การใช้ห้องสมุดประกอบการสอนและเจตคติต่อการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

จารวี ฟักโพธิ์
บุญยืน จันทร์สว่าง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปริมาณการใช้ห้องสมุดประกอบการสอน และเจตคติต่อการใช้ห้องสมุดประกอบการสอน  รวมทั้งเปรียบเทียบปริมาณการใช้ห้องสมุดประกอบการสอน และเจตคติต่อการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1  จำแนกตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ และประสบการณ์การสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างคือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 439 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test  F-test  และสถิติสหสัมพันธ์ผลคูณของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า  1) ครูมีปริมาณการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  2) ครูที่สอนในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีปริมาณการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนมากกว่าครูที่สอนอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่พิเศษ ครูที่มีประสบการณ์การสอนต่างกันมีปริมาณการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนไม่แตกต่างกัน  3) ครูมีเจตคติต่อการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนอยู่ในระดับมาก โดยครูที่สอนในโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่มีเจตคติสูงกว่าครูที่สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีเจตคติสูงกว่าครู     ที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 20 ปี มีเจตคติต่อการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนสูงกว่าครูที่มีประสบการณ์การสอน 11-20 ปี  4) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนกับ  เจตคติต่อการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกและสัมพันธ์กันในระดับมาก  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฟักโพธิ์ จ., & จันทร์สว่าง บ. (2013). การใช้ห้องสมุดประกอบการสอนและเจตคติต่อการใช้ห้องสมุดประกอบการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. บรรณศาสตร์ มศว, 6(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/3218
Section
Research Articles