ปัจจัยของความสำเร็จและสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรวม โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (Key Success Factors and Problems of Inclusive Education in Schools Under Department of Education the Bangkok Metropolitan Administration)

Authors

  • พรเพ็ญ ทองโท
  • ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์
  • ดารณี อุทัยรัตนกิจ

Abstract

บทคัดย่อการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยของความสำเร็จในการจัดการเรียนรวม ด้านบุคคลด้านนโยบาย ด้านชุมชน ด้านงบประมาณ และศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรวม โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นจำนวน 304 ชุด และสัมภาษณ์ครูในบริบทโรงเรียนเรียนรวม จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน-มาตรฐานผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านบุคลกร ด้านนโยบาย ด้านชุมชน ด้านงบประมาณ ของความสำเร็จในการจัดการเรียนรวม โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 1) ด้านบุคคล (=4.15, S.D.=0.03) ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เจตคติต่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ (=4.17, S.D.=0.58) 2) ด้านงบประมาณ (=3.99,S.D.=0.16) ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสม (=4.05, S.D.=0.70)3) ด้านนโยบาย (=3.91, S.D.=0.12) ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นโยบายมีความชัดเจนและต่อเนื่อง(=3.95, S.D.=0.63) 4) ด้านชุมชน ( =3.84, S.D.=0.14) ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การให้ความร่วมมือของชุมชน (=3.84, S.D.=0.70) และสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรวมโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านบุคคล ได้แก่ ครู/บุคลากร ผู้บริหาร ขาดความรู้ ความเข้าใจ ครูและบุคลากรทางการศึกษาพิเศษ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ด้านนโยบาย ได้แก่ นโยบายขาดความชัดเจน ความไม่ต่อเนื่องของการกำกับและติดตามผล ด้านชุมชน ได้แก่ ขาดการให้ความร่วมมือในการสนับสนุนจากชุมชน ด้านงบประมาณ ได้แก่ งบประมาณที่ได้รับไม่สอดคล้องกับความต้องการ ความล่าช้าในการจัดสรรงบประมาณAbstractThe purposes of this research were to study the successful factors of Inclusive Educationin aspects of personnel, policy, community and budget, and study the problems of InclusiveEducation in schools under Bangkok Department of Education. The questionnaire was designedto collect the data from 304 teachers and the researcher interviewed 30 teachers. The dataanalysis was performed with percentage, mean () and Standard Deviation (S.D.)The result of this research found that the successful factors of Inclusive Educationin aspect of personnel, policy, and budget in schools under Bangkok Department ofEducation were at high level in overall. When considered in each aspect, 1) Personnelaspect had the highest mean (=4.15, S.D.=0.03). The variable which had the highest meanwas the attitude toward students’special need (=4.17, S.D.=0.58) 2) Secondly, The mean() and Standard Deviation (S.D.) in budget aspect were 3.99 and 0.16 respectively. Thevariable which had the highest mean was acquiring appropriate materials and tools (=4.05,S.D.=0.70) 3) The mean () and Standard Deviation (S.D.) in policy aspect were 3.91 and0.12 respectively. The variable which had the highest mean was clear and continuedpolicy (=3.95, S.D.=0.63) 4) The mean () and Standard Deviation (S.D.) in community aspectwere 3.84 and 0.70 respectively. The problems of Inclusive Education in BangkokDepartment of Education in personnel aspect were teachers’ and administrators’ lack ofknowledge and understanding and inadequate number of staff. The problems in policyaspect were unclear policy and discontinuous monitoring. The problem in communityaspect was the lack of cooperation in community support. The problem in budget aspectwere inconsistence between budget and need, and the delay in budget allocation.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads