ผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะบำบัดเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก

Authors

  • กันต์กนิษฐ์ จันทร์โกมุท นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุพรรษา สุวรรณชาตรี ดร. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • บุญโรม สุวรรณพาหุ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเล็ก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะบำบัดที่ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกก่อน ระหว่าง และหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะบำบัด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กออทิสติก อายุ 8-10 ปี ซึ่งได้รับการวินิจฉัยและมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่าอยู่ในภาวะออทิซึม (Autism) และมีความบกพร่องทางด้านทักษะทางสังคม ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในห้องเรียนคู่ขนาน โรงเรียนบ้านสะบารัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมศิลปะบำบัด 2) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) 3) แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก 4) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง 5) กล้องบันทึกภาพ และ VDO ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Single Subject Design รูปแบบ A – B – A แบบสลับกลับ 3 ระยะ วิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเพื่อหาความเที่ยงระหว่างผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย โดยหาค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย (IOR) หาค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้สังเกตมีค่าตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไปจึงจะถือว่าเชื่อถือได้ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของกลุ่มและการสัมภาษณ์ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย และเกณฑ์การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะบำบัดในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์ไว้ 75/75  (E1/E2) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะบำบัดที่ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก ในครั้งนี้ จำนวน 4 ชุด ดังนี้ กิจกรรมการใช้สี กิจกรรมฉีกปะ กิจกรรมภาพพิมพ์ กิจกรรมมัดย้อมมัดใจ  ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมศิลปะบำบัดที่ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกมีคะแนนเฉลี่ยรวมระหว่างใช้ชุดกิจกรรม (E1) คือ 78.6 และคะแนนเฉลี่ยรวมหลังใช้ชุดกิจกรรม (E2) คือ 76.3  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หลังจากใช้ชุดกิจกรรมศิลปะบำบัด เด็กออทิสติกทั้ง 3 คน มีการพัฒนาที่ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมพบว่า ระยะทดลองใช้ชุดกิจกรรมและระยะติดตามผลเด็กออทิสติกทั้ง 3 คน มีทักษะทางสังคมสูงขึ้นกว่าระยะเส้นฐาน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2024-01-15