การพัฒนาแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาระดับความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 568 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตน วิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือรายข้อด้วยค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนก และคุณภาพของเครื่องมือทั้งฉบับด้วยค่าความเที่ยงตรงเชิงพินิจ ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่น รวมทั้งวิเคราะห์ระดับความสามารถคิดบริหารจัดการตนโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของจิเอียและคณะมี 3 องค์ประกอบ 9 ด้าน ซึ่งข้อคำถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพบว่า มีคุณภาพโดยรายข้อคำถามมีค่าอำนาจจำแนก 0.223 ถึง 0.696 เมื่อวิเคราะห์ด้วยโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนมากกว่า 2 ค่า โดยใช้ Graded Response Model ความยากง่ายข้อคำถามทุกข้อมีค่า b1<b2<b3<b4 ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามมีค่าพารามิเตอร์ความชันร่วม 0.70 ถึง 14.85 และคุณภาพของเครื่องมือทั้งฉบับมีความเที่ยงตรงเชิงพินิจ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 ถึง 1.00 มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (c2= 10.31, df = 9, p = 0.325, GFI = 0.996, AGFI = 0.980, RMSEA = 0.016) และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.916 และ 2) ผลการศึกษาระดับความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความสามารถคิดบริหารจัดการตนอยู่ในระดับมาก (=3.73 ) Abstract This research aims to develop and verify quality of executive function test for Matthayomsuksa I students and to study Matthayomsuksa I students’ executive function level. The sample used in this study were 568 Matthayomsuksa I students under the Secondary Educational Service Area Office VII who were enrolled 2017 academic year by two-stage cluster sampling. Research tool was executive function test. Statistic used to verify overall research tool’s quality were Face Validity, Discrimination, Reliability, Construct reliability and Difficulty. Executive function level was also analyzed by descriptive analysis. The finding showed that: 1) Executive function test that the researcher created based on Gioia et al.’s concept was composed of 3 components with 9 subcomponents. Which test items were 5 point rating scale and had 45 test items in total. The result of verifying executive function test quality had Discrimination at 0.223 to 0.696. When verifying by using Multichotomous Item response theory (IRT) using Graded Response Model found that every question item valued at b1<b2<b3<b4 .In term of Discrimination had parameter (α) between 0.70 to 14.85. The verifying overall test quality result had face validity with IOC between 0.60 and 1.00. and had significant construct validity matching up with declarative data (c2=10.31, df = 9, p = 0.325, GFI = 0.996, AGFI = 0.980, RMSEA = 0.016). Considering total reliability, there was Cronbach's alpha coefficient at 0.916. and 2) The result of studying Matthayomsuksa I students’ executive function level found that generally students had executive function at high level (=3.73) คำสำคัญ: ความสามารถคิดบริหารจัดการตน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนมากกว่า 2 ค่า Keywords: Executive Function, Second order confirmatory factor analysis, Polytomous IRT models
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
สมิงชัย ส. (2019). การพัฒนาแบบวัดความสามารถคิดบริหารจัดการตนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. บรรณศาสตร์ มศว, 11(2), 34–47. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10907
Section
Research Articles