การให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนใหม่: กรณีศึกษานักเรียน ที่มีภาวะออทิซึมชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (Supporting a Student Transition to a New School: A Case Study of a Second Grade Student with Autism)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเชิงกรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลของการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนใหม่กรณีศึกษาเป็นนักเรียนชายที่มีภาวะออทิซึม อายุ 7 ปี กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือการรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการให้ความช่วยเหลือพฤติกรรมการเล่นที่ไม่เหมาะสมแผนเปลี่ยนผ่าน และแบบสัมภาษณ์ในการประเมินพฤติกรรมการเล่นกับเพื่อนผลการศึกษาพบว่ากระบวนการให้ความช่วยเหลือในการเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนใหม่ มี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การรวบรวมข้อมูลการศึกษาเป็นรายกรณี พบว่า นักเรียนมีความสามารถพิเศษทางด้านการร้องเพลง เต้น และเล่นดนตรี ส่วนความบกพร่อง คือ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ และยังขาดทักษะในการเล่นกับเพื่อน ขั้นที่ 2 การให้ความช่วยเหลือพฤติกรรมการเล่นที่ไม่เหมาะสมด้วยเรื่องราวทางสังคม พบว่า ระหว่างการดำเนินกิจกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมการเล่นกับเพื่อนที่ดีขึ้นและนักเรียนยังสามารถแสดงพฤติกรรมการเล่นที่ถูกต้องกับเพื่อนได้หลังจากหยุดการใช้เรื่องราวทางสังคม ขั้นที่ 3 การจัดทำแผนเปลี่ยนผ่านโดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนเปลี่ยนผ่าน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน มารดาของนักเรียน ครูประจำชั้นโรงเรียนเดิม ครูการศึกษาพิเศษ และครูประจำชั้นโรงเรียนใหม่ ขั้นที่ 4 การปฏิบัติตามแผนเปลี่ยนผ่าน เริ่มจากนักเรียนได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และได้รับการรักษาด้วยยา ครูประจำชั้นโรงเรียนเดิมได้ส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนให้ครูประจำชั้นโรงเรียนใหม่และบุคลากรที่เกี่ยวข้องคณะกรรมการจัดทำแผนเปลี่ยนผ่านได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามแผนเปลี่ยนผ่านสู่โรงเรียนใหม่ได้เป็นอย่างดี ขั้นที่ 5 การประเมินผลและติดตามผล พบว่า นักเรียนสามารถเล่นกับเพื่อนได้อย่างเหมาะสม รู้สึกผูกพันกับครู ไว้วางใจครู มีความสุขที่ได้อยู่โรงเรียนใหม่ และมีผลการเรียนดีขึ้นผลของการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการเปลี่ยนผ่าน พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ ได้แก่ 1) ด้านความสัมพันธ์กับครู เนื่องจากครูโรงเรียนใหม่ เป็นครูการศึกษาพิเศษที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เมื่อได้รับทราบข้อมูลของนักเรียนอย่างละเอียดจากครูโรงเรียนเดิมก็พร้อมที่จะนำไปใช้ในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ทันที 2) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน เนื่องจากครูโรงเรียนเดิมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จึงได้นำเทคนิคการปรับพฤติกรรมโดยใช้เรื่องราวทางสังคมมาใช้แก้ปัญหาการเล่นกับเพื่อนของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีทักษะการเล่นกับเพื่อนที่ดีขึ้นก่อนเปลี่ยนผ่านไปสู่โรงเรียนใหม่ 3) ด้านการเรียน เนื่องจากนักเรียนได้เรียนในห้องเรียนรวมที่มีทั้งเด็กทั่วไปและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเรียนรวมอยู่ด้วยกันจำนวนไม่มากนัก ทำให้ครูสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง และมีเพื่อนคอยช่วยเหลือเรื่องการเรียน รวมทั้งมีครูการศึกษาพิเศษ และนักจิตวิทยาให้การดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดAbstract The purpose of this research was to examine the process and the results of supporting a student transition to a new school. The case study was a 2nd grade male student with Autism. The research instruments were data collection tools, case studies. Tools used to assist improper play behavior transition plan and an interview form to evaluate playing behavior with friends. The results of this study showed that the transition process consisted of five major steps. First step was collecting the case study student’s educational data. In this case study, it was found that the student had talents in singing, dancing, and playing music. The student’s weaknesses were lack of self-emotional control and lack of social skills in playing with peers. Second step was teaching the student how to play with peers by using social story strategy. During the intervention phase, the student demonstrated appropriate playing behaviors. After the intervention phase, the student consistently demonstrated appropriate playing behaviors. Third step was creating a transition plan. The committee of this transition plan was consisted of school director, deputy director, the student’s mother, the classroom teacher from the previous school, the special education teacher, and the classroom teacher from the new school. Fourth step was implementing the transition plan. During this step, the student was diagnosed by a physician and the medicine was provided. Also, the classroom teacher from the previous school reported the student’s data to the classroom teacher from the new school. During the implementation phase, all of the committee members followed the created transition plan. Fifth step was evaluating and following-up. The results indicated that student could play with peers in an appropriate way, had good relationship with teachers, felt happy in the new school, and improved academic achievement. The results of helping students in transition found that factors related to success were: 1) relationship with teachers Because the new school teacher Is a special education teacher with knowledge Expertise In caring for students with special needs When receiving detailed information of students from the former school teacher, it is ready to be used to assist students immediately 2) Relationship with friends Because the original school teacher has knowledge and understanding about the behavior modification of children with special needs Therefore applying behavior modification techniques using social stories to solve problems with students' friends Make students have better playing skills with friends before transitioning to a new school and 3) In terms of education, because students are able to study in a combined classroom that includes both children and children with special needs, a small amount of study is included. Enabling teachers to take care of students thoroughly and have friends to help with learning including having special education teachers and psychologists provide close support.Downloads
Download data is not yet available.