ประสบการณ์ชีวิตของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม: เพื่อการใช้ประโยชน์ในการจัดบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม (Autism spectrum disorder หรือ ASD) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบ Hermeneutic phenomenology (การแปลความตามปรากฏการณ์วิทยา) ตามแนวคิดของ Martin Heidegger และคำอธิบายของ VanManen (1990) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือพ่อหรือแม่ (ผู้เลี้ยงดูหลัก) ในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 20 คนที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบมีเกณฑ์ (Criterion Sampling) และแบบก้อนหิมะ (Snowball Sampling) ที่มีเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิสซึ่มตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และมีที่พักอาศัยห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาไม่เกิน 60 กิโลเมตร ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีอายุอยู่ระหว่าง 33-57 ปี และอายุของเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม 6-16 ปี ข้อมูลถูกเก็บจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเป็นรายบุคคลวิเคราะห์ข้อมูลแบบการจับประเด็นสำคัญของการสนทนา (Thematic analysis) โดยการทำแถบสีในประเด็นสำคัญเพื่อค้นหาโครงสร้างของประสบการณ์ (The selective or highlighting approach ของ Van Manen, 1990) ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ชีวิตที่สำคัญของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่มมี 4 หัวข้อใหญ่คือ ออทิสซึ่มและวิถีชีวิตของพ่อแม่ การใช้ชีวิตร่วมกับออทิสซึ่ม ข้อเสนอแนะและความต้องการของพ่อแม่เด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม และข้อดีในประสบการณ์ของการเลี้ยงดูเด็กที่มีภาวะออทิส ซึ่มการนำผลของการวิจัยไปใช้ได้อภิปรายเน้นในแง่ของการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางแก่ครอบครัวที่เลี้ยงดูเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม ผลการวิจัยสรุปว่าทีมสหวิชาชีพซึ่งรวมถึงครูการศึกษาพิเศษที่ทำงานในการพัฒนาเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่มควรจะเข้าใจและตระหนักในประสบการณ์ชีวิตของพ่อแม่ที่มีเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม และควรให้ความใส่ใจต่อความสัมพันธ์กับพ่อแม่ให้มากขึ้น ตลอดจนเคารพต่อความเชี่ยวชาญของพ่อแม่ในประสบการณ์ของการเลี้ยงดูเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม การสร้างความเข้าใจร่วมกัน และความเคารพระหว่างพ่อแม่และทีมสหวิชาชีพเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อสร้างโปรแกรมการให้ความช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ท้ายสุดได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคตที่ตอบสนองต่อผลการวิจัยในครั้งนี้Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-06-30
Issue
Section
Research article