การพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี

Authors

  • อพีระศิษฐ์ ทรงอาจ
  • เด่น ชะเนติยัง

Abstract

การพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี The  Development  of  Motivation  Model  for Teacher’s  Working under the Vocational Commisstion in Prachinburi  Province อพีระศิษฐ์  ทรงอาจ, เด่น  ชะเนติยัง Apirasit Songart, Den Chanetiyoung สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น Educational Administration program, Graduate School, Western University   *Corresponding author e-mail: apirasit@gmail.com   บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี 3) เพื่อประเมินรูปแบบการสร้างแรงจูงใจตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูจากสถานอาชีวศึกษาในจังหวัดปราจีนบุรี  การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเพื่อกำหนดองค์ประกอบการวิจัย2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษาเพื่อทราบความเหมาะสมขององค์ประกอบการวิจัยด้วยกระบวนการเทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน 3) จัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวน จำนวน 7 คน เพื่อทราบความคิดเห็นและความเป็นไปได้เกี่ยวกับรูปแบบ และ4) ประเมินความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาและครูจากสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 113 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเบื้องต้นทั่วไปและค่าพิสัยควอไทล์ สำหรับความสอดคล้อง สรุปผลการวิจัย            1. องค์ประกอบรูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี ทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยแรงจูงใจ 2) ด้านบรรยากาศในองค์การ 3) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 4) ด้านความสัมพันธ์ในองค์การ และ 5) ด้านสวัสดิการ และองค์ประกอบย่อยทั้ง 25 ข้อ  2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้น  พบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูทั้ง 7 คน ต่างเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้น  องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเหมาะสมดีแล้ว  และ 3.  ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา และครูจากสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 113 คน ประเมินรูปแบบการพัฒนาการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี ทุกคนเห็นด้วยแล้วอยู่ในระดับมาก   คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ , แรงจูงใจ, การปฏิบัติงานของครู   ABSTRACT The purposes of the study were: 1) study the factors and indicators of teacher’s working model and; 2) developed of motivation model for teacher’s working under the vocational commission in prachinburi province. 3) evaluated motivation model for teacher’s working under the vocational commission in prachinburi province.  The research process consisted of four steps: 1) analyzed the documents concerning the teacher’s working model; 2) interviewed a group of 21 school professional teacher’s working experts; 3) sought the advices and feedbacks of Seven experts by group discussion technique; and 4) evaluated the opinions of 113 school administrators and teacher. The analysis of the data was accomplished by computation of percentage, mean, standard deviation. The median and interquartile range was also computed to test each of accordance postulated in the study. Based upon the findings of the study, it was concluded that the group of school professional teacher’s working experts strongly agreed with the factors and indicators of teacher’s working model. The evaluation of opinions of administrators and teacher were also at high level.   Keywords: Development Model, Motivation, Teacher’s Working

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads