ความพึงพอใจในการใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลวของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลว ของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ยี่ห้อรถยนต์ส่วนบุคคล และขนาดความจุเครื่องยนต์ 2) ศึกษาปัญหาการใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ได้ติดตั้งระบบเชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลว กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยเป็นผู้ที่ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่เติมเชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 350 คน หลังจากรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมติฐาน ได้แก่การทดสอบค่า ที และการทดสอบค่าเอฟ ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (74%) อายุระหว่าง18-25 ปี (31.1%) การศึกษาระดับปริญญาตรี (43.4%) มีสถานภาพโสด (64.6%) อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน (28.6%) ระดับรายได้ต่อเดือน 10,000-15,000 บาท (29.7%) ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลยี่ห้อ ฮอนด้า ที่มีการปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลว (28.0%) มีขนาดความจุเครื่องยนต์ 1,800-2,200 cc (29.7%) 2) ระดับความพึงพอใจในการใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลวในรถยนต์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และในด้านการส่งเสริมการตลาด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยรวม สองอันดับที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ เมื่อเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลวช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก และ อุปกรณ์ในระบบเชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลวได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยตามกรมการขนส่งทางบก 3) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างทางด้านเพศมีความพึงพอใจต่อการใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลว ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัญหาการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลวโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ในกรณีเกิดการชนด้านท้ายรถที่ติดตั้งถังแก๊สปิโตรเลียมเหลวจะทำให้ถังเกิดการระเบิด ความวิตกกังวลของเจ้าของรถที่เปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลวจะทำให้เครื่องยนต์เกิดการสึกหรอสูงกว่าปกติและเครื่องยนต์ไม่มีกำลังเมื่อเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลว ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยมีดังนี้ 1) ภาครัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ประชาสำพันธ์ให้เข้าใจในข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลว 2) รัฐบาลควรมีมาตรการส่งเสริมให้ผู้ผลิตรถยนต์พัฒนารูปแบบของเครื่องยนต์ที่มีระบบการใช้เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง โดยมีการติดตั้งระบบออกมาจากโรงงานผู้ผลิตรถยนต์คำสำคัญ ความพึงพอใจ เชื้อเพลิงแก๊สปิโตรเลียมเหลว ผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งAbstract This study aimed 1) to study the satisfaction with of liquefied petroleum gas of the sedan car owners in Bangkok, Metropolitan according to gender, age, educational attainment marital status, occupation, monthly income the maker of cars, and the car cubic capacity. 2) To study problems of using Liquefied Petroleum gas - fuelled cars. The sample of this study was 350 individuals who owned Liquefied Petroleum gas -fuelled cars in Bangkok. Data were collected by using a set of questionnaires and analyzed by mean so frequency, percentages means, standard deviations and the hypotheses were tested by using t - test and F- test at significant level .05, and paired difference analysis testing was Least Significant Difference (LSD). Research findings were as follows: 1) Most of the sample was male (74%) car between 18-25 years old (31%) Bachelor‘s degree holders. Most of the samples 64.6 % were paired difference and were the business office’ employees 28.6% earned between 10-15 thousand baht a month 28.6% drive a price car “ Honda “ that was changed to use the liquid petroleum gas foe 29.7% percentage and the 1,800-2,200 cc engine. 2) The satisfaction with the use of liquefied petroleum gas in overall and each aspect were at a high level. Ordering from a high to a low level as fallows: price, product, Liquefied Petroleum gas place, and promotion. And 1) saving more money after installing the Liquefied Petroleum gas system, If considering each as pest, the two highest mean scores were and equipment in the Liquefied Petroleum gas system was admitted for the safety standard of the Department of land Transport. 3)The hypothesis testing indicated that Liquefied Petroleum gas -fuelled car users with different age, were satisfied with the use of Liquefied Petroleum gas system in car at .05 level of significance. 4) Problems of using Liquefied Petroleum gas -fuelled cars were found at a high level both in overall and each aspect. Those - in case of bumping the car which was installed Liquefied Petroleum gas tank would explodes the car owners felt worried about changing to Liquefied Petroleum gas system would make the engine erode higher than usual, and the car engine would lose power. The recommendations from the study are as follows: 1) The government sector or the involving department should give the right information of the Liquefied Petroleum gas - fuelled to the users. 2) The government should promote the car factories to produce the Liquefied Petroleum gas – fuelled system cars. Keyword: satisfaction, liquefied petroleum gas, sedan car ownersDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-07-01
Issue
Section
บทความวิจัย