การศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดฉิม ด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ (A STUDY OF READING AND WRITING THAI LANGUAGE ACHIEVEMENT OF THE SECOND GRADE STUDENTS AT BAN KUDCHIM SCHOOL THROUGH RESPONSE -)
Abstract
บทคัดย่อ กระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ (Response to Intervention: RTI) เป็นกระบวนการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนและการวัดผลหลายระยะ ที่สามารถใช้ในการการคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงด้านการอ่านและเขียนเพื่อให้ความช่วยเหลือสองทักษะดังกล่าวก่อนที่นักเรียนจะล้มเหลวในการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ และเพื่อเปรียบเทียบเกณฑ์จุดตัดแบบอิงเกณฑ์และจุดตัดอิงกลุ่มแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ใช้ในการคัดกรองนักเรียนเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือทั้ง 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดฉิม จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 3 ระยะ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งชั้น แผนการจัดการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย และแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและแบบทดสอบวัดความก้าวหน้าแบบแผนการทดลองที่ใช้คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (One-Group Pretest-Posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเปอร์เซ็นไทล์ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน และการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ พบว่า 1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือสามระยะ มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน การเขียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 จำนวน 22 คน จากนักเรียนทั้งชั้น 25 คน โดยในการช่วยเหลือระยะที่ 1 ไม่ผ่าน 14 คน การช่วยเหลือระยะที่ 2 การสอนเป็นกลุ่มย่อย ไม่ผ่าน 7 คน การช่วยเหลือระยะที่ 3 การสอนเป็นรายบุคคล ไม่ผ่าน 3 คน 1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน การเขียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 20.72 (51.80%) และหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 28.68 (71.70%) เพิ่มขึ้น 7.96 คะแนนซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าขึ้นคิดเป็นร้อยละ 19.90 2. การเปรียบเทียบเกณฑ์จุดตัดแบบอิงเกณฑ์และจุดตัดแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์ตามกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ พบว่าการคัดกรองนักเรียนจากระยะที่ 1 เพื่อให้การช่วยเหลือระยะที่ 2 จุดตัดที่เกณฑ์ร้อยละ 60 ตรงกับเกณฑ์จุดตัดเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 47และในคัดกรองนักเรียนจากระยะที่ 2 เพื่อให้การช่วยเหลือระยะที่ 3 พบว่าจุดตัดที่เกณฑ์ร้อยละ 60 ตรงกับเกณฑ์จุดตัดเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 46 หมายความว่า นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 47 ในระยะที่ 1 และ เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 46 ในระยะที่ 2 จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์จุดตัดเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 35 และ 25 พบว่า ในระยะที่ 1 เกณฑ์จุดตัดการผ่านร้อยละ 60, จุดตัดเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 35 และจุดตัดเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 14, 8 และ 6 คน ตามลำดับ และในระยะที่ 2 เกณฑ์จุดตัดการผ่านร้อยละ 60, จุดตัดเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 35 และจุดตัดเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 7, 5 และ 4 คนตามลำดับซึ่งแสดงว่าจุดตัดแบบอิงเกณฑ์ที่ร้อยละ 60 ได้จำนวนนักเรียนที่ต้องให้การช่วยเหลือมากกว่า Abstract Response to Intervention (RTI) is the process of organizing the curriculum, instruction and assessment within a multi-tier system. RTI system is used for screening students who are at risk in reading and writing skills and helping them achieve both skills before they fail to study in the upper class.The purposes of the research were to study reading and writing Thai language achievement through RTI process of the second grade students and compare criterion-referenced scores and norm-reference scores by using percentile cut off scores used to screen students for the 3 tiers. The population was the second grade students at Ban Kud Chim School. The two research instruments drawn for this study were: 1) three tier lesson plans consisted of lesson plans for the whole class, ones for students in small groups, and ones for individual students and 2) the achievement test and progress monitoring tests on reading and writing Thai language. The One-Group Pretest-Posttest design was used in this study. The data were statistically analyzed using percentage, mean, standard deviation, and percentile. The findings of the study were as follows: 1. Reading and writing Thai language achievement of second grade students through RTI. 1.1 Second grade students who were taught with 3 tiers on RTI process, 22 out of 25 students passed 60% criterion. In tier 1, 14 students did not pass; in tier 2 using small group teaching technique did not pass 7 students; and in tier 3 using individualized intervention did not pass 3 students respectively. 1.2 Second grade students who were taught with RTI process had reading and writing Thai language higher posttest results than pretest ones. Before applying those techniques, the mean score was 20.72 (51.80%); and after implementing the mean score was 28.68 (71.70%). The students had increased progress point at 7.96 (19.90%). 2. Comparison of criterion-referenced scores and norm-reference scores by using percentile cut-off scores through RTI, it was found that the screening of not-passed students from tier 1 to go on to tier 2 with the 60% criterion cut-off scores was equal to the percentile cut-off score of 47; and the screening of not-passed students from tier 2 to go on to tier 3 with the 60% criterion cut-off scores was equal to the percentile cut-off score of 46 meaning students with below the percentile score of 47 in tier 1 and 46 in tier 2 needed to be assisted. When compared to the common percentile cut-off score of 35 and 25 it was found that in tier 1, with the 60% criterion cut-off scores, there were 14, 8, and 6 not-passed students respectively. And, in tier 2, there were 7, 5, and 4 not-passed students respectively. This showed that the 60% criterion cut-off scores indicated more numbers of assistance needed students.Downloads
Download data is not yet available.