รูปแบบการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Authors

  • อมรรัตน์ วรรณะ
  • เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต
  • ไพบูลย์ อ่อนมั่ง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 คือการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 15 คน โดยมีผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงประกอบด้วย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา หรือผู้รับผิดชอบงานด้านวินัยนักศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารการเสริมสร้างวินัยตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยใช้วิธีเทคนิคเดลฟาย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในระดับรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา หรืออาจารย์ที่ปรึกษาที่มีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานกิจการนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 17 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ประกอบด้วย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา หัวหน้างานหรือผู้ที่รับผิดชอบงานด้านวินัยนักศึกษา จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ มัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามความเห็นของผู้ให้ข้อมูลพบว่า กระบวนการหรือวิธีการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาประกอบด้วยด้านนโยบายบริหาร ด้านการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ ด้าน โครงการ/กิจกรรม งบประมาณ และการติดตาม และประเมินผล ค่าประเมินความเหมาะสม สอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.86-1.00  2) ผลการตรวจสอบจากโดยใช้เทคนิคเดลฟาย เห็นด้วยกับแบบแผนและขั้นตอนของแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีค่ามัธยฐาน ระหว่าง 4.00-5.00 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ อยู่ระหว่าง 0.00-1.00  3) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่าด้านความเหมาะสม ในการนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนด้านนโยบายและการวางแผน ค่าเฉลี่ย = 4.03 ด้านบริการองค์กร ค่าเฉลี่ย = 4.31 ด้านกิจกรรมพัฒนาวินัยนักศึกษา ค่าเฉลี่ย = 4.43 ด้านงบประมาณ ค่าเฉลี่ย = 3.82 ด้านติดตามประเมินผล ค่าเฉลี่ย = 4.28 ด้านความเป็นไปได้ ในการนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนด้านนโยบายและการวางแผนค่าเฉลี่ย = 3.85 ด้านบริหารองค์กร ค่าเฉลี่ย = 3.95 ด้านกิจกรรมพัฒนาวินัยนักศึกษา ค่าเฉลี่ย = 4.28 ด้านงบประมาณ ค่าเฉลี่ย = 3.60 ด้านติดตามประเมินผล ค่าเฉลี่ย = 3.97 สรุปว่ารูปแบบการบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ คำสำคัญ: สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, การบริหารการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษา   Abstract This research aimed to create a self-discipline management model for private higher education students. It was divided into 3 stages. Stage 1 studied elements of a self-discipline management model for private higher education students with a sample of 15 people. The researchers used the purposive sampling consisting of the Assistant to the Rector for Student Affair Division, the Director of Student Affair Office, or people responsible for students’ discipline of private higher education in Bangkok Metropolitan Region. Stage 2 created a self-discipline management model for private higher education students by using Delphi technique from 17 experts in student affair administration for private higher education, that is, the Vice Rector for Student Affair Division, the Assistant to the Rector for Student Affair Division, or advisors with academic position of assistant professor or associate professor, and people involved in student affair administration for private higher education. Stage 3 evaluated a self-discipline management model for private higher education students. The sample groups used for evaluating appropriateness and feasibility of the model consisted of the Vice Rector for Student Affair Division, the Director of Student Affair Division, head or people responsible for students’ discipline, accounting for a total of 30 informants. The statistics used in this research were frequency, percentage, median, mode, standard deviation and interquartile range. The result of the research showed that 1) in case of the elements of a self-discipline management model for private higher education students, the informants considered that processes or methods of self-discipline management for students consisted of management policies, determining roles and duties of people responsible, projects/activities, budget, and monitoring and evaluating results with the IOC between 0.86-1.00; 2) the verification result by using Delphi technique agreed with patterns and stages of each element of a self-discipline management model for private higher education with the median between 4.00 and 5.00, and the interquartile range between 0.00 and 1.00; 3) the evaluation results of appropriateness and feasibility of a self-discipline management model for private higher education students were shown by aspects as follows: appropriateness in applying a self-discipline management model for private higher education students consisted of policies and planning (mean = 4.03), organization service (mean = 4.31), activities developing students’ discipline (mean = 4.43), budget (mean = 3.82), and monitoring and evaluating result (mean = 4.28); feasibility in applying a self-discipline management model for private higher education students consisted of policies and planning (mean = 3.85), organization service (mean = 3.95), activities developing students’ discipline (mean = 4.28), budget (mean = 3.60), and monitoring and evaluating result (mean = 3.97). It could be concluded that a self-discipline management model for private higher education students the researchers created was appropriate and feasible to put it into practical use. Keywords: Private higher education, administration of strengthening self-discipline among students

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads