วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise <p><strong>วัตถุประสงค์ของการจัดทำวารสาร </strong><strong>:</strong> </p> <p> เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทั้งบทความวิจัย และบทความวิชาการทางด้านการศึกษาพิเศษ ของคณาจารย์ นิสิต/นักศึกษา นักวิชาการ และบุคลากรที่ทำงานทางด้านการศึกษาพิเศษ ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา/ครุศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากศาสตร์ที่บูรณาการกับด้านการศึกษาพิเศษ เพื่อการนำองค์ความรู้สู่สังคมและประเทศให้เกิดประโยชน์ต่อไป</p> <p> </p> <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขตของวารสาร </strong><strong>:</strong></p> <p><strong> </strong>เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยและงานทางวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ โดยเน้นด้านหลักสูตรและการสอน การวิจัยและประเมินผล การบริหารการพัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา การศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ รวมถึงงานอันเกิดจากการบูรณาการศาสตร์ทางการศึกษาพิเศษกับศาสตร์อื่นๆ โดยบทความจะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ แบบ Double-blinded review system</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong><strong> :</strong></p> <p><strong> </strong>2 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1: มกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2: กรกฎาคม – ธันวาคม)</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ </strong>เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] และอยู่ใน วารสารกลุ่มที่ 2 (จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567)</p> en-US วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2408-2651 บทบรรณาธิการ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16571 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ Copyright (c) 2025 2025-01-12 2025-01-12 13 2 นโยบายและคุณลักษณะของการตีพิมพ์บทความ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16569 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ Copyright (c) 2025 2025-01-12 2025-01-12 13 2 121 127 สารบัญ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16572 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ Copyright (c) 2025 2025-01-12 2025-01-12 13 2 กองบรรณาธิการ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16570 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ Copyright (c) 2025 2025-01-12 2025-01-12 13 2 บทบาทของนักดนตรีบำบัดในเด็กสมาธิสั้น: กรณีศึกษานักดนตรีบำบัดในประเทศไทย https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16188 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของนักดนตรีบำบัดในเด็กสมาธิสั้น: กรณีศึกษานักดนตรีบำบัดในประเทศไทย โดยมีคำถามวิจัยดังนี้ 1) มีกระบวนการให้บริการดนตรีบำบัดในเด็กสมาธิสั้นอย่างไร 2) มีวิธีการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพอย่างไร 3) มีการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพอย่างไร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จากนักดนตรีบำบัดที่มีประสบการณ์ในการให้บริการดนตรีบำบัดในเด็กสมาธิสั้นจำนวน 5 ท่าน โดยมีข้อคำถาม 3 ข้อหลัก ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยเพื่อศึกษาและนำเสนอบทบาทของนักดนตรีบำบัดในการให้บริการเด็กสมาธิสั้น ผลการวิจัยพบว่าขั้นตอนในการให้บริการดนตรีบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้น ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรับและส่งต่อผู้รับบริการ 2) การประเมินก่อนการบำบัด 3) การวางแผนการให้บริการ 4) การให้บริการดนตรีบำบัด 5) การรายงานความก้าวหน้า 6) การยุติการบำบัด เป้าหมายดนตรีบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้นประกอบด้วยเป้าหมายด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ และด้านความภาคภูมิใจในตนเอง กิจกรรมดนตรีบำบัดที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ การเล่นเครื่องดนตรีร่วมกัน การเคลื่อนไหว และการร้องเพลง โดยกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมที่มีโครงสร้างชัดเจน เป็นระบบ ได้ลงมือทำ สนุก และน่าตื่นเต้น จึงสามารถดึงดูดความสนใจของผู้รับบริการได้ โดยนักดนตรีบำบัดคัดเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการรายบุคคล ด้านการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ นักดนตรีบำบัดและสหวิชาชีพทำงานในส่วนที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์เจ้าของไข้ โดยมีการปรึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ สำหรับการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ นักดนตรีบำบัดมักเข้าอบรมในหัวข้อที่สนใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีวิธีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือและงานวิจัย การเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ มากไปกว่านั้นนักดนตรีบำบัดต้องดูแลตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดี เพื่อให้ดูแลผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> นัทธ์ชนัน วงศ์พราหมณ์ นัทธี เชียงชะนา นิอร เตรัตนชัย Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2025-01-11 2025-01-11 13 2 1 19 การพัฒนาความเข้าใจการอ่านของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้วยวิธีการเตรียมตัวก่อนการเรียนร่วมกับการอ่านอย่างมีส่วนร่วม https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16234 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความเข้าใจการอ่านของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้วยการเตรียมตัวก่อนการเรียน (Preteaching) ร่วมกับการอ่านอย่างมีส่วนร่วม (Active Reading) มีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ที่มีความต้องการความช่วยเหลือพิเศษด้านการศึกษาในโรงเรียนานาชาติ จำนวน 2 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แผนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจการอ่านสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษด้วยการเตียมตัวก่อนการเรียนร่วมกับการอ่านอย่างมีส่วนร่วม จำนวน 18 แผน และแบบทดสอบความเข้าใจการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ การวัดความก้าวหน้า ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสอนนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเพื่อพัฒนาความเข้าใจการอ่านของนักเรียนด้วยวิธีการเตรียมตัวก่อนการเรียนร่วมกับการอ่านอย่างมีส่วนร่วมแล้ว นักเรียนมีพัฒนาการความเข้าใจการอ่านสูงขึ้นกว่าก่อนการสอน ร้อยละ 33.30</p> ฤติ สุนทรสิงห์ กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์ จีรพัฒน์ ศิริรักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2025-01-11 2025-01-11 13 2 20 37 การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16187 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ วิธีดำเนินการวิจัย คือ ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีบทบาทเป็นผู้ปกครองผู้มีประสบการณ์เลี้ยงลูกออทิสติกด้วยตนเองอย่างน้อย 18 ปี จำนวน 15 คน จัดทำร่างหลักสูตรและประเมินโดผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลออทิสติกที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างอิสระและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข สาระสำคัญประกอบด้วย 6 รายวิชา คือ 1) ภาษาและการสื่อสาร 2) การดำเนินชีวิตประจำวัน 3) บุคลิกภาพและทักษะทางสังคม 4) นันทนาการและสุนทรียศิลป์ 5) การงานและอาชีพ 6) การดำรงชีวิตในชุมชน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและมีส่วนร่วมกับผู้ฝึกด้วยสื่อและวิธีการที่หลากหลายในสภาพแวดล้อมจริง และมีวิธีการวัดและประเมินผลโดยการประเมินผลตามสภาพจริง </p> สมพร หวานเสร็จ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2025-01-12 2025-01-12 13 2 38 50 ผลของกระบวนการฝึกการสื่อสารตามธรรมชาติต่อทักษะการสื่อสารของเด็กออทิสติก ระดับเตรียมความพร้อม ในศูนย์การศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16293 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการฝึกการสื่อสารตามธรรมชาติ (FCT) ต่อทักษะการสื่อสารของเด็กออทิสติก ระดับเตรียมความพร้อม ในศูนย์การศึกษาพิเศษ เด็กออทิสติกเป้าหมายคือเด็กออทิสติก 1 คน เพศหญิง อายุ 6 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. ชุดเครื่องมือบันทึกข้อมูลการประเมินพฤติกรรมการทำหน้าที่ (FBA) 2. แบบสังเกตความถี่พฤติกรรมปัญหา 3. แบบสังเกตการพูดหรือใช้ท่าทางปฏิเสธ และ 4. แผนการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวกโดยใช้กระบวนการฝึกการสื่อสารตามธรรมชาติ เด็กออทิสติกเป้าหมายเข้ารับการฝึกทั้งหมด 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมทั้งหมด 15 ครั้ง วิเคราะห์ความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสารของเด็กออทิสติก โดยนำข้อมูลความถี่มาเปรียบเทียบและพรรณนาความสามารถในการนำทักษะการสื่อสารไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ของเด็กออทิสติก นำเสนอผ่านการบรรยายเชิงพรรณาและกราฟเส้นเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลทักษะการสื่อสารระยะเส้นฐานกับระยะเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า เมื่อได้รับการฝึกด้วยกระบวนการฝึกการสื่อสารตามธรรมชาติ (FCT) ส่งผลให้เด็กออทิสติกมีทักษะการสื่อสารสูงขึ้น</p> ธันยพร พวงสายใจ ดารณี อุทัยรัตนกิจ วีรมลล์ โล้เจริญรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2025-01-12 2025-01-12 13 2 51 66 แนวทางการให้บริการดนตรีบำบัดสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16254 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการให้บริการดนตรีบำบัดสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักดนตรีบำบัดในการให้บริการดนตรีบำบัดสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น และพัฒนาแนวทางในการให้บริการดนตรีบำบัดสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นของโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย โดยสัมภาษณ์บุคลากรในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทยและนักดนตรีบำบัด รวมทั้งสิ้น 16 คน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แบบอุปนัย เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาแนวทางการให้บริการ จากผลการสัมภาษณ์พบว่าบุคลากรในโรงเรียนเล็งเห็นว่าดนตรีบำบัดนั้นมีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะด้านการฟัง อารมณ์ สมาธิ และพฤติกรรม ส่วนนักดนตรีบำบัดที่มีประสบการณ์ในการให้บริการดนตรีบำบัดกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้ให้สัมภาษณ์ว่า เป้าหมายในการให้บริการดนตรีบำบัดกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นนั้น ได้แก่ เป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟัง อารมณ์ และคุณภาพชีวิต โดยส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการแบบเดี่ยว และมีการว่าจ้างนักดนตรีบำบัดทั้งแบบประจำที่มีสวัสดีการ และแบบอิสระที่ได้รายได้มากกว่าแต่ไม่ได้รับสวัสดิการ โดยผลจากการพัฒนาแนวทางพบว่ามีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ 1) การให้บริการดนตรีบำบัดสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น มีกระบวนการรับเข้าส่งต่อผู้รับบริการ ประเมินผล ตั้งเป้าหมาย และรูปแบบการให้บริการ 2) การทำงานร่วมกันระหว่างนักดนตรีบำบัดและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3) วิชาชีพดนตรีบำบัดที่ประกอบไปด้วยการว่าจ้าง ค่าตอบแทน และสวัสดิการ</p> พิมพ์พญา อ่วมศรี นิอร เตรัตนชัย นัทธี เชียงชะนา Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2025-01-12 2025-01-12 13 2 67 82 การพัฒนาความสามารถทางการเรียน เรื่อง การลบที่มีการยืม ของนักเรียนที่เรียนรู้ช้าที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบ CPA https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16438 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการลบที่มีการยืมของนักเรียนที่เรียนรู้ช้าที่มีปัญหาทางด้านคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบ CPA กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนที่เรียนรู้ช้าที่มีปัญหาทางด้านคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยความสามารถทางคณิตศาสตร์แบบอัตนัย เรื่อง การลบที่มีการยืม เพื่อใช้ในการคัดกรองความสามารถเรื่อง การลบที่มีการยืมของนักเรียนที่เรียนรู้ช้า 2) แบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การลบที่มีการยืม และ 3) ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ CPA เรื่อง การลบที่มีการยืม ซึ่งใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การวัดความก้าวหน้า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการลบที่มีการยืมของนักเรียนที่เรียนรู้ช้าที่มีปัญหาทางด้านคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 หลังได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบ CPA เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบ CPA ตามสมมติฐานการวิจัยกำหนด</p> ลดาวัลย์ ปัญญาแก้ว จีรพัฒน์ ศิริรักษ์ กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2025-01-12 2025-01-12 13 2 83 102 การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบ “ผ่อกอย” เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดลำปาง https://ejournals.swu.ac.th/index.php/rise/article/view/16485 <p>การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารระบบ “ผ่อกอย” เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำเป็น 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพ 3) ทดลองภาคสนาม และ 4) ขยายผล กลุ่มเป้าหมายเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินตนเอง แบบประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารทุกด้านอยู่ในระดับน้อย ปัญหาอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) รูปแบบ ประกอบด้วย หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ และระบบและกลไกของรูปแบบ ผลการตรวจสอบด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม อรรถประโยชน์ และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) การทดลองภาคสนาม นักเรียนกลุ่มปอดีเพิ่มขึ้น กลุ่มใส่ใจ๋และกลุ่มจ้วยตุ้มลดลง ประเมินตนเองอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ความพึงพอใจในระดับระดับมากถึงมากที่สุด และ 4) การขยายผล นักเรียนกลุ่มปอดีเพิ่มขึ้น กลุ่มใส่ใจ๋และกลุ่มจ้วยตุ้มลดลง ประเมินตนเองอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด</p> สุรัญจิต วรรณนวล Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2025-01-12 2025-01-12 13 2 103 120