การศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟัง ของผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่เรียนในระดับชั้นอนุบาล (A Comparative Study of Hearing Aid Usage of Parents of Hearing Impaired Kindergarten Students)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟังของ ผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เรียนในระดับชั้นอนุบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟังของผู้ปกครองเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินที่เรียนในระดับชั้นอนุบาล จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ความสัมพันธ์กับเด็ก ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ และเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟังของผู้ปกครองเด็กที่มีบกพร่องทางการได้ยินที่เรียนในระดับชั้นอนุบาลทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการอบรมผู้ปกครองเรื่องเข้าใจและเรียนรู้ฟื้นฟูให้หนูได้ยิน และใช้คู่มือความรู้เรื่องการใช้และการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เรียนในระดับชั้นอนุบาล โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ที่ใช้เครื่องช่วยฟังมีจำนวน 16 คน ที่ให้ความร่วมมือในการเข้าโครงการอบรมผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) โครงการอบรมผู้ปกครองเรื่องเข้าใจและเรียนรู้ฟื้นฟูให้หนูได้ยิน และคู่มือความรู้เรื่องการใช้และการดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2) แบบประเมินวัดระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟังของผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เรียนในระดับชั้นอนุบาล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ และการทดสอบสมมติฐาน โดยสถิติที่ใช้เปรียบเทียบ คือ สถิตินอนพาราเมตริก (Non-Parametric Statistics) ได้แก่ Mann-Whitney U Test, Kruskal-Wallis Test และ The Wilcoxon matched-pair signed-ranks test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟังของผู้ปกครองเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินที่เรียนในระดับชั้นอนุบาล โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟังของผู้ปกครองเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินที่เรียนในระดับชั้นอนุบาลที่มีข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ ความสัมพันธ์กับเด็ก ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟังไม่แตกต่างกัน 3) ผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องช่วยฟังทั้งในภาพรวมและรายด้านแตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโครงการอบรมผู้ปกครอง และการศึกษาคู่มือให้ความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 Abstract The aims of this study are 1) to study parents’ different understanding levels of hearing aid usage classified by demographic data such as gender, age, child relations, educational level, occupation, and income; and 2) to compare parents’ understanding levels of hearing aid usage between the pre- and post-training sessions of a project called ‘Understanding and learning to restore my hearing’ and the dissemination of a manual ‘How to use and care the hearing aid for the parents’. This study was an experimental research. The population of the study was 16 parents of hearing impaired kindergarten students with hearing aid at Setsatian School for the Deaf under the Royal Patronage of His Royal Highness King Maha Vajiralongkorn. They participated in the training constantly. The research instruments consisted of: 1) a training project titled ‘Understanding and learning to restore my hearing’ and ‘Manual of how to use and care the hearing aid for the parent’; 2) an assessment form of hearing aid usage understanding of parents of hearing impaired kindergarten students. The descriptive statistics were used for data analysis including: percentage, average and standard deviation. Furthermore, the statistics used for evaluation of research instruments and hypothesis testing were non-parametric statistics: Mann-Whitney U test, Kruskal-Wallis Test, and the Wilcoxon matched-pair signed-ranks test. The findings show that: 1) Parents’ understanding of hearing aid usage in general is at excellent level 2) Parents with different demographic data such as gender, age and educational levels have no different levels of understanding of hearing aid usage. 3) After parents’ participation in the project together with a study of the manual book, they show different levels of understanding of hearing aid usage regarding overall aspects and particular issues with statistical significance at 0.05 level.Downloads
Download data is not yet available.