การพัฒนาเครื่องมือช่วยจำลองการทำงานของขั้นตอนวิธีแบบมีโครงสร้าง (THE DEVELOPMENT OF A SIMULATION TOOL FOR STRUCTURED ALGORITHM)

Authors

  • วิมาน ใจดี King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.
  • จรัญ แสนราช King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือช่วยจำลองการทำงานของขั้นตอนวิธีแบบมีโครงสร้าง และ 2) ประเมินเครื่องมือช่วยจำลองการทำงานของขั้นตอนวิธีแบบมีโครงสร้าง วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนการกำหนดองค์ประกอบของเครื่องมือช่วยจำลองการทำงาน ขั้นที่ 2 ขั้นการออกแบบ เป็นขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล การออกแบบขั้นตอนการจำลองการทำงาน และการออกแบบจอภาพ ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา เป็นขั้นตอนการสร้างเครื่องมือช่วยจำลองการทำงานตามที่ออกแบบไว้ การสร้างแบบสอบถาม และการจัดทำเอกสารการใช้งานระบบ ขั้นที่ 4 ขั้นการทดลองใช้ เป็นขั้นตอนการนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น และขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล เป็นขั้นตอนการประเมินเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คนผลการวิจัยพบว่า 1. เครื่องมือช่วยจำลองการทำงานประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 ส่วน ดังนี้ 1) เมนูสำหรับการทำงาน 2) ปุ่มสำหรับวางคำสั่งขั้นตอนวิธี 3) พื้นที่สำหรับเขียนขั้นตอนวิธี 4) พื้นที่แสดงข้อมูลขณะจำลองการทำงาน และ 5) พื้นที่แสดงการเสริมศักยภาพด้านขั้นตอนวิธี และ 2. ผลการประเมินเครื่องมือช่วยจำลองการทำงานโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน พบว่า ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.54, S.D. = 0.58) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากคำถามปลายเปิดที่วิเคราะห์ได้จากแบบสอบถามชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือช่วยจำลองการทำงานของขั้นตอนวิธีแบบมีโครงสร้างสามารถนำไปใช้ในการศึกษาขั้นตอนวิธีได้คำสำคัญ: เครื่องมือช่วยจำลองการทำงาน  ขั้นตอนวิธีแบบมีโครงสร้าง  การเสริมศักยภาพด้านขั้นตอนวิธีThe objectives of this research are: 1) to develop the simulation tool for structured algorithm, and 2) to evaluate the simulation tool for structured algorithm. The research procedure is consisted of 5 steps as follows: The 1st step is analysis. The simulation tool’s components were analyzed. The 2nd step is design. The database, simulation’s procedures and screen were designed. The 3rd step is development. The simulation tool, questionnaires, and system documentation were created. The 4th step is implementation. The simulation tool was tested for improvement. The 5th step is evaluation. The simulation tool was assessed by 8 experts who were selected by purposive sampling.The research results found that firstly, the simulation tool consisted of 5 parts as follows: 1) main menu, 2) button for paste algorithm command, 3) area for write algorithm, 4) data display area while simulate, and 5) scaffolding display area about algorithm. Secondly, the result of evaluated simulation tool by 8 experts found that the effectiveness was at the highest level (X̅ = 4.54, S.D. = 0.58). In addition, the results of the qualitative data from the questionnaire indicated that the simulation tool for structured algorithm can be used for learning algorithm.Keywords: Simulation Tool, Algorithm Structured, Algorithm Scaffolding

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วิมาน ใจดี, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Department of Computer Education, Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

จรัญ แสนราช, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Department of Computer Education, Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

ใจดี ว., & แสนราช จ. (2017). การพัฒนาเครื่องมือช่วยจำลองการทำงานของขั้นตอนวิธีแบบมีโครงสร้าง (THE DEVELOPMENT OF A SIMULATION TOOL FOR STRUCTURED ALGORITHM). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(18, July-December), 165–178. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/9567