ผลการสอนอ่านจิตใจผ่านสื่อประสมต่อการพัฒนาความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นของนักเรียนออทิสติกในห้องเรียนคู่ขนาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • อนุตตรีย์ อุดมกิจจา
  • ดารณี อุทัยรัตนกิจ
  • ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์
  • วรางคณา โสมะนันทน์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการสอนอ่านจิตใจผ่านสื่อประสมต่อการพัฒนาความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น ของนักเรียนออทิสติกในห้องเรียนคู่ขนาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนออทิสติกเพศชายที่มีความบกพร่องทางการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นจำนวน 3 คน กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในห้องเรียนคู่ขนาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร เลือกโดยวิธีเจาะจง นักเรียนออทิสติกในกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 คน ได้รับการสอนอ่านจิตใจผ่านสื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น ในภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2558 ใช้เวลาในปฏิบัติการ 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 8 ครั้ง วันอังคารถึงวันศุกร์ ครั้งละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น สื่อประสมการสอนอ่านจิตใจ และแบบประเมินการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนขณะสอนและประเมินด้วยแบบประเมินการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น วิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายเป็นรายบุคคล นำเสนอด้วยการเขียนบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดจากการสังเกตและคะแนนจากแบบทดสอบก่อนและหลังการปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการสอนอ่านจิตใจผ่านสื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นนักเรียนออทิสติกกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 คน มีคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการสอน ผลการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคลพบว่า นักเรียนคนที่ 1 ต้องให้ความช่วยเหลือตลอด 4 สัปดาห์ และใช้เวลามากกว่าที่กำหนดไว้ นักเรียนคนที่ 2 และ 3 ใช้เวลาในการเรียนได้ตามกำหนดเวลาตลอด 4 สัปดาห์ 2) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 คนมีการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นได้มากขึ้น เช่น ยิ้มพอใจและแสดงสีหน้าท่าทางตกใจกลัวได้ตามสถานการณ์ โดยคนที่ 2 และ 3 สามารถพัฒนาการรับรู้อารมณ์ได้ดีและมีความคงทนมากกว่าคนที่ 1 คำสำคัญ: ออทิสติก, การรับรู้อารมณ์ผู้อื่น, วิธีสอนอ่านจิตใจ, สื่อประสม   ABSTRACT This research has the following objectives: 1) To develop the capability in the realization of the emotions by Teaching Mind Reading by Multimedia on Emotion Awareness of Others of 2 nd Grade Students with Autism in the Autistic Parallel Classroom. The study employed an action research method.  Participants were three male second graders with autism in a parallel classroom at a school in Bangkok, Thailand. They had a deficit in realizing other people’s emotions. The researchers recruited the participants using purposive sampling. The researchers conducted the study during the second semester of the 2015 academic year.  Research instruments included lesson plans for teaching realization of other people’s emotions to students with autism, multimedia on mind reading, and a test of capability in realizing other people’s emotions. Research implementation took four weeks in which the participants learned mind reading through multimedia with the objective to develop awareness of other people’s emotions. Learning sessions took 30 minutes each, eight times per week from Tuesday to Friday.  Research data were written records on observation during the learning sessions, and results of the test of capability in realizing other people’s emotions. Data from both of the sources were analyzed on an individual basis to answer the research questions. Study results were described in detail terms of individual participants’ capability in realizing other people’s emotions before and after the teaching of mind reading via multimedia. The study results showed that all the three participants improved in terms of the scores from the test of capability in realizing other people’s emotions. Regarding findings on the participants’ behaviors during the learning sessions, the first participant needed extra time and support throughout the implementation period of four weeks whereas the second and third participants were able to learn mind reading within the scheduled time.  In addition, all three participants’ behaviors improved in terms of realizing other people’s emotions as demonstrated by, for example, smiling and expressing fear appropriate to situations.  However, the second and third participants’ capabilities to realize other people’s emotions developed better and were more sustainable when compared to that of the first participant. Keywords: Autism, Emotion Awareness, Teaching Mind Reading, Multimedia

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-01-16