Factors Affecting Back Pain Of Women Sitting Inbreast Feeding Posture

Authors

  • Nongnuch Klinpikul

Abstract

Factors Affecting Back Pain Of Women Sitting Inbreast Feeding Posture Nongnuch Klinpikul Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Krungthep Abstract: The benefits of breastfeeding are widely recognized and breastfeeding is being promoted worldwide.   Sitting breastfeeding babies for a prolong period of time could result in considerable back pain. This paper examines the effects of breastfeeding sitting postures, as influenced by chair design, on back pain. Specific chair design variables investigated are backrest angle, lumbar support, and armrest. The participants, 12 Thai women, were asked to sit in variousbreastfeeding postures. The chair was adjustable so that the effects of backrest angle, lumbar support thickness, and armrest height on back pain could be studied. The percentage maximum voluntary contraction (MVC) of the back pain was measured by electromyography (EMG) in 90 min with 15 minutes breaks between different measurements.Follow up interviews were also conducted after each test. Sitting postures for breastfeeding as dictated by chair design, affect on back pain considerably. Increasing backrest angle from 90 to 110 degree resulted in a decrease in MVC value about 50% while increasing the angle further resulted in an increase in MVC value. Increasing lumbar support thickness from zero (no support) to 9 cm led to a reduction in MVC value of more than two thirds. Armrest height also had a large effect on MVC value. Using the armrest height of 21 cm resulted in almost 80% reduction in MVC value compared with the value when no armrest was used.  Chair design affects back pain in women sitting in breastfeeding posture. Design variables; backrest angle, lumbar support thickness, and armrest height, all influence back pain. As back pain is important for the well-being of breastfeeding mothers, it is imperative to design chairs with proper design parameters in order to minimize back pain. Keyword: Breastfeeding, Ergonomic chair design, Back pain, Breastfeeding sitting postures ปัจจัยที่มีผลต่อการปวดหลังของหญิงในท่านั่งให้นมลูก นงค์นุช  กลิ่นพิกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ บทคัดย่อ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางถึงประโยชน์อันมากมายจึงทำให้การให้นมบุตรนั้นได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลก   การให้นมบุตรในท่านั่งอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานนั้นอาจส่งผลให้มีอาการปวดหลังตามมา  งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาผลกระทบของท่านั่งในขณะให้นมบุตรที่ส่งผลต่อการออกแบบเก้าอี้เมื่อเกิดอาการปวดหลัง  ตัวแปรของการออกแบบเก้าอี้คือ มุมองศาของพนักพิงหลัง   ความหนาพนักพิงส่วนเอว (lumbar support) และความสูงของที่ท้าวแขน   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือผู้หญิงไทยที่ผ่านการมีบุตรมาแล้ว จำนวน 12คน  โดยเริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง    เก้าอี้ที่ใช้ในการทดสอบเป็นเก้าอี้ที่สามารถเพิ่มมุมองศาของพนักพิงหลังที่  90, 100, 110 และ 120 องศา. ความหนาของพนักพิงส่วนเอว (lumbar support) 0, 3, 5, 7, 9 และ 11 ซม. และความสูงของที่ท้าวแขนตั้งแต่  15, 18, 21, และ 24 ซม. เครื่องมือที่ใช้วัดการปวดหลังนั้นคือเครื่องมือวัดการทำงานของกล้ามเนื้อ (electromyography :EMG) โดยการวัดร้อยละของการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (percentage maximum voluntary contraction :MVC) โดยใช้หน่วยเป็นไมโครโวลต์จากนั้นก็จะสัมภาษณ์หลังจากการทดสอบแต่ละครั้ง   ผลจากการวิจัยพบว่าการนั่งให้นมบุตรบนเก้าอี้นั้นมีผลต่ออาการปวดหลังมากเมื่อมีการเพิ่มมุมของมุมองศาพนักพิงหลังจาก 90 องศาถึง 110 องศาซึ่งส่งผลให้ค่า MVC นั้นลดลง 50 %แต่เมื่อมุมองศาของพนักพิงหลังเพิ่มขึ้นกลับส่งผลให้ค่า MVC นั้นเพิ่มขึ้น  ในส่วนของการเพิ่มความหนาพนักพิงส่วนเอว (lumbar support) จาก 0ซม. (ไม่มีพนักพิงส่วนเอว) ถึง9 ซม.พบว่าค่า MVC นั้นลดลงได้มากกว่าสองในสาม   ส่วนความสูงของที่ท้าวแขนนั้นมีผลต่อค่า MVC เป็นอย่างมากซึ่งพบว่าตำแหน่งความสูงจากเบาะนั่งถึงที่ท้าวแขน21ซม.นั้นทำให้มีค่า MVC ลดลงเกือบ 80 %เมื่อเทียบกับการนั่งโดยไม่มีที่ท้าวแขน   สรุปท่านั่งนั้นมีผลกระทบต่ออาการปวดหลังของหญิงที่นั่งให้นมบุตร โดยตัวแปรของการออกแบบที่สำคัญได้แก่ มุมองศาพนักพิงหลัง ความหนาพนักพิงส่วนเอวและความสูงของท้าวแขนโดยทั้งหมดนี้มีผลต่ออาการปวดหลังของแม่ในขณะให้นมบุตรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสบายและมีสุขภาพดี  ดังนั้นการออกแบบเก้าอี้ที่มีขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการปวดหลังของแม่ในขณะนั่งให้นมบุตร คำสำคัญ: การให้นมลูก, การออกแบบเก้าอี้การยศาสตร์,ปวดหลัง,ท่านั่งให้นม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads