การเล่าเรื่องของ “พี่มาก..พระโขนง” และสัมพันธบทความเป็น “แม่นาคพระโขนง” สู่ “พี่มาก..พระโขนง” Narration of "Pee Mak" and Intertextuality Between "Mae Nak" and "Pee Mak"
Abstract
บทคัดย่อ“พี่มาก..พระโขนง” เป็นภาพยนตร์ตลก-สยองขวัญ(Horror comedy) โดยการดัดแปลงจากตำนาน “แม่นาคพระโขนง” ซึ่งเป็นผีพื้นบ้านของไทย มีการเล่าเรื่องโดยเริ่มเรื่องจากการกลับมาพบกันของนายมากและนางนาค โดยที่นางนาคได้เสียชีวิตไปแล้ว ปัญหาเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อเพื่อนทั้ง 4คน ของนายมากเริ่มสงสัยว่านางนาคไม่ใช่คน ภายใต้ความคิดที่ว่า “คนและผีไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้” ภาวะวิกฤตของ“พี่มาก..พระโขนง” แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่นายมากแน่ใจว่า นางนาคเป็นผี และช่วงที่นางนาคโกรธที่เพื่อนทั้ง4 คนของนายมากขัดขวางการอยู่ร่วมกันของนายมากและนางนาค และเรื่องเริ่มคลี่คลายเมื่อทั้งนายมากและนางนาคได้เปิดใจพูดคุยกัน ทำให้ปัญหาเกี่ยวกับ “การอยู่ร่วมกันระหว่างคนและผี” หมดไป โดยทั้งคู่ต่างตกลงใจที่จะอยู่ร่วมกันต่อไป แก่นเรื่องของ “พี่มาก..พระโขนง” ได้แก่ “ความรัก”และ “ความผิดธรรมชาติของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและผี”มีมุมมองการเล่าเรื่องจากจุดยืนของบุคคลที่สาม (The third-person narrator) โดยการเล่าเรื่องผ่านเพื่อนทั้ง 4 คนของนายมาก จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างความเป็น“แม่นาคพระโขนง” และ “พี่มาก..พระโขนง” โดยใช้เกณฑ์วิเคราะห์ การคงเดิม (Convention) การขยายความหรือการเพิ่มเติม (Extension) การตัดทอน (Reduction) และการดัดแปลง (Modification) พบว่ายังคงมีการถ่ายทอดทั้งโครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ความขัดแย้งเดิม โดยมีการเพิ่มเติมตัวละครที่เป็นเพื่อนนายมาก 4 คนในการดำเนินเรื่อง และมีการดัดแปลงทั้งโครงเรื่อง ตัวละครการเล่าเรื่องและตอบจบคำสำคัญ : การเล่าเรื่อง / สัมพันธบท / พี่มาก...พระโขนงAbstract“Pee mak” is in horror-comedy genre, adaptedfrom “Mae nak”, the local Thai ghost. It starts with areunion of pee mak and mae nak, a ghost. The storythen develops via pee mak’s friends (four-friends)wondering if mae nak is human, under the concept thathuman and ghost cannot live together.There are twoclimaxes which are that pee mak knows that mae nakis a ghost and that mae nak is angry at four-friends forcoming between pee mak and herself. After discussion,pee mak and mae nak agrees to live together becauseof love.Themes of this movie are love and unnaturalnessof human and ghost being together. Its point of viewis from the third-person narrator, four-friends of peemak.From intertextuality analysis of “Mae Nak” and“Pee Mak”, plot, theme, character, and conflict are thesame. Four-friends is added in order to change pointof view. However, there are some adaptations whichare theme, character, narration and ending.Keyword : Narration / Intertextuality / Pee MakDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย