การประเมินความต้องการจำเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพในศูนย์การเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ศรีไพร โชติจิรวัฒนา
พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพของผู้สูงอายุ และสร้างแนวทางการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 434 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ด้านผู้สูงอายุ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 6 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNImodified) ผลการวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการจำเป็นในด้านการมีศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.69) เมื่อพิจารณารายข้อของความต้องการจำเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการจำเป็นในเรื่องการใช้โปรแกรมในสมาร์ตโฟนหาความรู้สุขภาพเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.97) ส่วนลักษณะของศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพ พบว่า ช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าใช้บริการ คือ ช่วงเวลา 10.00 -12.00 น. ระยะเวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ คือ 1 ชั่วโมง และผู้สูงอายุต้องการเข้าใช้ศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยต้องการความรู้ดูแลสุขภาพตนเอง พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สูงอายุชอบการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ชอบเรียนรู้จากการดูโทรทัศน์ และใช้อุปกรณ์สมาร์ตโฟน Abstract This research aims to assess the needs for information and communication technology to support health literacy in the learning center for the elderly and to create a guideline of the learning center for the elderly by using a mixed research method. The research was conducted by surveying through the use of a questionnaire on 434 elderly people living in Bangkok and its vicinities and a structured interview tool with health experts, as well as experts on the elderly,information and communication technology, and on learning center, totaling 6 persons. The research statistics include frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and the modified Priority Needs Index to assess needs. The results of the needs assessment found that the primary need of the elderly was to have a learning center in the community (PNImodified = 0.69). When considering the list of needs regarding information and communication technology, it was found that the primary need of the elderly was the need for using smartphone applications to find health-related information (PNImodified = 0.97). In terms of the characteristics of the learning center, most of the elderly accessed the services from 10:00 a.m. to 12:00 p.m. The appropriate duration of time for organizing health education activities is one hour, and need to use the health learning center at least one time per week, and need knowledge on how to take care of one’s health, meet, chat and exchange knowledge. The elderly prefer group learning and like to learn from televisions and smartphone devices.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โชติจิรวัฒนา ศ., ตันตระรุ่งโรจน์ พ., & สุวรรณมรรคา ส. (2020). การประเมินความต้องการจำเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพในศูนย์การเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บรรณศาสตร์ มศว, 12(2), 71–85. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12221
Section
Research Articles