การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล และทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น

Authors

  • พีรวิชญ์ คำเจริญ
  • วีรพงษ์ พลนิกรกิจ

Keywords:

พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล, ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น, Digital Media Behavior, Digital Literacy Skills, Elementary School Students

Abstract

The Study of Digital Media Usage Behavior and Digital Literacy skills of the Elementary School Students บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น 2) ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น และ 3) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 400 คน จาก 12 โรงเรียนที่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีข้อคำถามรวม 39 ข้อ วัดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซได้เท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์หาความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง  2 กลุ่มขึ้นไปที่เป็นอิสระจากกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน มีอายุ 8 ปี  และมีประสบการณ์การใช้สื่อดิจิทัลไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยมีการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนในการเข้าถึงยูทูบเพื่อความบันเทิง เช่น ดูหนังฟังเพลง ชมมิวสิควิดีโอ ดูคลิปวิดีโอและการ์ตูน เป็นต้น ขณะที่การใช้สื่อดิจิทัลในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ส่วนใหญ่ใช้ช่วงเวลาเย็น (16.00-18.00น.) ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ส่วนใหญ่ใช้ช่วงเวลาสาย (09.01-12.00น.) มีการใช้สื่อดิจิทัลจำนวน 2-3ชั่วโมงต่อวัน และกำกับการใช้งานด้วยพ่อแม่หรือผู้ปกครอง 2) ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น พบว่า ภาพรวมทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายทักษะ (1) ทักษะการเข้าถึง อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.88,S.D.=1.51 )(2) ทักษะการวิเคราะห์ อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.91,S.D.=1.35 )(3) ทักษะการประเมิน อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.88,S.D.=1.40 ) (4) ทักษะการสร้างสรรค์ อยู่ในระดับน้อย ( =2.16,S.D.=1.57 ) (5) ทักษะการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง (=2.91,S.D.=1.35) (6) ทักษะการสะท้อนคิด อยู่ในระดับปานกลาง (=2.75,S.D.=1.38)  และ (7) ทักษะการปฎิบัติ อยู่ในระดับน้อย (=2.27,S.D.=1.54)นักเรียนเพศชายและเพศหญิงมีทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลไม่แตกต่างกันในทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการเข้าถึง ทักษะการสะท้อนคิด ทักษะการปฎิบัติ และทักษะการสร้างสรรค์  ในขณะที่นักเรียนเพศชายและเพศหญิงมีทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลด้านทักษะการประเมินและทักษะการสื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีอายุต่างกันมีทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลทุกทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาความแตกต่างของทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลรายคู่อายุแล้ว พบว่า นักเรียนที่มีอายุสูงกว่า มีค่าเฉลี่ยทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลทุกด้านสูงกว่านักเรียนที่มีอายุน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล / ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล / นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น Abstract The research was objected to study the digital media usage and the digital literacy of the elementary school students. It was a quantitative research with 400 samplings of 12 elementary school students  in Nakhon Ratchasima province. The tool was a questionnaire, consisted of 39 question items  with the coefficient alpha of Cronbach Alpha at 0.80. The data was analyzed with the descriptive analysis; the frequency, the percentage, Mean, Standard Deviation, t-test and F-test. The results revealed that   1) The amount of samplings were male and female in a nearly equal proportion with the age of 8 years old. They had minimum 3 years of digital media usage. They mostly used smart phone accessing Youtube with the entertainment  purposes ; watching movies, listening to the music, watching music video and cartoons.  On Monday-Friday, they used digital media during 4.00-6.00 p.m. and during 09.01-12.000 a.m. on weekends. Moreover, they used digital media 2-3 hours per day with mostly under control of their parents  or  their guardians. 2) The digital literacy skill of them was at the low level-the moderate level as the following  (1)  the access  skill was  at the moderate level ( =2.88,S.D.=1.51 ) (2) the analysis skill was at the moderate level ( =2.91,S.D.=1.35 )( 3) the evaluation skill was at the moderate level ( =2.88,S.D.=1.40 )  (4) the creative skill was at the low level ( =2.16,S.D.=1.57) (5) the communication skill was at the moderate level (=2.91,S.D.=1.35) (6) the reflect skill was at the moderate level (=2.75,S.D.=1.38) and (7) the taking action skill was at the low level (=2.27,S.D.=1.54) and 3)  Male and female  students  had no differences in digital literacy skills ; analysis skill , access  skill, reflect skill, taking action skill and creative skill. However, male and female  students had significant differences in digital literacy skills ; the evaluation skill and the communication skills  at the statistic of 0.5.  In addition, the students, who had differences in ages, had significantly differences in digital literacy skills at the statistic of 0.01. Moreover, the older  students  had significantly more average mean of digital media literacy than the younger students in every aspects at the statistic of  .05. Keywords: Digital Media Behavior / Digital Literacy Skills /  Elementary School Students

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-29