การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมอาชีพชุมชน
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของการประกอบอาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอาชีพชุมชน โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น2 ระยะระยะที่1 ศึกษาเฉพาะอาชีพด้านหัตถกรรม3 อาชีพประกอบด้วย การทอผ้าขาวม้า การทำมีดเหน็บ และการจักสานเปลไม้ไผ่ การเก็บข้อมูลใช้เทคนิค Snow ball โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเจาะจงเฉพาะปราชญ์ชาวบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Content analysisและการสังเคราะห์ข้อมูลนำเสนอเป็นแผนภาพความคิดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และระยะที่ 7 พัฒนาระบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอาชีพชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเลือกวิธีการเผยแพร่ในเว็บไซต์กระดานสนทนา(Web board)ออกแบบระบบการจัดการความรู้โดยใช้หลักการเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับนักพัฒนาเว็บไซต์ วิเคราะห์ผลข้อมูลนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การประชุมสนทนากลุ่มเพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่าองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประกอบอาชีพชุมชนพบว่า ด้านความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจากรุ่นสู่รุ่นในแบบครอบครัวด้านการจัดเก็บความรู้ในรูปแบบเอกสารและในตัวบุคคล การเผยแพร่ความรู้เป็นการบอกต่อและการสาธิตให้ดู ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์เป็นการใช้เครื่องมือและแรงงานคน เคล็ดลับที่อยู่ในตัวบุคคลจากประสบการณ์ ทักษะ ความชำนาญสามารถสรุปได้ว่าองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ คือ1)ความเป็นมาของภูมิปัญญา2)เอกลักษณ์ของภูมิปัญญา 3)ขั้นตอนการผลิต 4)เคล็ดลับที่สำคัญ5)การจัดเก็บความรู้ 6)การเผยแพร่ความรู้และ7)การพัฒนาอาชีพ ส่วนในด้านของระบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การวางแผน (Planning) การจัดการความรู้ (Knowledge management) เทคโนโลยี (Technology) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchange) และการประเมิน (Assessment) คำสำคัญการจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การส่งเสริมอาชีพชุมชน Abstract The objectives of this research were to study traditional knowledge from occupational community in Kanchanaburi province. This research divided into two phases: First, studyinghandicraftin three careers, they were loincloth textile, small knife, bamboo cot. Snow ball technique andin-depth interview were used to collect data fromnative philosopher,andcontent analysis was used to analyzeddata, and presented as a tradition knowledge map. Second, develop tradition knowledge management by usinginformation technology such as website and web board. The researcher developed website with technician and then presented thetraditional knowledge management model to 7 experts to evaluate theappropriateness of traditional knowledge management model. The research found that, traditional knowledge come from inside family and from generation to generation. The knowledge collected were paper and individual experience. For educational transfer they used teaching. For production skill they used training. This research concludedthat traditional knowledgecompost of Background, Identity, Process, Trick, Knowledge, Educational Transfer and Occupational Development. For traditional knowledge management model compost of Planning, Knowledge Management, Technology, Exchange and Assessment. Keywords:Knowledge Management, Local Wisdom, Occupational CommunityPromotionDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย