กิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย (Movement Activities to Develop Gross Motor Skills of Early Childhood Children with Visual Impairment)

Authors

  • จรินทร์ ภู่ระหงษ์
  • จรรยา ชื่นเกษม

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยเรื่องกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับปฐมวัย ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว และแบบประเมินทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 3 ด้าน ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน The Wilcoxon Matched Paris Signed-Ranks Testผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว อยู่ในระดับดีมาก 2 ด้าน คือ ด้านการคลาน-การนั่ง-การยืน และด้านการเดินทรงตัวและระดับดี 1 ด้าน คือ การวิ่ง-การกระโดด ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ก่อน-หลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หลังการจัดกิจกรรม 3 ด้าน คือ ด้านการคลาน-การนั่ง-การยืน (p-value = .043) และด้านการเดินทรงตัว (p-value = .043) แตกต่างจาก ก่อนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการวิ่ง-การกระโดด (p-value = .068) ความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ก่อน-หลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวไม่แตกต่างกัน AbstractThe research title “Movement activities to develop gross motor skills of earlychildhood children with visual impairment” had objectives study and compared visuallyimpaired children’s abilities in using gross motor skills after using-movement activities.The sample included five children with visual impairment. They were taken care by SpecialEducation Center of La-or Utis Demonstration School, Suan Dusit University. The samplegroup was chosen by purposive sampling. The research instrument 1) were lesson plansregarding movement activities and 2) three gross motor skills assessment forms. Theresearch method use one group pre-posttest design. The data were analyzed by usingaverage score, standard deviation and Wilcoxon matched pairs signed-ranks test. Researchfindings were as follows.Gross Motor Skills of children with visual impairment who were taught by movementactivities had a very good preference level in the aspects: crawl-sitting-standing and walkingbalance. They also had a good preference in running-jumping.Gross Motor Skills of children with visual impairment who were taught by movementactivities had higher than before receiving the intervention regarding crawl-sitting-standing(p-value = .043) and walking balance (p-value = .043). These results were different fromthe pre-activities with statistical significance of .05. However, results of children’s abilitiesin running-jumping (p-value = .068) during the pre- and post-activities were not different.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads