การจัดการการสื่อความหมายของศิลปะไทยในสนามบินสุวรรณภูมิ
Keywords:
การจัดการการสื่อความหมาย / การจัดการข้อมูล / การจัดการการนำเสนอ / การจัดการประสบการณ์Abstract
A Thai Art Interpretation Management in Suvarnabhumi Airportบทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดการการสื่อความหมายของศิลปะไทยในสนามบินสุวรรณภูมิ สำหรับพื้นที่ศึกษาคืออาคารผู้โดยสารขาออกสนามบินสุวรรณภูมิโดยศึกษาการจัดการการสื่อความหมายของศิลปะไทยในสนามบินสุวรรณภูมิทั้ง 3ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการข้อมูล ด้านการจัดการการนำเสนอและด้านการจัดการประสบการณ์ สำหรับศิลปะไทยที่ศึกษามี 4 ศิลปะได้แก่ ประติมากรรมยักษ์ 12 ตน บุษบกทอง ประติมากรรมเทวตำนานกวนเกษียรสมุทร และศาลาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางมาใช้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถาม จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 410 คน การกำหนดขนาดกลุ่มจำนวนประชากรได้คำนวณจากทฤษฎีของ (Yamane, 1973) ใช้มาตรวัดแบบลิเคอร์ทโดยมีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุดไประดับความเห็นมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1. ด้านการจัดการข้อมูลความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย (= 2.26), 2. ด้านการจัดการนำเสนอความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.67) และ 3.ด้านการจัดการประสบการณ์ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.97) จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าวสะท้อนว่าการจัดการการด้านข้อมูลมีประสิทธิผลน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอีก 2 ด้านและจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้การจัดการการสื่อความหมายเกิดประสิทธิผลสูงสุด คำสำคัญ : การจัดการการสื่อความหมาย /การจัดการข้อมูล/ การจัดการการนำเสนอ /การจัดการประสบการณ์Abstract The objective of this article research was to evaluate the effectiveness of the management of interpretation of Thai art established in Suvarnabhumi Airport. The area where the research was conducted was the departure terminal of Suvarnabhumi Airport. The researcher studied the management of interpretation of Thai art in Suvarnabhumi Airport in 3 aspects: information management, presentation management, and experience management. The art studied includes 12 guardian giants, the sculpture of the churning of the ocean of milk, the golden busabok, and Thai pavilions. The sample group is the foreign passengers who use the services at Suvarnabhumi Airport. The group was obtained through specific sampling method. The research instrument was a questionnaire, with 410 respondents. Population size was determined by calculation according to the theory of (Yamane, 1973), and a Likert scale, representing opinions of the lowest to the highest levels, was also employed. The results of data analysis found that: 1. Information management, the opinions were at a low level (= 2.26), 2. Presentation management, the opinions were at a moderate level (= 2.67), and 3. Experience management, the opinions were at a moderate level (= 2.97). Regarding the data analysis results, it can be reflected that Information management is the least effective, compared with other two aspects of management, and requires improvement in order to create the most efficient management of interpretation. Keywords: Interpretation management / Information management / Presentation management / Experience managementDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-06-30
Issue
Section
บทความวิจัย