การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เยาวชนพิทักษ์เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • ธนวุฒิ มากเจริญ Srinakharinwirot University
  • วันเพ็ญ ประทุมทอง Srinakharinwirot University

Keywords:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, ความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เยาวชนพิทักษ์เขื่อนขุนด่านปราการชล และ 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังก่อนและหลังเรียน 2.2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนกับเกณฑ์ที่กาหนด 2.3) เปรียบเทียบความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียน และ 2.4) เปรียบเทียบความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กาหนด โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One – Group Pretest – Posttest Design ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จานวน 36 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ t – test for dependent sample และ t – test for one sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีคุณภาพผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า 2.1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนไม่แตกต่างจากเกณฑ์ร้อยละ 60 2.3) นักเรียนมีความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2.4) นักเรียนมีความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลังเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   คำสำคัญ : ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, ความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Abstract The purposes of this study were to 1) develop learning packages on “Youth’s Khun Dan Prakarnchon Dam Protection” for upper primary students; and 2) study of results of using the learning packages as follows: 2.1) compare scientific problem-solving ability between before and after instruction , 2.2) compare scientific problem-solving ability between after instruction with the criteria, 2.3) compare environmental conservation awareness between before and after instruction, and 2.4) compare environmental conservation awareness between after instruction with the criteria. The design of this study was One – Group Pretest – Posttest Design. The samples were 36 upper primary students, who were selected by cluster random sampling. The research instruments included 1) the learning packages, 2) the scienctific problem-solving ability test, and 3) the environmental conservation awareness questionnaire. The research hypotheses were test by t – test for dependent sample and t – test for one sample. The results indicated that: 1) the quality of the the learning packages passed the assessment criteria of experts; and 2) results of using the learning packages as follows: 2.1) the students who learned through the learning packages had higher scientific problem-solving ability than before the instruction at the .01 level of significance; 2.2) the students who learned through the learning packages had no difference scientific problem-solving ability from 60 percent of the criteria; 2.3) the students who learned through the learning packages had higher environmental conservation awareness than before the instruction at the .01 level of significance; and 2.4) the students who learned through the learning packages had environmental conservation awareness at the highest level at .01 level of significance. Keywords : learning packages, scientific problem-solving ability, environmental conservation awareness 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-03