การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

Authors

  • หฤทัย ปัญทีโป
  • ไพโรจน์ เบาใจ
  • พูลศรี เวศย์อุฬาร

Abstract

การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หฤทัย ปัญทีโป1, ไพโรจน์ เบาใจ1, พูลศรี เวศย์อุฬาร2 1สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ให้มีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง(3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะปฏิบัติ  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจำนวน 76 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง จำนวน 40 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) บทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เรื่อง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (4) แบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ2 ด้านคือ ด้านเนื้อหาและด้านอีเลิร์นนิงและ (5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกันผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนอีเลิร์นนิงตามสภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีประสิทธิภาพเท่ากับ81.19/82.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะปฏิบัติพบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงอยู่ในระดับมาก   คำสำคัญ: อีเลิร์นนิง, สภาพแวดล้อมทางการเรียนส่วนบุคคล,เครือข่ายสังคมออนไลน์, การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย Development of an e-Learning based on an Online Personal Learning Environment through Social Networks on Patient Transfer   Harutai Pantheepo1, Pairoj Bowjai1, PoonsriVate-U-Lan2 1Department  ofEducational Technology and Communications, Chandrakasem Rajabhat University 2Graduate School of e-Learning, Assumption University   Abstract The purposes of this research were to: (1) develop the e-Learning based on an online personal learning environment through social networks on Patient Transfer, with the efficiency criterion not less than 80/80 (2) compare the learning achievement before and after learning through the e-Learning. (3) compare scores of the patient transfer skill before and after learning through the e-Learning and (4) study nursing students’ satisfaction towards the e-Learning. The samples of this research and development were76 first-year undergraduate nursing students in Academic Year 2016, at Suan Sunandha Rajabhat University,derived by a cluster sampling method.40 students involved in a development stage and 36 students participate in a trial stage.The instruments used in this research included (1) the e-Learning based on an online personal learning environment through social networks on Patient Transfer (2) the learning achievement test (3) the patient transfer skill evaluation forms (4) the quality appraisal form for the experts in two aspects, the content and the e-Learning and (5) the nursing student’s satisfaction evaluation form towards the e-Learning. Statistical analyses were percentage, mean, standard deviation and the dependent samples t-test.The research results were revealed as (1) the e-Learning based on an online personal learning environment through social networks on Patient Transfer had the efficiency of 81.19/82.10, as the set criterion (2) when comparing the mean of score from the pretest and posttest achievement of the learning through the e-Learning, it was found that the posttest was higher than the pretest statistically significant difference at .05 (3) the comparison of scores of the patient transfer skill revealed that posttest scores were statistically significant higher than pretest scores at .05 and (4) the nursing students had the satisfaction with the e-Learning at the high level.   Keyword: e-Learning, personal learning environment, social networks, patient transfer

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads