การพัฒนาชุดชุบเคลือบผิวโลหะด้วยไฟฟ้า สำหรับกระบวนการชุบเคลือบโรเดียม โดยใช้หลักของการยศาสตร์
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและประเมินแบบชุดชุบเคลือบผิวโลหะด้วยไฟฟ้าสำหรับกระบวนการชุบเคลือบโรเดียม โดยใช้หลักของการยศาสตร์ จำนวน 3 แบบ คือ แบบ ก แบบ ข และแบบ ค การออกแบบกระบวนการชุบด้วยไฟฟ้า สำหรับกระบวนการชุบเคลือบโรเดียม ผู้วิจัยได้ออกแบบขั้นตอนการชุบจำนวน 9 ขั้นตอน คือ 1.การล้างด้วยไฟฟ้า 2.การล้างน้ำไหลล้น 3.การกระตุ้นผิวด้วยกรด 4.การล้างด้วยน้ำกลั่น 5.การน้ำยาชุบเงิน 6.การล้างเก็บกลับน้ำยาชุบเงิน 7.การน้ำยาชุบโรเดียม 8.การล้างเก็บกลับน้ำยาชุบโรเดียม 9.การล้างน้ำไหลล้นและน้ำร้อน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผู้วิจัยได้ออกแบบชุดชุบเคลือบผิวโลหะด้วยไฟฟ้าสำหรับกระบวนการชุบเคลือบโรเดียม โดยใช้หลักของการยศาสตร์ จำนวน 3 แบบ คือ แบบ ก แบบ ข และแบบ ค โดยได้ออกแบบโครงสร้างของเครื่องชุบให้สอดคล้องตามหลักของการยศาสตร์ของชาวเอเชีย มีรูปแบบโครงสร้างเป็นรูปตัวซี (C) ขนาดความกว้าง 1.60 เมตร ความยาว 1.80 เมตร ความสูง 1.40 เมตร 2) ผู้เชี่ยวชาญประเมินแบบของชุดชุบเคลือบผิวโลหะด้วยไฟฟ้า สำหรับกระบวนการชุบเคลือบโรเดียมโดยใช้หลักของการยศาสตร์ แบบ (ค) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด อยู่ในระดับเกณฑ์ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 (SD=0.47) โดยผลการประเมินรายด้าน ดังนี้ ด้านการออกแบบโครงสร้างอยู่ในระดับเกณฑ์ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 (SD=0.46) ด้านการออกแบบการใช้งานอยู่ในระดับเกณฑ์ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 (SD=0.46) ด้านการออกแบบความปลอดภัยอยู่ในระดับเกณฑ์ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 (SD=0.38) ด้านการออกแบบการซ่อมบำรุงอยู่ในระดับเกณฑ์ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 (SD=0.58) 3) การประเมินความล้าจากการทำงาน โดยใช้แบบประเมินท่าทางของร่างกาย-RULA ผลการประเมินอยู่ที่ระดับ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.00 (SD= 0.00) หมายความว่าชุดชุบเคลือบผิวโลหะด้วยไฟฟ้าสำหรับกระบวนการชุบเคลือบโรเดียม โดยใช้หลักของการยศาสตร์ แบบ (ค) ที่ได้ออกแบบ มีระดับความล้าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่ทั้งนี้อาจมีปัญหาความล้าได้ถ้ามีการทำงานดังกล่าว ซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานคำสำคัญ: ชุดชุบเคลือบผิวโลหะด้วยไฟฟ้า, การยศาสตร์, การชุบโรเดียมAbstract The objectives of this research were to develop and evaluate the electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique and evaluated the fatigue of the worker using the electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique. The researcher designed electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique in 3 types. Including type A, type B and type C. The searcher designed the electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique in 9 processes. They were 1) Electro Cleaning, 2) Water Overflow, 3) Acid Activation, 4) DI water, 5) Silver solution 6) Drag out silver solution, 7) Rhodium solution, 8) Drag out rhodium solution, 9) Water overflow and hot water. The research found that: The researcher designed electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique in 3 types. They were type (A), type (B) and type (C). The structure of these electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique of Asia people. The structure was in C shape structure, with the dimension 1.6 (W) x 1.8 (L) x 1.4 (H) meters. The experts evaluated the electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique type (C) was the highest had the average of4.39 (SD=0.47) and had the results in each areas as followed. Structure in good level had the average of 4.33 (SD=0.46,). Operation in very good level had the average of 4.60 (SD=0.46,t=2.901,p<.05). Safety in good level had the average of 4.28 SD=0.38,t=1.767,p<.05). Maintenance in good level had the average of 4.33 (SD=0.58). 3) The evaluated on the fatigue of the worker using the electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique. The researcher used the Rapid Upper Limb Assessment to evaluated the fatigue of the worker, the fatigue of the worker in first level had the average of 2.00 (SD= 0.00), that mean using the electroplating equipment for rhodium plating by ergonomics technique had. The fatigue in acceptable level but may have some problems if the worker working for a long time. Keyword: Electroplating Equipment, Ergonomics, Electroplating for rhodiumDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2013-07-18
Issue
Section
บทความวิจัย