https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/issue/feedวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The Journal of Social Communication Innovation)2021-12-30T17:10:51+00:00นางสาวณัฏฐนันท์ สุวงศ์ษาcoscijournal@gmail.comOpen Journal Systemshttps://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14084Netflix กับผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์2021-12-30T17:10:51+00:00เกรียงไกร พัฒนกุลโกเมธkraiengkai.p@rmutp.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p><p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดขึ้นและการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ Netflix ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่ดีถึงผลกระทบของสิ่งที่เรียกว่า Disruptive Technology ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับโลก ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบใหม่ ๆ<strong> </strong>รวมไปถึงผลกระทบของการแพร่กระจาย และการตัดสินใจเลือกนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งถ้าหากตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วพอ ก็จะเป็นตัวช่วยพัฒนาองค์กรธุรกิจ ให้ก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง</p> <p>ในกรณีของ Netflix การตัดสินใจทิ้งเทคโนโลยีดั้งเดิม คือการนำเสนอเนื้อหาและบริการในรูปแบบม้วน VHS รวมถึงแผ่น DVD และก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า คือระบบวิดีโอสตรีมมิ่ง (Video Streaming) นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะเทคโนโลยีที่ Netflix เลือก และนำมาใช้เพื่อให้บริการลูกค้า ได้ส่งผลให้องค์กรพัฒนาแบบก้าวกระโดด จากแต่เดิมที่เป็นเพียงธุรกิจให้บริการเช่าภาพยนตร์รายย่อยในสหรัฐอเมริกา กลายมาเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการเนื้อหา (Content) ผ่านระบบวิดีโอสตรีมมิ่งในปัจจุบัน</p><p><strong>Abstract </strong></p> <p>This article aims to study the emergence and leap development of Netflix, which is a good case to study the impact of disruptive technology on the global film industry, which can demonstrate the influence of innovation and new technologies, including the impact of diffusion and decision to adopt innovation or technology. The correct and fast decision will help organisation to develop the business to move forward steadily.</p> In the case of Netflix, the decision to eliminate the legacy technology, which deliver content and services on VHS rolls, including DVD discs and step into video streaming, newer technologies, is the right decision. The new technology that Netflix chooses and uses to serve the customers has resulted in a leap development of business from a small video rental store in the United States to become one of the leader in content services through video streaming today2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14095การสอนศิลปะปฏิบัติด้านกราฟิกดีไซน์ผ่านระบบออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-192021-12-30T17:10:51+00:00ณัชชา เจริญชนะกิจnutcha-7410@hotmail.comขนบพร แสงวณิชnutcha-7410@hotmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p><strong> </strong>สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีผลกระทบทำให้สถาบันการศึกษาต้องปรับกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันจึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบด้วยการใช้ระบบออนไลน์ แทนการเรียนรู้ในห้องเรียน บทความนี้จึงเป็นการนำเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนศิลปะปฏิบัติด้านกราฟิกดีไซน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยนำเสนอปัจจัยสำคัญสำหรับการสอนทักษะปฏิบัติวิธีการและกระบวนการที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะของผู้เรียนด้านกราฟิกดีไซน์ผ่านระบบออนไลน์ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และนำเสนอกรณีศึกษาการออกแบบหลักสูตรระยะสั้นด้านกราฟิกดีไซน์ในรูปแบบออนไลน์</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong> </strong>The Situation of the COVID-19 pandemic causing an impact on the education sector originating the need to adjust the teaching and learning process to be in line with the Social Distancing measures. the current teaching and learning method changed from typical onsite learning to Online Learning. Thus, this paper is focused on presenting a method for teaching art production on the content of graphic design at the high school level. When incorporating such content into online learning. To review the factors, methods, and processes that should be taken into account when designing the curriculum in response to the crisis. To help support the teaching process for developing the learner’s skill of graphic design through an online learning system in line with the characteristics of the learner’s new normal lifestyle after the COVID-19 pandemic and presenting case studies in designing a short course, graphic design through online learning management.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14082กองบรรณาธิการ2021-12-30T17:10:51+00:00วารสารวิชาการ นวัตกรรมสื่อสารสังคมcoscijournal@gmail.comกองบรรณาธิการวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14083เจเนอเรชั่นกับความคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้สื่อในยุคดิจิทัล2021-12-30T17:10:51+00:00ศศิธร ยุวโกศลsasithon.y@gmail.comพัชสิรี ชมภูคำsasithon.y@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p><p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อ จุดประสงค์การใช้สื่อช่องทางต่างๆ รวมถึงความต้องการใช้สื่อในด้านการทำงาน หรือการเรียนของกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ เจเนอเรชั่นวาย และเจเนอเรชั่นซี ระเบียบวิธีวิจัยคือ การวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทั้งสิ้น 454 คน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่าสื่ออื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุ ส่วน Line และ Facebook คือสื่อสังคมออนไลน์ที่ทั้งสามเจอเนอเรชั่นใช้เป็นอันดับต้น</p> <p>ด้านการเลือกใช้สื่อต่างๆ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ต่างๆ พบความแตกต่างระหว่างเจเนอเรขั่นกับการเลือกใช้สื่อเพื่อสนองวัตถุประสงค์ ทั้งด้านแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้านการแสดงตัวตน ด้านความบันเทิง และด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับคนอื่น</p> <p>ส่วนความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของสื่อในการใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าการโทรศัพท์ผ่านแอปพลิเคชั่นเป็นสื่อที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับคนที่คุ้นเคยและยังมีติดต่อสื่อสารกันอยู่ แต่หากเป็นคนรู้จักที่ไม่ค่อยได้ติดต่อกันผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าสื่อสังคมออนไลน์ประเภทข้อความ โพสต์รูปภาพ หรือวิดีโอ มีความเหมาะสม ส่วนการสื่อสารติดต่อกับคนทั่วไปในชีวิตประจำวันผู้ใช้กลับเลือกการสื่อสารแบบเจอหน้าและการโทรศัพท์ผ่านแอปพลิเคชั่น</p> <p>การสื่อสารแบบเจอหน้ายังคงเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทั้งสามเจเนอเรชั่นอยากใช้ในการสื่อสารกับครู/อาจารย์ รวมถึงเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนเรียนด้วยกันมากกว่าช่องทางอื่นๆ แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพบว่าคนรุ่นใหม่อย่างเจเนอเรชั่นซีที่เกิดมาพร้อมกับสื่อออนไลน์กลับอยากใช้การสื่อสารแบบเจอหน้ากับเพื่อนร่วมงาน หรือการสื่อสารกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันสูงกว่าเจเนอเรชั่นวาย และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์</p><p><strong>Abstract</strong><strong></strong></p> <pre>The research aims to study and compare the media usage and purposes of using various media channels among users, including Generation X, Generation Y, and Generation Z. The research also looks at the opinions on the use of media in work or studies. The data were collected by conducting a survey of 454 media users in Bangkok and outskirt.</pre><pre>Results reveal that respondents use social media more than other types of media, especially print and radio. In addition, Line and Facebook are the top social media networks that all three generations use. </pre> <p>Regarding the seeking of media to satisfy purposes, there are also differences between generations and media use in response to the purposes, including information seeking, identification, entertainment, and social interaction.</p><p>In term of the appropriate media for doing various communication activities, major respondents agree the phone call is suitable if it is an activity to maintain relationships with familiar people who are still in contact. On the other hand, respondents consider social media such as posts, pictures, or videos for communicating with others who are rarely in contact. As for communicating with people in everyday life, users choose face-to-face communication or phone calls through applications to contact with them.</p> <p>It can be concluded that face-to-face communication is still a form of communication that all three generations agree that it is appropriate to communicate with teachers / professors and colleagues/ friends at work place, school or university than other channels. Even though a young generation like Generation Z was born with online media, they would like to use face-to-face communication with colleagues or with school friends than Generation Y and Generation X.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14085การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายแฟชั่นสุภาพบุรุษจากทุนวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นไทลื้อ2021-12-30T17:10:51+00:00พัดชา อุทิศวรรณกุลpatcha.paris@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p>จังหวัดน่านเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งถือเป็นเมืองต้องห้ามพลาดเนื่องจากเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ทั้งด้านธรรมชาติและด้านวัฒนธรรมรวมทั้งกระแสนิยมที่กำลังให้ความสนใจกับจังหวัดน่านทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มีแนวคิดการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ขณะเดียวกันสิ่งทอจังหวัดน่านก็เป็นที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีหลากหลายชาติพันธุ์และวัฒนธรรม จึงเกิดการสืบสานวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย แต่ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการเกี่ยวกับสิ่งทอในจังหวัดน่านยังขาดแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน</p> <p>บทความนี้เป็นบทความวิจัยซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาตราสินค้าให้กับร้านมีสเอ โปรดักส์ อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งมีการสืบทอดวัฒนธรรมไทลื้อมาอย่างอย่างนาน รวมทั้งมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผสมผสานทุนวัฒนธรรมไทลื้อ แต่ต้องการความแปลกใหม่ด้านผลิตภัณฑ์จึงเกิดแนวคิดการพัฒนาสำหรับเครื่องแต่งกายแฟชั่นสุภาพบุรุษเพื่อให้ตอบสนองต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักในปัจจุบัน โดยบทความวิจัยนี้นำเสนอเกี่ยวกับการศึกษาข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการ การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบ การศึกษาและวิเคราะห์ช่องว่างทางการตลาด รวมทั้งนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายแฟชั่นสุภาพบุรุษและจัดตั้งกลุ่มคลัสเตอร์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ อำเภอปัว จังหวัดน่าน</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>Nan province is in the northern region of Thailand. The province is listed as “the city not to be missed” because of it’s abundant natural and cultural resources. Its increasing popularity has led to a major development of creative tourism that combines cultural learning with travel. The textile cultural capital in Nan province is very interesting because its borders encompass various ethnic groups and cultures. This has led to a diverse cultural heritage. According to the research, textile entrepreneurs in Nan province still lack development in sustainable creative tourism, which will increase the local community’s income significantly.</p> <p>This research article provides the development guideline for a local textile entrepreneur, Miss A Products, which located in Pua district, Nan province. The Local textile entrepreneur has inherited the Tailue culture for a long time. The development of the products also includes its valuable cultural heritage. However, the local textile entrepreneurs have noticed the potential market for men's fashion products that can meet the current needs of major tourists. This research article introduces data analysis of the research including consumer needs, local textile entrepreneur needs, design concept, market gap study, the guideline of menswear fashion product development, and textile cluster establishment to increase income for local community in Pua district, Nan province.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14086การพัฒนาภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว สำหรับฝึกท่ามวยไทยพื้นฐาน2021-12-30T17:10:51+00:00เบญนภา พัฒนาพิภัทรbennapac@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p>ในปัจจุบันเกม และแอนิเมชัน 3 มิติ กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก<strong> </strong>ทั้งในแง่การส่งเสริมความบันเทิง งานโฆษณา งานด้านการศึกษา เป็นต้น ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มามีส่วนช่วยส่งเสริมให้งานด้านภาพ 3 มิติ มีความสมจริง สวยงาม และลดระยะเวลา รวมถึงต้นทุนในการผลิตมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Capture) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของนักแสดง และแปรค่าการเคลื่อนไหวของนักแสดงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ตัวละคร 3 มิติที่สร้างขึ้น สามารถแสดงท่าทางได้อย่างสมจริง สวยงาม เทคโนโลยีจึงถูกมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว 3 มิติมากขึ้น</p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกท่ามวยไทยขั้นพื้นฐานด้วยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับ<br /> การเคลื่อนไหว (Motion Capture) ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ยอดนิยมของประเทศไทย และปัจจุบันบุคคลทั่วไปก็หันมาออกกำลังกายด้วยการฝึกมวยไทยกันมากขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจในกีฬามวยไทย หรือผู้ที่สนใจการออกกำลังกายด้วยมวยไทย สามารถฝึกฝนท่ามวยไทยได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ด้วยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Capture) ยังสามารถนำไปพัฒนาให้เป็นเกมการต่อสู้โดยใช้มวยไทยได้อีกด้วย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการฝึกท่ามวยไทยพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง <br /> มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.86 คะแนน เต็ม 24 คะแนน และเมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะพบว่า คะแนนเฉลี่ยของชุดท่าเตะ มีคะแนนมากที่สุด และชุดท่าถีบมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดเนื่องจากเป็นท่าที่มีความซับซ้อน และต้องฝึกฝนเป็นประจำ</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>Currently, 3D games and animation are gaining immense popularity in terms of entertainment promotion, advertising, education, and etc., resulting in the development of technology that contributes to the realism and beauty of 3D graphics as well as reducing the production time and costs, such as Motion Capture technology, a technique used to detect the motion of actors and convert it into a computer system. The created 3-dimensional characters have the realistic and beautiful gestures. Therefore, technology is increasingly used to create 3D animations.</p> <p>This study aimed to develop a set of basic Thai boxing practice using Motion Capture technology, which is a popular martial arts in Thailand and at present, people have turned to exercise by practicing Thai boxing increasingly. In order to allow those who interested in Thai boxing sport were able to practice self-exercise, including the 3D animation data based on Motion Capture technology can also develop into a fighting game using Thai boxing as well.</p> <p>The results found that the sample were able to correctly practice the basic Thai boxing with the average practice scores of 21.86 from the full score of 24. When considering by each skill, it was found that the highest average scores was the kicking set and the lowest average score was the shoving set because of it was a complex training and required the regular practice.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14087การสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว2021-12-30T17:10:51+00:00ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะchatchada@g.swu.ac.thกฤชณัท แสนทวีchatchada@g.swu.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p><strong> </strong>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว 2) ความคิดเห็นต่อการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว 3) อิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารการท่องเที่ยวต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว โดยการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จากนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีเทสต์ การทดความความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ สถานภาพสมรส และมีพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว โดยรวม แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างที่เคยและไม่เคยเดินทางไปจังหวัดสระแก้ว ไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง กลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการใช้เครื่องมือการสื่อสาร แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>นอกจากนี้ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณอิทธิพลของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต่อภาพลักษณ์ แบบจำลองที่ดีที่สุด ประกอบด้วย 1) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สามารถส่งเสริมให้ผู้ท่องเที่ยวและเจ้าของบ้านมีความผูกพันระหว่างกันได้ 2) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สามารถสร้างการจดจำ ความประทับใจประทับใจ และสร้างความเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวได้ 3) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน/ส่งผ่าน-ส่งต่อประสบการณ์ของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ได้ร้อยละ 58 (Adjusted R Square = 0.58) ส่วนแบบจำลองอิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารต่อภาพลักษณ์ ได้ดีที่สุด ประกอบด้วย 1) ควรใช้การบอกต่อกันของนักท่องเที่ยว เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว 2) ควรใช้ สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว 3) ควรใช้การส่งเสริมการตลาด เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว ได้ร้อยละ 24 (Adjusted R Square = 0.24)</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>This quantitative research was to study 1) the communication of community in the creative tourism, 2) the communication of image in the creative tourism, and 3) the influences of community communication tools on the creative tourism image, of Sa Kaeo province. The questionnaires were distributed among 400 tourists and local people and tourist in Sa Kaeo province by means of accidental sampling method. Statistics, average, percentage, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and multiple regression analysis, were applied to analyze data. The results revealed that the samples with different in sex, age, marital status, and domestic traveling habits, would have overall different opinions of the community base in promoting a creative tourism of Sa Kaeo province with a statistical significance at the 95% level (p<0.05), whereas samples who had been and never been to Sa Kaeo province had no different opinions. Samples with different viewpoints of the community identity would also have different viewpoints of the creative tourism image and the use of community base communication tools with a statistical significance at the 95% level (p<0.05).</p> <p>In addition to the multiple regression analysis for influences of community base in promoting a creative tourism, the best model consisted of the Sa Kaeo tourism 1) can encourage the relationship between tourists and local people, 2) can promote memories, impressions, and understandings to tourists, 3) can generate the information exchange between tourists and local people. The adjusted R square for this model was 0.58 (58%). The influence model of the best communication tools included the use of 1) tourist's word of mouth, 2) social media, and 3) marketing campaign, as means of the community communication to promote the creative tourism of Sa Kaeo province. The adjusted R square was 0.24 (24%).</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14088การศึกษาการออกแบบภาพลักษณ์ตัวละครกระสือใหม่ในภาพยนตร์ “แสงกระสือ INHUMAN KISS”2021-12-30T17:10:51+00:00ศิโยน สุวรรณสะอาดpuriku.suwansaard@gmail.comอรัญ วานิชกรpuriku.suwansaard@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p><p>การศึกษาการออกแบบภาพลักษณ์ตัวละครกระสือใหม่ในภาพยนตร์ “แสงกระสือ Inhuman Kiss” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวประวัติความเป็นมาและลักษณะของตัวละครกระสือเดิม ศึกษากระบวนทัศน์และการออกแบบอัตลักษณ์ตัวละครกระสือใหม่ให้ร่วมสมัยมีบริบทเป็นสากล โดยมีกระบวนการศึกษา 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย การศึกษาองค์ความรู้ภาคเอกสาร การประชุมทีมผู้กำกับและผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนออกแบบภาพร่างตัวละคร 2 มิติ การสร้างตัวละคร 3 มิติและออกแบบการเคลื่อนไหว การจัดองค์ประกอบศิลป์ และการนำตัวละครกระสือที่ได้จากการสังเคราะห์และออกแบบใหม่ไปใช้ในภาพยนต์แสงกระสือผสานเทคนิคพิเศษ 3 มิติขั้นสูงเพื่อสร้างตัวละคร 3 มิติที่มีใบหน้าเสมือนนักแสดงจริง (Hyper-Realistic 3D Visual effects) ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์กระสือเดิมของไทยมีลักษณะการออกแบบตัวละครกระสือเน้นอวัยวะภายในมนุษย์จริง ซึ่งประกอบด้วย ศีรษะ ลำคอ หลอดลม ปอด ลำไส้ หัวใจ ตับ ไต ในด้านการออกแบบตัวละครกระสือผู้วิจัยออกแบบในมุมมองที่ต่างออกไปโดยนิยามและสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ให้กระสือเป็น “มนุษย์ติดเชื้อกลายพันธุ์” และออกแบบสรีระกระสือใหม่โดยผสานแนวคิดการออกแบบตัวละครตามหลักสรีรวิทยา (Physiology) โดยลดทอนอวัยวะบางส่วนออกไป ประกอบด้วยส่วนศีรษะมีลักษณะเด่น ริมฝีปากม่วง ใบหน้าขาวเทาซีด มีเส้นเลือดเปล่งแสงออกมาบริเวณใบหน้าและลำคอ ส่วนรยางค์ซึ่งประกอบด้วยหัวใจที่เปล่งแสงและดับวูบเป็นจังหวะตามขนบเดิม และลำไส้ที่ระโยงระยางจากกระเปาะที่หุ้มหัวใจซึ่งมีการล่องลอยอย่างอิสระโดยอ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของแมงกะพรุนทะเล นอกจากนี้ลำไส้ของกระสือที่ผ่านการออกแบบใหม่ยังเป็นเสมือนสื่อกลางแสดงความรู้สึก ความรัก อาลัย ห่วงหา และสามารถใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวได้อีกด้วย โดยตัวละครกระสือที่ได้สังเคราะห์ขึ้นใหม่นี้ถูกนำไปใช้สร้างภาพยนต์เรื่อง “แสงกระสือ” (Inhuman Kiss) ในปี พ.ศ. 2562 ภาพยนต์เรื่องนี้ ได้รับรางวัลรางวัลเทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects) ในงานสุพรรณหงส์ครั้งที่ 29 และได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 92 ในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film Award)</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>The study of new image design concept of character Krasue for making the movie “Inhuman Kiss” aims to: Study and analyze the story, history, and characteristics of the original Krasue characters. Study the paradigm and design a new character identity. To give the contemporary a global context with a 6-step educational process Consisted of the study of the body of knowledge in the documented sector; management team meeting supervisors and experts body image design process 2D drama, 3D character creation, and motion design. Artistic composition and lead character Synthesis and redesigned Krause for use in movies Combine advanced 3D special effects to create 3D characters with Hyper-Realistic 3D Visual effects The original Thai Krasue has a character design that emphasizes the internal organs of a real human being. Which consists of the head, neck the trachea, lungs, intestines, heart, liver, and kidneys design a play in a different perspective by definition and building. A new paradigm for Krasue to be “Mutant Infected Humans” and redesigned the body by combining the concept of Physiological character design by reducing some organs consists of ahead Distinguishing Characteristics: purple lips, pale gray face there were glowing veins on the face and neck. The rubber part which it consists of a heart that glows and fades in a traditional rhythm. And the intestines that are skeletal from the bulbous covering the heart, which Floating freely based on the movement of marine jellyfish. In addition, the newly redesigned intestine of the stingray acts as a medium for expressing feelings, love, mourning, and concern, and can be used in self-defense battles. Also, the newly synthesized Krasue character was used to make the movie Inhuman Kiss In the year 2019, this movie received the award for Best Visual Effects in the event. The 29th Suphannahong and was selected as a nominee for the 92nd Academy Awards in the film category. Best Foreign Language Film Award</p><p> </p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14093แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง2021-12-30T17:10:51+00:00กนกพร สัตยาไชยkrataa.kt@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p><strong> </strong>การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสบการณ์มากกว่าปริมาณกิจกรรม เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่นและท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนา</p> <p>การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าจำเป็นต้องสร้างอัตลักษณ์ให้กับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ การสร้างตราสัญลักษณ์จึงถือเป็นกระบวนการสำคัญและควรที่จะศึกษา งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อหาแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหาอัตลักษณ์ของจังหวัดตรัง</p> <p>2) เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง วิธีวิจัยประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 9 ท่านแบ่งเป็น 3 ท่านต่อแบบสอบถาม 1 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามที่ 1 การท่องเที่ยวแนวเนิบช้า แบบสอบถามที่ 2 อัตลักษณ์จังหวัดตรัง และแบบสอบถามที่ 3 ลักษณะของการท่องเที่ยวแนวเนิบช้าและอัตลักษณ์จังหวัดตรัง ซึ่งในแบบสอบถามมีการใช้ตราสัญลักษณ์ที่มีแนวปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practices) ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดตรังมีอัตลักษณ์โดดเด่นทั้งหมด 12 อัตลักษณ์ ได้แก่ ถ้ำมรกต รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ หอนาฬิกาเมือง หมูย่างเมืองตรัง ขนมเค้กเมืองตรัง ผ้าทอนาหมื่นศรี ยางพาราต้นแรก สถานีรถไฟกันตัง ประเพณีแลลูกลม ผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโร พะยูน และวัฒนธรรมการรับประทานอาหารเช้า 2) แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง ประกอบไปด้วยผลจากการวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์ทางเรขศิลป์ 5 เกณฑ์ ดังนี้ คือ 1) ชนิดของตราสัญลักษณ์ควรเป็นแบบ pictorial name mark 2) ประเภทของสัญญะควรเป็นแบบ icon 3)แนวโน้มของตราสัญลักษณ์ (Logo trend) ควรเป็นแบบ nature-inspired 4) ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt) ที่ควรใช้ คือ มีความสมมาตรแบบ reflective มี figure ground แบบ stable และมีการใช้หลักของ proximity ร่วมด้วย และ 5) องค์ประกอบพื้นฐานทางการออกแบบอื่นๆ เช่น เส้นแบบโค้ง ชุดสีแบบเอกรงค์ รูปร่างเรขาคณิต และอักษรแบบไม่มีเชิง โดยคำตอบที่ได้นี้จะเป็นแนวทางในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งจะสามารถช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าในจังหวัดตรังให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวได้ และหวังว่าแนวทางนี้จะเป็นองค์ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ นำไปใช้ในการริเริ่มการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวแนวเนิบช้าที่อื่นๆได้ในอนาคตอีกด้วย</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>Slow tourism is the alternative tourism in Thailand, which is eco-friendly, locally-connected and aims to create more experiences in each place than visiting various places with ‘slow down’ concept. To develop slow tourism in Thailand, logo design is the important process that needs to explore more in a design guideline. This research aims at contributing to knowledge in logo design for slow tourism, employing ‘Trang province’ as a case study. The objectives are: 1) To search for identities of Trang province. 2) To develop <br /> a guideline of logo design for slow tourism: a case study of Trang province. Research methods include literature review, 3 questionnaires with nine experts. The research outcomes are: 1) Trang province found 12 identities represent Trang culture and nature include emerald cave, frog head Tuk Tuk, Trang clock tower, Trang grilled pork, Trang cake, Na Muen Sri Handicraft Textile, Thailand’s First Rubber Tree, Old train station, Look-Lom festival, Trang aromatic wood carving, Dugong and Trang traditional breakfast 2) Guideline of logo design for slow tourism: a case study of Trang province consists of five components: type of logo: pictorial name mark , category of sign: icon, logo trend: nature-inspired, Gestalt principles : proximity, reflective symmetry and stable figure ground and other design principles include curve line, monochrome color, geometric shape, san serif font. The research knowledge can be used as a logo design direction to help Trang province to promote their slow tourism and could be useful initiatives for other slow tourism spots to develop their own design.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14094การออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับแหวนมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทย2021-12-30T17:10:51+00:00นราบดินทร์ ศิริวารินทร์yokwonbin@gmail.comนพดล อินทร์จันทร์yokwonbin@gmail.comรินบุญ นุชน้อมบุญyokwonbin@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับแหวนมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทย และเพื่อออกแบบแผนธุรกิจเครื่องประดับมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทย ภายใต้ทิศทางการตลาดความเชื่อที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยการออกแบบเครื่องประดับจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (CAD) และการวิเคราะห์แผนธุรกิจแบบ Business model canvas โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน คือ ด้านเลขศาสตร์ไทย ด้านผู้ประกอบการเครื่องประดับ และผู้บริโภคหญิง นำมาพัฒนาต้นแบบและจัดทำแผนธุรกิจ จากผลวิจัยพบว่า เครื่องประดับแหวนมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทยได้รับความนิยม ถึงร้อยละ 90.47 ผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบแหวนมงคลโดยผ่านการประเมินจากผู้บริโภค พบว่าแหวนได้รับความนิยมสูงสุดแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านความสำเร็จแหวนมงคลแบบที่ 3 (พลังเลข 9) ด้านการงาน แหวนมงคลแบบที่ 3 (พลังเลข 14) ด้านการเงินแหวนมงคลแบบที่ 3 (พลังเลข 56) และด้านความรักเป็นแหวนมงคลแบบที่2 (พลังเลข 36) พบว่าทางด้านราคาแหวนทองคำ 9K ราคาเฉลี่ยควรอยู่ระหว่าง 11,100 – 18,000 บาท และแหวนเงิน ราคาเฉลี่ยควรอยู่ระหว่าง 1,490 – 1,890 บาท พบว่ากลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภคของตลาดคือกลุ่มอายุ 29-40 ปี โดยทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ และกลุ่มอายุ 46-50 ปี โดยทำการตลาดผ่านการขายแบบสั่งผลิตตามความต้องการ พบว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการกำหนดธุรกิจด้านเครื่องประดับแหวนมงคล คือ กลยุทธ์การตลาดทางธุรกิจ กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์หรือด้านสินค้าที่ยอดเยี่ยม และกลยุทธ์ด้านราคาหรือด้านราคาที่เหมาะสม ตามลำดับ</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong> </strong>This research study aims to design and develop auspicious ring jewelry based on Thai numerology and to design a business plan for auspicious jewelry and based on Thai numerology using research and development processes. Under the direction of “Faith marketing” is growing continuously both in the country and abroad with jewelry computer aided design (CAD) and business model canvas analysis.<sup> </sup>By in-depth interviews with experts in three areas: Thai numerology, jewelry entrepreneurs and female consumers used to develop prototypes and prepare business plans. The results of the research found that auspicious ring jewelry according to Thai numerology has gained 90.47 percent of popularity. The researcher developed a prototype of an auspicious ring through consumer evaluation. It was found that the ring was the most popular in each aspect as follows: success is auspicious ring type 3 (power 9), work is auspicious ring type 3 (power 14), financial is auspicious ring type 3 (power 56), and on the side of love, it is auspicious ring type 2 (power 36). Found that in the price of 9K gold rings, the average price should be between 11,100 - 18,000 Baht and the average price of a silver ring should be between 1,490 - 1,890 Baht. It was found that the target audience of the market's consumers is 29-40 years old by marketing through online channels and the age group 46-50 years by marketing through the sales of made-to-order. It was found that the strategy used in determining the business of auspicious ring jewelry is a business marketing strategy, excellent product or merchandise strategy and price strategy or appropriate pricing, respectively.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14096การเพิ่มขีดความสามารถ การจัดการการตลาดดิจิทัล การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนพื้นที่ภาคตะวันตก2021-12-30T17:10:51+00:00ณฐาพัชร์ วรพงศ์dr.thiwat@gmail.comรุ่งทิวา ชูทองdr.thiwat@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p>การวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาจุดแข็งจุดอ่อนและช่องว่างและเรียนรู้จากสิ่งที่ระบบการตลาดดิจิทัลทำงานได้ดีและวิเคราะห์แพลตฟอร์มและเครื่องมือเพื่อสร้างขีดความสามารถของแต่ละบุคคลและองค์กรในการปรับปรุงการออกแบบการใช้งานและการประเมินการจัดการการตลาดดิจิทัล ในจังหวัดเพชรบุรีราชบุรีสมุทรสาครสมุทรสงคราม การวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีผสมโดยวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิธีการสุ่มตัวอย่างสำหรับเชิงปริมาณคือการสุ่มอย่างง่ายประมาณ 331 ตัวอย่างและวิธีการเชิงคุณภาพจำนวน 120 ตัวอย่างในการรวบรวมข้อมูลในการศึกษาคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ค่าทางสถิติจะถูกประมวลผลสำหรับสถิติเชิงพรรณนา: ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ Facebook Fanpage สามารถสร้างการรับรู้เพิ่มการใช้งานโซเชียลมีเดียความสวยงามและความน่าสนใจของสื่อเนื้อหาเว็บไซต์ที่ดีการใช้ QR code บนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างการรับรู้ตามลำดับ ผู้ตอบเห็นด้วยกับเนื้อหาของการสร้างเพจการรับรู้เหมาะกับแนวทาง</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>The research objectives were to identify problems, strengths, weaknesses, and gaps and learn from what is digital marketing system working well and analyze the platforms and tools to build the capacity of individual and organizations to improve the design, implementation and evaluation of digital marketing management in Phetchaburi, Ratchaburi, Samut Sakhon, Samut Songkhram province. This research was the mixed method by quantitative and qualitative methodology. Sampling method for quantitative is simple random sampling about 331 samples and qualitative method is about 120. Tool for gathering data in the study is questionnaire and in-depth interview. The statistical values will be processed for descriptive statistic: frequency, percentage, mean, standard deviation.</p> <p>The results showed that capacity building on using Facebook Fanpage can build awareness, increase usage of social media, beauty, and attractiveness of media, good website content, using QR code on the product label to build awareness respectively. The respondents were agree with the content of the page creation, perception, suitable for approach.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14097แรงบันดาลใจจากจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน สู่นวัตกรรมเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยว2021-12-30T17:10:51+00:00สุชาติ อิ่มสำราญsuchart_imsamraan@hotmail.comโสมฉาย บุญญานันต์suchart_imsamraan@hotmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p><strong> </strong>ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่านเป็นงานศิลป์ที่ทรงคุณค่า นอกจากจะมีอายุที่ยาวนานแล้ว ภาพจิตรกรรมยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจควรค่าแก่การศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงเพื่อ (1) ศึกษาเนื้อเรื่องและสิ่งที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน (2) พัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็น กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่จังหวัดน่าน นักท่องเที่ยว ผู้สนใจในเนื้อเรื่องที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ และคนในพื้นที่จังหวัดน่าน ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ เริ่มต้นจากผนังด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้และทิศตะวันตกบางส่วนจะเป็นเรื่อง “คัทธนกุมารชาดก” ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาเนื่องจากเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น ส่วนภาพจิตรกรรมมีการจัดองค์ประกอบไม่เรียงตามลำดับตอน แต่จะจัดแบบวกวนไปมา คำนึงเพียงให้ภาพองค์ประกอบรวมของจิตรกรรมดูสวยงามเมื่ออยู่บนผนัง ซึ่งบางตอนอาจไปอยู่ผนังอีกด้านหนึ่ง (2) นวัตกรรมประกอบด้วยงานศิลปะสื่อผสม ขนาด 1.5 x 2 เมตร ที่เล่าเรื่องคัทธนกุมารชาดก และหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “คัทธนกุมารชาดก” โดยใช้ภาพประกอบจากงานศิลปะสื่อผสมดังกล่าว (3) ผลการเผยแพร่นวัตกรรม ปรากฏว่าผู้ชมสนใจงานศิลปะสื่อผสมเป็นอันดับแรกเนื่องจากมีขนาดใหญ่ และมีรายละเอียดที่สวยงาม หลังจากนั้นจึงอ่านเนื้อเรื่องในหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถแบ่งปันส่งต่อให้กับผู้อื่นที่สนใจ ทำให้ง่ายต่อการเผยแพร่และเข้าถึง ซึ่งเมื่อทราบเนื้อเรื่องในจิตรกรรมฝาผนังต่างก็สนใจในวัดภูมินทร์เพิ่มมากขึ้น และต้องการเดินทางไปชมสถานที่จริง</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>The murals at Wat Phu Min Temple in Nan Province are valuable pieces of art. The paintings are not only long-lasting, but they also tell interesting stories. The purpose of this research was to: (1) Study the murals at Wat Phu Min Temple, Nan Province and (2) Develop innovations that promote tourism in Nan Province. The research instruments are interview form for collecting data and Questionnaire. The target groups are experts in Nan province, tourists, people who interested in the murals at Wat Phu Min Temple, and people in Nan province. The results of the research are (1) Murals at Wat Phu Min Temple, beginning from the north, east, south, and some part of the west walls, will tell the narrative “Khat Tha Na Khu Marn Allegory”, which the researcher wants to study since it is a local story. In the murals, the story of Khat Tha Na Khu Marn is not told in chronological sequence. But will be laid out in a meandering style Consider just how to make the painting's overall composition seem beautiful on the wall. It may have some episodes on the other side of the wall (2) Innovation consists of 1.5 x 2 meter mixed media art and an electronic narrative book using illustrations from the mixed media art to tell the story of the "Khat Tha Na Khu Marn Allegory". And (3) The large scale and gorgeous details of mixed media art catch the curiosity of the audience. Following that, they will be able to read the story in the electronic storybook. Visitors may easily share with those who are interested because it is simple to post and access. As a result, after learning the story depicted in the mural, they were more interested in Wat Phu Min Temple and wish to visit the actual location.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14098การพัฒนาแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน2021-12-30T17:10:51+00:00ดำรงศักดิ์ สัตบุตร625156060028@dpu.ac.thกัญญรัตน์ หงส์วรนันท์625156060028@dpu.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน และ 2) เพื่อทดสอบคุณภาพแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล</p><p>โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน โดยทดสอบความตรงเชิงประจักษ์ ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเชื่อมั่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้รับสารกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทย จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากกระบวนการสร้างเครื่องมือวิจัย ประกอบไปด้วย 9 หมวด รวมทั้งสิ้น 36 ข้อคำถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 9 ตัวแปร 2) คุณภาพแบบวัด ความตรงของแบบวัด ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87 ความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ .85 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง ซึ่งตรวจสอบโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) สามารถจัดข้อคำถามที่มีความสัมพันธ์อยู่ในปัจจัยเดียวกันได้ 9 ปัจจัย ได้แก่ อ้างเป็นบุคคลสำคัญ การสร้างความน่าเชื่อถือ กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นความต้องการ สร้างความคาดหวัง ความกลัว ความโลภ ความอยากรู้อยากเห็น และการตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผล</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p> </p> <p>The study aimed to 1) construct a deception risk assessment on digital media using a communication-based model, and 2) examine the empirical validity, content validity, construct validity, as well as the reliability of the deception risk assessment on digital media using the communication-based model. The sample group was 400 Thai digital native recipients determined by using a purposive sampling method. The instrument used in this study was the deception risk assessment on digital media developed by the researcher employing the communication-based model. The instrument consisted of 9 aspects with 36 question items, and its reliability was at .85.</p> <p>The findings revealed that 1) the development of deception risk assessment on digital media using the communication-based model was associated with 9 factors, and 2) the quality of the instrument in terms of content validity index and reliability were .87 and .85 respectively. As the researcher performed an exploratory factor analysis (EFA), the question items that appeared in the assessment could be classified into 9 related factors including, key-person impersonation, credibility building, attention gaining, needs stimulation, expectation, fear, greed, as well as curiosity and unreasonable decision making.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14099การสร้างสรรค์อัตลักษณ์การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นชั้นสูง สำหรับประเทศคูเวต2021-12-30T17:10:51+00:00ศมิสสร สุทธิสังข์smythssorn@gmail.comพัดชา อุทิศวรรณกุลsmythssorn@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p>เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ถดถอยส่งผลให้อุตสาหกรรมแฟชั่นได้รับผลกระทบ แต่ในทางตรงกันข้ามประเทศตะวันออกกลางกลับได้รับผลกระทบน้อยมาก รวมทั้งตราสินค้าชั้นนำของโลกก็ให้ความสนใจกับตลาดตะวันออกกลางทำให้ชาวตะวันออกกลางถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาสหากผู้ประกอบการส่งออกแฟชั่นในไทยจะเข้าไปมีบทบาทในตลาดนี้ ขณะเดียวกันประเทศคูเวตซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่น่าลงทุนทั้งทางด้านเศรษฐกิจรวมทั้งการให้อิสระเสรีกับสุภาพสตรีมากกว่ากลุ่มประเทศอื่น ๆ ทำให้บทบาทของสตรีคูเวตเปลี่ยนไปจนได้รับขนานนามว่าเป็นผู้หญิงที่มีความทันสมัยและมีความเป็นแฟชั่นสูง</p> <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย เรื่อง “การสร้างสรรค์อัตลักษณ์การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นชั้นสูง สำหรับประเทศคูเวต” โดยนำเสนอเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายสตรีคูเวต รวมทั้งการศึกษารูปแบบเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูงเพื่อวิเคราะห์ให้เกิดตราสินค้าใหม่ และการประยุกต์ใช้แนวโน้มกระแสแฟชั่นเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ตราสินค้าและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูง (Haute couture) ในรูปแบบอาวองการ์ดแบบศิลปะเค้าโครง ให้เหมาะสมสำหรับสตรีคูเวต เพื่อศึกษาตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูง (Haute couture) และหาความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ตราสินค้า และเพื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายหลักในตลาดที่มีความต้องการสินค้าเครื่องแต่งกายแฟชั่นชั้นสูง ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยจากการศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรม รวมทั้งการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลในการสร้างสรรค์ตราสินค้าให้ตรงต่อการต้องการตลาดและกลุ่มเป้าหมาย</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>Since the global economic regression highly caused the impact on the fashion industry, on the contrary, the Middle East countries were slightly affected by this situation. The leading global brands significantly pay more attention to the Middle East market, considering this region as a primary target. This perspective could potentialy be a business opportunity for Thai fashion exporting entrepreneurs to explore the new market. Kuwait, one of the Middle East country, was ranked as one of the most attractive country for the business investor. This country also gives women freedom more than the others, modernizing the change in Kuwait women image and becomes well-known in a fashionable way.</p> This article is a part of the doctoral thesis “Creative Design For High Fashion Identity in Kuwait” Representing the needs and behavioral study of Kuwait women as a target market, with haute couture pattern study to analyze for a new fashion brand, including the use of fashion trend for brand recreation and product design guideline to fit with the market needs2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14100กระบวนการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสังคม2021-12-30T17:10:51+00:00กริ่งกาญจน์ เจริญกุลkring.thong@gmail.comทิวาวรรณ ชัยขาวkring.thong@gmail.comเชวง ไชยวรรณkring.thong@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ </strong><strong> </strong></p> <p><strong> </strong></p> <p>กระบวนการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อประเด็นทางสังคมของกลุ่มเยาวชน (Media Lab) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการ Movie based learning เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารประเด็นทางสังคมด้วยการผลิตภาพยนตร์สั้นอย่างเป็นขั้นตอน ผ่านห้องปฏิบัติการทางสังคมโดยมีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และกลุ่มเป้าหมายในโครงการ เข้าร่วมทดลองผลิตภาพยนตร์สั้นที่เรียกว่า Master Lab ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างมีส่วนร่วม หลังจากนั้นกลุ่มเป้าหมายจึงได้ลงมือผลิตภาพยนตร์สั้นประเด็นทางสังคมด้วยตนเอง และเผยแพร่สู่ชุมชนและสังคมวงกว้าง ผ่านกิจกรรม Road show และเทศกาลหนังสั้นเชียงใหม่ Media Lab Film Festival สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ การระดมสมอง (Brain Storming) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) โดยนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในกระบวนการ Issue based กระบวนการ Area based และกระบวนการ Movie based ผลการวิจัยพบว่าประเด็นทางสังคมที่กลุ่มเป้าหมาย เห็นว่าเกิดขึ้นใกล้ตัวและเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสำคัญและใส่ใจในการร่วมกันป้องกันและแก้ไข มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่</p> <p>อันดับที่ 1 ประเด็นความเหลื่อมล้ำ คุณภาพชีวิตคนในเมือง ปัญหาระบบขนส่งมวลชน/นโยบายรัฐ (สาธารณูปโภค) การจัดการคุณภาพชีวิตของสัตว์จรจัด และแรงงานถูกเอาเปรียบ</p> <p>อันดับที่ 2 ประเด็นการละเมิดสิทธิบนท้องถนน วินัยการจอดรถ และการละเมิดสิทธิโดยเจ้าหน้าที่รัฐด้วยการตั้งด่านตรวจรถ</p> <p>อันดับที่ 3 ประเด็นคุณค่าความเท่าเทียมในผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน ความแตกต่างบนความหลากหลายในการอยู่ร่วมกันในสังคม</p> <p>อันดับที่ 4 ประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ การเลียนแบบการใช้ภาษา การเสพติดสื่อ</p> <p>อันดับที่ 5 ประเด็นวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงและรักษาสุขภาวะของคนในเมือง พืชเกษตร อาหารปลอดภัยและสวัสดิการการรักษาพยาบาล</p> <p>โดยกลุ่มเป้าหมายได้นำเอาประเด็นปัญหาทางสังคมที่ค้นพบจากกระบวนการดังกล่าว มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์สั้นเล่าเรื่องประเด็นปัญหาทางสังคม ด้วยกระบวนการ Movie Based learning โดยกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านกระบวนการพัฒนา ในทุกขั้นตอน จะกลายเป็นนวัตกรที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดในการผลิตภาพยนตร์ในมิติที่หลากหลาย ทั้งจากวิทยากร เครือข่ายประเด็นทางสังคม และนักศึกษาสถาบันอื่นที่เข้าร่วมโครงการ จนสามารถผลิตภาพยนตร์สั้นของตนเองเพื่อสื่อสารประเด็นทางสังคมได้อย่างแนบเนียน หากมีการต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตภาพยนตร์สั้นให้แก่เยาวชน จนพัฒนาเป็นนวัตกรที่สามารถสื่อสารประเด็นทางสังคมผ่านสื่อภาพยนตร์ยิ่งขึ้น</p><p><strong>Abstract </strong></p> <p><strong> </strong>This participatory action research aired to develop a learning process on the development of social media innovation. using Movie based learning process to develop skills in communicating social issues by producing short films in a step-by-step manner. Through social laboratories with experienced experts and target groups in the project Participated in a short film production trial called the Master Lab by putting theory into practice. Following that, the target group began to make short films about social issues on their own and transmit it throughout the community and society. Through Media Lab Short Film Festival and road show activities. The tools used to collect research data at each stage were Brain Storming, Focus Group Discussion, Participant Observation. By collecting data in the Issue based process, Area based process, and Movie based process.Social issues were used for a short movie production which the society should put the importance on it and help prevent based on the following top 5 issues :</p> <p>1) Inequality of quality of life in urban areas, problems in mass transportation infrastructure systems, quality of life of stray animal management and workforce who are taken advantage</p> <p>2) Infringement on streets , car parking discipline, and infringement committed by government personnel setting up a car checkpoint</p> <p>3) Equality of disabled persons, aging people , children and youths as well as the difference on the diversity in cohabitation in the society</p> <p>4) Media literacy, language use assimilation and media addiction</p> <p>5) Culture, urban dweller well-being change and maintenance, agricultural crops, safe food and sick pay welfare</p> <p>The target group took the societal issues found during the process and applied them to their lives. to use a Movie Based Learning process to create a short film about social issues. The target groups that go through the development process at each stage will become innovators who will be able to exchange ideas in film production on a wide range of levels. Speakers from the social issues network as well as students from other institutions involved in the initiative. Until they are able to produce their own short films to communicate social issues seamlessly. The possibility for producing short films for young people will increase the potential of producing short films for young people. Until developed as an innovator who can communicate more social issues through the media of movies.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14101การสื่อสารประเด็นสังคมของเพจสายดาร์กในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ศึกษาเฉพาะกรณี “เพจอีจัน”2021-12-30T17:10:51+00:00ภัทราพร เจริญรัตน์pattraporn.cha@kbu.ac.th<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p>การศึกษาเรื่องการสื่อสารประเด็นสังคมของเพจสายดาร์กในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ศึกษาเฉพาะกรณี เพจอีจัน เป็นงานวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัดทำเฟซบุ๊กเพจที่มีผู้ติดตามจำนวนมากและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยใช้แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าค่าความแตกต่างของตัวแปรเรื่องอายุและระดับการศึกษาของผู้รับสารส่งผลต่อพฤติกรรมการรับรู้ ความพึงพอใจ และความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นการสื่อสาร ส่วนระยะเวลาที่ผู้รับสารได้ติดตามเฟซบุ๊กเพจอีจัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .253 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ระยะเวลามีผลต่อการรับรู้ ความพึงพอใจ และความคิดเห็นของผู้รับสาร ผลวิจัยเชิงคุณภาพตอบคำถามการวิจัยได้ ดังนี้ (1) กระบวนการสื่อสารของเฟซบุ๊กเพจอีจันใช้หลักทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์ โดยมีการวิเคราะห์เนื้อหาสารก่อนส่งสารไปยังผู้รับสารผ่านช่องทางต่าง ๆ และมีการวิเคราะห์ผู้รับสารก่อนและหลังการส่งสาร (2) ปัจจัยที่ทำให้เฟซบุ๊กเพจอีจันประสบความสำเร็จ คือ การนำเสนอที่รวดเร็ว มีนักข่าวลงพื้นที่จริง เลือกเสนอประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้รับสารโดยตรง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีรูปภาพที่ไม่ซ้ำกับเพจอื่น นำเสนอข้อมูลรูปแบบคลิปวิดีโอที่ทีมงานจัดทำขึ้นใหม่ ใช้เครื่องหมายแฮชแท็กเพื่อไม่ให้ตกกระแสนิยมและเพื่อประโยชน์ในการสืบค้น เลือกใช้โลโก้ของเพจที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ทำให้เกิดการจดจำได้ดี</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objectives of this mixed-method research are to study the communicative process of social issues from ‘E-Jan Fanpage’ on Facebook and its components (senders, messages, channels, and receivers), and to study the success factors in possessing the highest number of followers in Thailand. The content analysis approach has been applied. The researcher has conducted interviews with ‘E-Jan Fanpage’ crews and the fanpage’s followers.</p> <p>The results have been analyzed through quantitative and qualitative approaches which can be generated as followed. In terms of the quantitative approach, it is found that the difference value of factors (ages and educational levels of receivers) possessed significant value. The length of the following period has a statistical significance level of .01 and a correlation coefficient value of .253. These showed that the relationship values concurred with the hypothesis of this study. It can be also stated that the length of the following period can impact to receivers. Additionally, according to the qualitative approach, it is found that the crews have applied a communication theory to deliver social issues on the fan page. The success factor underlying the highest following number is the immediate content delivery. The news reporters always go investigating the actual place on time. The social issues have been carefully selected to generate an impact on the receivers. Language use is widely comprehensible. The pictures are differentiated. The contents have been presented in the form of a series of short VDO clips. Another strategy is to use a hashtag symbol to keep this fanpage trendy and to be the referencing purpose. The unique font and logo of ‘E-Jan’ fanpage has communicated the identity of the page clearly and has enabled the audiences to recognize it easily.</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/14102กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะสำหรับเยาวชนในจังหวัดนครนายก2021-12-30T17:10:51+00:00กฤชณัท แสนทวีnews0773@gmail.com<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p><strong> </strong>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะและปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะสำหรับเยาวชนในจังหวัดนครนายก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเยาวชน อายุ 15-19 ปี จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลวิจัย พบว่า แบบจำลองกลยุทธ์การสื่อสารที่ดีที่สุดประกอบด้วย 1) ควรมีการสื่อสารแนวระนาบระหว่างกลุ่มเยาวชน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ในประเด็นสุขภาวะและปัญหาสุขภาพ 2) ควรสื่อสารให้เกิดความสามารถหรือศักยภาพในการดูแลสุขภาวะของตนเองให้แข็งแรงได้ โดยสามารถอธิบายประเด็นปัญหาสุขภาวะที่สำคัญของเยาวชน ได้ร้อยละ 21 โดยแบบจำลองที่ดีที่สุดในการพยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะสำหรับเยาวชน ประกอบด้วย 1) วัฒนธรรมของชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็ง มีวิถีชีวิตที่ดี 2) ความอยู่ดีกินดี กินอาหารครบ 5 หมู่ 3) ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยสามารถอธิบายกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะสำหรับเยาวชน ได้ร้อยละ 44</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>This research aims to studied health communication strategy and factors influencing health communication strategy for youth in Nakhon Nayok Province. Using a quantitative methodology, data were collected from 400 youth aged between 15 and 19 which were chosen by a simple random sampling method. The samples were asked to answer a questionnaire. After that the questionnaire data were analyzed with statistic, sum, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, and multiple regression analysis. The findings showed that the best model of health communication strategy for youth consisted of 1) horizontal communication among youth to build mutual understanding about wellness and health problems and 2) communication to promote or facilitate an ability to take care and nurture own wellness. The model could explain important health problems of youth at 21 percent (R-Square = 0.21). In addition, the best model for predicting factors influencing health communication strategy for youth consisted of 1) strong community culture and good way of living, 2) well-being with nutrition from five major food groups, and 3) safety of lives and properties. The model could explain health communication strategy for youth at 44 percent (R-Square = 0.44).</p>2021-12-29T00:00:00+00:00Copyright (c)