ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกแหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าอิสระ: กรณีศึกษาของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญารังสิต

Main Article Content

ธิดารัตน์ บุญล้อม

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและประเภทวัสดุเพื่อการศึกษาค้นคว้าอิสระ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความถี่การเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและประเภทวัสดุของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญารังสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนสายปัญญารังสิต ปีการศึกษา 2557 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนโรงเรียนสายปัญญารังสิตมีพฤติกรรมการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศออนไลน์มากที่สุด และมีความถี่ในการใช้แหล่งสารสนเทศต่อสัปดาห์ โดยประมาณ 7 ครั้งขึ้นไป  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและประเภทวัสดุเพื่อการศึกษาค้นคว้าอิสระ คือปัจจัยด้านความสะดวกและความง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (  =  3.80,   =  3.67) ในขณะเดียวกันพบว่าประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์มีค่าเฉลี่ยด้านความสะดวกและความง่ายต่อการเข้าถึง อยู่ในระดับปานกลาง  (  =  3.03,   =  2.93)  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านความสะดวกและความง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งเป็นตัวแปรที่จะอธิบายแนวโน้มความถี่ในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและประเภทวัสดุในทิศทางบวก นอกจากนี้พบว่าทั้งแหล่งสารสนเทศประเภทบุคคล และประเภทวัสดุตีพิมพ์นั้น ด้านความสะดวกมีอิทธิพลต่อการเข้าถึงมากกว่าความง่ายต่อการเข้าถึง อย่างไรก็ตาม ความสะดวกการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคล มีอิทธิพลมากกว่าการเลือกใช้ประเภทวัสดุตีพิมพ์  ( b1 = 1.02, b1 = 0.71 )  ขณะเดียวกันทั้งแหล่งสารสนเทศออนไลน์ และประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และความง่ายต่อการเข้าถึงมีอิทธิพลมากกว่าความสะดวก อย่างไรก็ตาม ความง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศออนไลน์มีอิทธิพลมากกว่าประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ( b2 = 1.50, b2 = 0.47 ) ตามลำดับ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   Abstract The aims of this research are 1) information sourcing factors facilitating independent study by students at Saipanyarangsit School 2) factors affecting the tendency to frequently use of information sourcing. The sample population consisted of 260 students at Saipanyarangsit School enrolled in the academic year 2014. The research instrument was a questionnaire. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of frequency, percentage, mean, and standard deviation. In addition, the researcher employed multiple regression analysis (MRA) in testing the set hypotheses postulated for this inquiry. The research findings are as follows: 1) the students under study used Internet information sourcing at the highest level. The frequency with which they sourced information was approximately more than seven times weekly. 2) The factors of convenience and ease in accessing information sources were overall displayed at a high level (M = 3.80, M = 3.67), respectively. Non-print and electronic sources exhibited means in the aspects of convenience and ease of information access at a moderate level (M = 3.03, M = 2.93), respectively. The results of hypothesis testing were as follows: The variables of factors of convenience and ease of access to information sources were positively explanatory of the frequency with which information sources were used. In addition, the following was found: In respect to both non-print and individual information sources, the aspect of convenience influenced access to information sources at a higher level than did ease in access. However, convenience exerted influence at a higher level than did the use of information from printed materials (b1 = 1.02, b1 = 0.71), respectively. Moreover, for non-print materials and electronic information sources, ease of access exerted influence at a higher level than did convenience. The ease of access to online information sources exerted an influence at a higher level than did non-print materials and electronic materials (b2 = 1.50, b2 = 0.47), respectively, at the statistically significant level of .05. คำสำคัญ: การเลือกแหล่งสารสนเทศ   ทฤษฎีความพยายามน้อยที่สุด   พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ   นักเรียนมัธยมศึกษา   โรงเรียนสายปัญญารังสิต Keyword: Selection of information sources, Principle of least effort, Information seeking behavior, High school student, Saipanyarangsit School

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุญล้อม ธ. (2019). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกแหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าอิสระ: กรณีศึกษาของนักเรียนโรงเรียนสายปัญญารังสิต. บรรณศาสตร์ มศว, 11(2), 161–171. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10916
Section
Research Articles