การใช้โปรแกรมการสอนด้วยหนังสือการ์ตูน เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานบิ๊กซิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานบิ๊กซิกส์ และ 2) ประเมินทักษะการรู้สารสนเทศหลังการเรียนด้วยโปรแกรมการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานบิ๊กซิกส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 34 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 34 คน ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ หนังสือการ์ตูน และแบบทดสอบ ใช้วิธีวิจัยกึ่งทดลองแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลอง 1 กลุ่ม โดยแบ่งเป็น 2 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกณฑ์ E1/E2 ที่คะแนน 75/75 สำหรับหาประสิทธิภาพของโปรแกรมการสอน ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for dependent ในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานบิ๊กซิกส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 79.34/75.32 สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ และทักษะการรู้สารสนเทศหลังการเรียนด้วยโปรแกรมการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานบิ๊กซิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยสามารถพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามความมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551Abstract This study aimed: 1) to develop a teaching program using comic books to support the information literacy skills with regard to the Big6TM standards; and 2) to assess the information literacy skills after learning programs promoted and the student were taught with comic books in order to promote information literacy in accordance with the Big6TM standards. The subjects were purposively selected and consisted of thirty-four third grade students and thirty-four fourth grade students at Chulalongkorn University Demonstration Elementary School. The instrument used for this research included study plans, comic books, and quizzes. A quasi-experimental research in one group pretest-posttest design was divided into two phases according to the aims of the research as follows: the statistics used in this study included the E1/E2 formula at a rated criteria of 75/75 on the efficiency of the teaching program, the use of statistical averages, standard deviation and a t-test for dependent to compare student achievement before and after learning with the program. The results were as follows: the efficiency of teaching program with comic books to enhance the information literacy skills in accordance with the Big6TM standards for grade four students at 79.34/75.32, higher than the standard criteria. The post-test of the teaching program with comic books to enhance the information literacy skills in accordance with the Big6TM standards for grade four students were higher than the pre-testing level at statistical a significance of .05. The results of this research can be used to teach with comic books for grade four students to develop their information literacy skills so that they can learn by themselves, and as a form of lifelong learning based on the aim of the basic education core curriculum in 2008. คำสำคัญ: โปรแกรมการสอน หนังสือการ์ตูน การรู้สารสนเทศ มาตรฐานบิ๊กซิกส์ นักเรียนชั้นประถมศึกษา Keywords: Teaching program, Comic books, Information literacy, The Big6TM standards, Elementary students
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
คล้ายสินธุ์ ใ. (2019). การใช้โปรแกรมการสอนด้วยหนังสือการ์ตูน เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานบิ๊กซิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. บรรณศาสตร์ มศว, 11(2), 1–16. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10905
Section
Research Articles