การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเปรียบเทียบการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย ราชภัฏในภาคใต้ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 316 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้มีสภาพการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมอยู่ในระดับน้อย มีเพียง 2 ฐานข้อมูลที่มีสภาพการใช้ในระดับมาก ได้แก่ Education Research Complete และ ProQuest Dissertations & Theses เมื่อเปรียบเทียบการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จำแนกตามสถานภาพและเพศ พบว่า มีการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกัน แต่การจำแนกตามอายุและสาขาวิชา พบว่า มีความแตกต่างกัน โดยอาจารย์และนักศึกษาที่มีช่วงอายุต่ำกว่า 41 ปี แตกต่างจากช่วงอายุ41-50 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาแตกต่างจากสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาปฐมวัย สาขาวิชายุทธศาสตร์การวิจัย สาขาวิชาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา และสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางAbstract This research aimed to study the use of electronic databases, investigate problems faced by the subjects in database use and compare lecturers’ survey and graduate students’ survey in the Faculties of Education of Rajabhat Universities in the Southern Region. This research was a survey research. 316 Lecturers and graduate students in Faculties of Education of Rajabhat Universities in the Southern Region in academic year 2014 were selected by using a simple random sampling. The instrument was questionnaires. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and the Scheffé method for pair matching comparison. The research findings were summarized as follows: lecturers and graduate students used the electronic databases at the low level, while Educational Research Complete and ProQuest Dissertations & Theses were at the high level. The comparison of using electronic databases indicated that status and gender found no statistical significance. However, this research found that age and department had different results. The lecturers and graduate students under the age of 41 and the age group 41-50 were statistical significance at .05. By subject, the areas of innovation management and development, curriculum and teaching, early childhood education, research strategies, leadership management, mathematics, and special education had a statistical significance of .05. Besides, the problems in using electronic databases were at a middle level. คำสำคัญ: ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ Keyword: Electronic databases, Graduate students, Rajabhat Universities
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
โทนแก้ว ส. (2016). การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้. บรรณศาสตร์ มศว, 8(2), 83–96. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/7064
Section
Research Articles