รูปแบบการส่งเสริมอาชีพ จากอัตลักษณ์ชุมชน พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ด่านบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรี
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ด่านบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรี เพื่อพัฒนาและยืนยันความเหมาะสมรูปแบบการส่งเสริมอาชีพ จากอัตลักษณ์ชุมชน พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ด่านบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรีโดยแบ่งงานเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเริ่มด้วยศึกษาอัตลักษณ์จากข้อมูลเอกสารงานวิจัย และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้าน ผู้นำทางศาสนา บุคลสำคัญของชุมชน โดยเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคsnow ball นำอัตลักษณ์ที่ได้ไปพัฒนาสร้างตัวอย่างผลิตภัณฑ์ และประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ระยะที่สองพัฒนารูปแบบการส่งเสริมอาชีพ จากอัตลักษณ์ชุมชน พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ด่านบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรีด้วยการหาวิธีปฏิบัติการที่ดีจากกลุ่มอาชีพที่ทำกิจการที่คล้ายกัน โดยนำมาวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและสร้างรูปแบบการส่งเสริมอาชีพ จากอัตลักษณ์ชุมชนฯขึ้น ส่วนระยะที่สามจัดสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบฯ ผลการวิจัยพบว่า จากการสำรวจความต้องการชุมชนด่านบ้านพุน้ำร้อน คือ ชุมชนยังขาดผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ และชุมชนต้องการอาชีพให้สอดคล้องกับการพัฒนาของพื้นที่ จากการศึกษายังพบว่าอัตลักษณ์ชุมชน มีองค์ประกอบ 4 ด้านได้แก่ ด้านชาติพันธุ์(Ethnographic) ด้านวัฒนธรรม(Cultural) ด้านภาษาและการสื่อสาร(Communication) และด้านรูปแบบการดำรงชีวิต(Life Style) นำไปสู่ขั้นตอนคัดเลือกอัตลักษณ์เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ได้ผลการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในด้านความมีอัตลักษณ์,ด้านความสวยงาม, ด้านความสะดวกในการใช้งาน และด้านความปลอดภัย มีค่าระดับมากที่สุด ยังสร้างรูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกตามอัตลักษณ์ชุมชน(NIPPA) ประกอบไปด้วย 1) การศึกษาความต้องการของชุมชน(Needs Study) 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interviews3) การออกแบบต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype Design) 4) การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype Development) และ 5) การประเมินต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Assessment)ส่วนการส่งเสริมอาชีพใช้รูปแบบ4Ps และ4Csประกอบกัน โดยรูปแบบ 4Ps ประกอบไปด้วย 1)สินค้าผลิตภัณฑ์(Product)2)ราคาผลิตภัณฑ์ (Price) 3) สถานที่จัดจำหน่าย (Place) และ 4) การโฆษณาจัดจำหน่าย (Promotion)และรูปแบบ 4Cs ประกอบไปด้วย 1)ความต้องการของลูกค้า(Customer Need)2)ราคาผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (Cost) 3) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Convenient) และ 4) การสื่อสารเชิงพาณิชย์ (Communication) คำสำคัญรูปแบบการส่งเสริมอาชีพ, อัตลักษณ์,ออกแบบผลิตภัณฑ์, ด่านบ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนบุรี Abstract The objective of this research is a study of the cultural identity in the Thai-Myanmar border area at the checkpoint of Ban PuNamron, Kanchanaburi. To develop a model of Career Enhancement from local identity of Thai-Myanmar at Ban PuNamron, Kanchanaburi. The research is separated into 3 stages, first stage started from studying of cultural identity of each culture in both paperwork and In-depth interview. The target groups for an interview are the Community leaders, Village representatives, Religious leaders, other important persons in the communities. Using a snow ball technique in collecting all information needed then transfers all that information into a design process and the products evaluation. The second stage is a development of a product into a career path for the community. The research has gone into more details of career development by observing and analyzing of the other similar types of local business models to create a link of career network for the community. The third stage is a setting of a meeting and conversing to find out the best model for this research. From the result of this research, we have found that a need of this community is the products that can be shown as a local identity items and also a need of career path that can be adjusted to fit with a community development. We have also found that the local identity of this area can be divided into 4 parts, Ethnographic, Cultural, Communication and Life Style. We have used these 4 cultural identities to create product prototypes and having the highest level in an evaluation of Identity, Aesthetic, Functional, and Safety issue. From this research we have a final model of the development in local identity products design which is now called as NIPPA. NIPPA is combining with 1) Needs Study 2) In-Depth Interviews 3) Prototype Design 4) Prototype Development and 5) Assessment. In the Career enhancement part, we are using 4Ps and 4Cs as a consideration. 4Ps is combining with 1) Product 2) Price 3) Place and 4) Promotion. While 4Cs is combining with 1) Customer Need 2) Cost 3) Convenient and 4) Communication. Keywords: a Model of Career Enhancement,Identity, Product design, Ban PuNamronKanchanaburi ProvinceDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย