูระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาเป็นครูในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนโนนสูงพิทยาคารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี จำนวน 33 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1. ชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ประกอบด้วยเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb ด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างประสบการณ์ 2) ขั้นสังเกตปฏิกิริยาตอบสนอง 3) ขั้นมโนทัศน์เชิงนามธรรม และ4) ขั้นทดลอง นำมาใช้สำหรับการอบรม 2. แบบวัดความรู้เกี่ยวกับนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวน 26 ข้อ ใช้วัดความรู้ก่อนและหลังการอบรม 3. การสนทนากลุ่มแบบมีโครงสร้างเพื่อรับรู้ความคิดเห็นต่อชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์หลังการอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์พัฒนาการด้านความรู้เกี่ยวกับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ ของกลุ่มเป้าหมาย หลังการฝึกอบรมมีคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์โดยรวมคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 59.88 แสดงให้เห็นว่าหลังฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สูงขึ้น</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16097 ผลการใช้วิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ที่มีต่อทักษะการสื่อสาร ด้านการอ่านอารมณ์ผู้อื่นของนักเรียนออทิสติก: กรณีศึกษา 2024-04-17T10:08:20+00:00 พิมพร พุทไธสง pimporn.pu@ku.th มฤษฎ์ แก้วจินดา Pimporn.pu@ku.th <p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษารายกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้วิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ที่มีต่อทักษะการสื่อสารด้านการอ่านอารมณ์ผู้อื่นของนักเรียนออทิสติก กรณีศึกษาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนออทิสติกที่มีปัญหาทักษะการสื่อสารด้านการอ่านอารมณ์ผู้อื่นจากศูนย์การศึกษาพิเศษแห่งหนึ่งเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม แผนการสอนรายบุคคล เรื่อง อ.อารมณ์ และแบบทดสอบทักษะการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารด้านการอ่านอารมณ์ผู้อื่นด้วยวิธีการสอนแพ็คส์ (PECS) ช่วยให้นักเรียนออทิสติกเข้าใจอารมณ์ และความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีขึ้น สามารถสื่อสารอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง กับผู้อื่นได้ และส่งผลให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16127 ผลของดนตรีบำบัดต่อการจัดการความเครียดในมารดาของเด็กที่มีภาวะออทิซึม 2024-04-29T17:22:16+00:00 ปวันรัตน์ ต่อวงศ์ pawanrat.towong@gmail.com นัทธี เชียงชะนา Pawanrat.towong@gmail.com นิอร เตรัตนชัย Pawanrat.towong@gmail.com <p>การวิจัยแบบการทดลองกลุ่มเล็ก (Small-n Experimental Research Design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อการจัดการความเครียดในมารดาเด็กที่มีภาวะออทิซึม ก่อน ระหว่าง และหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย คือ มารดาของเด็กที่มีภาวะออทิซึมจำนวน 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัดรูปแบบเสมือน (Virtual music therapy) ได้แก่ การฟังเพลง กิจกรรม Music and imagery การแต่งเพลง การสร้างรายการเพลง และการเคลื่อนไหว กิจกรรมดนตรีบำบัด ที่จัดขึ้นเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมแบบเดี่ยว วัดระดับความเครียดด้วยดัชนีชี้วัดความเครียดของมารดาฉบับภาษาไทยและใช้การสังเกตการณ์ภาวะความเครียดระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัด การวิจัยนี้วิเคราะห์ระดับความเครียดด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติ Willcoxon Sign Rank test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกตการณ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าบุตรของกลุ่มเป้าหมายได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิซึมอายุ 3-5 ปี ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์เด็ก รวมถึงเข้ารับการบำบัดและกระตุ้นพัฒนาการ ความเครียดของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 เกิดขึ้นตามอารมณ์และพฤติกรรมของบุตร ในการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายในระยะแรกพบว่าผู้เข้าร่วมทั้ง 3 มุ่งขอคำปรึกษาในการพัฒนาบุตรที่มีภาวะออทิซึมรวมถึงแนวทางในการพัฒนา เมื่อมีสอบถามถึงสภาพอารมณ์และจิตใจ ได้รับคำตอบแบบคลุมเครือ โดยย้ำเพียงว่าติดเพียงปัญหาพฤติกรรมของบุตรไม่แสดงออกให้หรือแบ่งปันสภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นกับตน ในระยะถัดมาพบว่ากลุ่มเป้าหมายเริ่มอธิบายภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รวมถึงรับรู้และยอมรับว่าร่างกายและจิตใจของตนเองกำลังเข้าสู่ภาวะความเหนื่อยจากการดูแลบุตรมาเป็นระยะเวลานาน ในระยะท้ายพบว่ากลุ่มเป้าหมายเปิดใจในการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ของตนเองเพิ่มมากขึ้นยอมรับและได้พูดเล่าสะท้อนสิ่งต่าง ๆ ออกมา รวมถึงได้ทราบวิธีที่ตนเองใช้บรรเทาภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นทั้งที่รู้ตัวและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ</p> <p>ผลค่าเฉลี่ยระดับความเครียดของผู้เข้าร่วมวิจัยหลังการทดลองลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนและระหว่างการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาจากผลการสังเกตการณ์ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีบำบัด พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยแสดงออกทางภาวะความเครียดลดลงซึ่งสังเกตได้จากสีหน้าและภาษากาย รวมทั้งการรายงานประสบการณ์เชื่อมโยงกับภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้น</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16115 การศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบร่วมกับการชี้แนะ เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกระดับปฐมวัย 2024-04-22T03:04:14+00:00 ศิริประภัสร์ ตั้งประธานภรณ์ siriprapat.t@ku.th ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ siriprapat.t@ku.th <p>การวิจัยครั้งเป็นการวจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกระดับปฐมวัย อายุ 5 ปี โดยใช้ตัวแบบร่วมกับการชี้แนะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบร่วมกับการชี้แนะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมทักษะทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละของพฤติกรรมทักษะทางสังคม</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบร่วมกับการชี้แนะเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกระดับปฐมวัยมีทักษะทางสังคมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ การรอคอย และการแบ่งปัน มีค่าร้อยละของทักษะทางสังคมเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16159 การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย 2024-06-01T06:44:29+00:00 กชพร พลอยรุ่งโรจน์ kotchaporn.pl@ku.th ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ siriprapat.t@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกระดับปฐมวัยผ่านกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย เพศชาย อายุ 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบบันทึกการสังเกตทักษะทางสังคม และแบบสัมภาษณ์ครู ผู้ปกครอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละของพัฒนาการทักษะทางสังคม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกระดับปฐมวัย มีทักษะทางสังคม 3 ด้าน คือ ด้านการสื่อสารบอกความต้องการ ด้านการแบ่งปัน และด้านการทำตามข้อตกลง กติกา มีค่าร้อยละของทักษะทางสังคมเพิ่มมากขึ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบก่อนจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16303 กองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ 2024-07-07T19:45:58+00:00 กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ chanidam@g.swu.ac.th <p>-</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16304 บทบรรณาธิการ 2024-07-07T19:52:01+00:00 กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ chanidam@g.swu.ac.th <p>-</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16321 สารบัญ 2024-07-28T16:39:48+00:00 กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ chanidam@g.swu.ac.th <p>-</p> 2024-07-27T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/15436 การฝึกเล่าเรื่องสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องเฉพาะด้านภาษา 2023-07-09T14:16:31+00:00 ณัฐวิภา วาณิชย์เจริญ n.a.v.y@live.com <p>ความบกพร่องเฉพาะด้านภาษาเป็นความผิดปกติของพัฒนาการทางภาษาที่ส่งผลต่อความสามารถทางความเข้าใจภาษา รวมถึงแสดงออกทางภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ถึงแม้ว่าจะมีความสามารถทางสติปัญญาในด้านที่ไม่ใช้ภาษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ความผิดปกติของพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องเฉพาะด้านภาษาส่งผลต่อความสามารถของเด็กในทักษะการเล่าเรื่องทั้งโครงสร้างการเล่าเรื่องในระดับจุลภาคโดยเด็กกลุ่มนี้มีการใช้คำศัพท์ไม่หลากหลาย การใช้รูปประโยคสั้นและไม่ซับซ้อน รวมทั้งใช้โครงสร้างไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้โครงสร้างการเล่าเรื่องในระดับมหภาค เด็กกลุ่มนี้จะมีการใช้ไวยากรณ์เรื่องราวและมีเนื้อหาเชิงบรรยายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน การฝึกเล่าเรื่องด้วยวิธี Narrative-Based Language Intervention (NBLI) เป็นการฝึกโดยใช้ภาษาพูดซึ่งเน้นเป้าหมายทางโครงสร้างของเรื่องราวและไวยากรณ์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องเฉพาะด้านภาษาซึ่งนักแก้ไขการพูดสามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติทางคลินิกสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องเฉพาะด้านภาษาเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและการเล่าเรื่องได้ต่อไป</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16301 นโยบายและคุณลักษณะของการตีพิมพ์บทความ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2024-07-07T19:26:40+00:00 กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ chanidam@g.swu.ac.th <p>-</p> 2024-07-07T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024