ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: กรณีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่านและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่าน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยควบคุม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่านกับพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการอ่านทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความถี่ในการอ่าน 1 - 5 ครั้งต่อสัปดาห์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่นักเรียนนิยมอ่านมากที่สุด คือ หนังสือเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่นักเรียนนิยมอ่านมากที่สุด คือ เว็บไซต์ที่ให้ความรู้ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่าน โดยภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยควบคุม ( = 3.70) รองลงมา คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ( = 3.69) และปัจจัยทางสังคม ( = 3.27) นอกจากนี้ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อพฤติกรรมการอ่านในระดับค่อนข้างสูง (r = .726) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยรายข้อ “ถ้าห้องสมุดจัดนิทรรศการให้อ่าน นักเรียนก็จะอ่าน” มีค่าความสัมพันธ์เชิงบวกสูงสุด (r= .726) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยควบคุมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอ่าน Abstract This research was aimed to study the reading behaviors, factors affecting the reading behaviors, and relations between the factors among the students of Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary). The factors are demographical factors, social factors, and control factors. The sample population consisted of 283 lower secondary students enrolled at the school in the academic year 2017. The research instrument was a questionnaire. Data were analyzed by using techniques of descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation. Pearson’s product moment correlation coefficient (PPMCC) method was also employed for hypothesis testing. The research results revealed that the lower secondary students mostly do reading 1-5 times for a week and read textbooks as the printed media. For the electronic media, the scholar websites are the most popular among them. In over all, all factor affected to the students’ reading behaviors in high level ( = 3.55). The highest average score was the control factors ( = 3.70) proceeding with the demographical factor ( = 3.69) and the social factors ( = 3.27) respectively. In hypothesis testing, it was found that demographical factors and control factors and reading behaviors did not overall show correlations. At the same time, social factors and reading behaviors were overall positively correlated at a rather high level. When considering questions, the item “If the library organizes reading exhibitions, students will read” showed positive correlations at a rather high level (r = 0.726) at the highest level carrying the statistically significant level of .05. คำสำคัญ: พฤติกรรมการอ่าน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) Keywords: Reading behavior, Junior high school student, Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary)
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
วัชรวิชานันท์ ว. (2019). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: กรณีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). บรรณศาสตร์ มศว, 11(2), 148–160. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10915
Section
Research Articles