ผลของความเข้มข้นของปุ๋ยโพแทสเซียมต่อคุณสมบัติทางทางเคมีของข้าวพันธุ์ดอกพะยอม (Oryza sativa L. var. Dokpayom) (EFFECTS OF POTASSIUM FERTILIZER CONCENTRATIONS ON CHEMICAL PROPERTIES OF Oryza sativa L. var. Dokpayom)

Authors

  • นูรีย๊ะ มิยะ Thaksin University, Phatthalung.
  • อนิศรา เพ็ญสุข ติ๊บแก้ว Thaksin University, Phatthalung.
  • ณัฐธยาน์ ฟาน เบม Thaksin University, Phatthalung.

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลของความเข้มข้นของปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ต่อลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของข้าวพันธุ์ดอกพะยอม จากการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ณ พื้นที่ปลูกศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง พบว่า ดินมีความเป็นกรดที่ระดับ pH 3.52 มีอินทรียวัตถุสูง 2.74% มีระดับฟอสฟอรัสสูง 18.90 ppm และมีโพแทสเซียมระดับต่ำที่ 27.25 ppm แล้วนำผลการวิเคราะห์คำนวณการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เมื่อข้าวงอก 25 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 3-0-6 ตามค่าวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยที่ใช้ คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 (7 กิโลกรัมต่อไร่) และโพแทสเซียมคลอไรด์ 0-0-60 (10 กิโลกรัม ต่อไร่) ความเข้มข้นที่อัตรา 0, 82.88, 165.75 และ 331.5 กรัม K2O/ไร่ (เทียบเท่า 0, 25, 50 และ 100 กิโลกรัม K2O/ไร่ ตามลำดับ) นำตัวอย่างเมล็ดข้าวประเมินอัตราการงอกของเมล็ดข้าว 10 วัน เมล็ดงอกสมบูรณ์คิดเป็น 92% ความเข้มข้นของปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ที่อัตรา 0 และ 82.88 กรัม K2O/ไร่ ทำให้เมล็ดที่ผลิตได้มีปริมาณอมิโลสปานกลาง ลักษณะข้าวสุกค่อนข้างร่วน และความคงตัวของแป้งสุกอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเพิ่มระดับความเข้มข้นของปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ที่อัตรา 165.75 และ 331.5 กรัม K2O/ไร่ พบว่า ปริมาณอมิโลสสูง ลักษณะข้าวสุกร่วนแข็ง ความคงตัวของแป้งสุกแข็งมีการสลายเมล็ดในด่างเท่ากับ 5 และการยืดตัวเมล็ดข้าวดิบต่อข้าวสุกอยู่ระหว่าง 1.44-1.55 มิลลิเมตร ผลจากศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่า การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ที่อัตรา 82.88 กรัม K2O/ไร่ (เทียบเท่า 25 กิโลกรัม K2O/ไร่) ให้ผลดีที่สุดเมื่อเทียบการทดลองในชุดอื่นๆ (ในสภาพดิน ณ แปลงทดลอง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05, n=3)คำสำคัญ: ข้าวพันธุ์ดอกพะยอม  โพแทสเซียมคลอไรด์  การงอกของเมล็ด  ปริมาณอมิโลส  ความคงตัวของแป้งสุก  การสลายตัวเมล็ดในด่างThis study was objected on the effects of Potassium fertilizer concentrations on physical and chemical properties of Oryza sativa L. var. Dokpayom. Soil from the paddy at the Phatthalung Rice Research Center Kuan-ma-praw District, Phatthalung Province was showed the soil acidity at pH 3.52, high organic matter at 2.74%, available high phosphorus at 18.90 ppm and available low potassium at 27.25 ppm. The results of analysis were calculated fertilizer according to the analysis of soil. At 25 days of rice germination, the chemical fertilizer of 3-0-6 formula was fed to the field by the calculation of soil analysis. The formula fertilizers were designed at 46-0-0 (7 kg/field) of Urea and 0-0-60 (10 kg/field) of Potassium Chloride (concentration rates at 0, 82.88, 165.75 and 331.5 g K2O/field: equivalent 0, 25, 50 and 100 kg K2O/field, respectively). Samples of rice grains assessment at 10 days showed 92% germination. Concentration rates of Potassium Chloride fertilizer at 0 and 82.88 g K2O/field resulted to moderate amylose contents of grains, loosely cooked rice and medium of gel consistency. High concentrations of Potassium Chloride fertilizer formula at 165.75 and 331.5 g K2O/field contained of high amylose grain, solid of gel consistency, alkali spreading value of 5 and elongation ratio of unriped and cooked rices as 1.44 to 1.55 mm. In conclusion, the best concentration rate of Potassium Chloride to the chemical properties of grains was 82.88 K2O/field (equivalent of 25 kg K2O/field) comparing with other samples at the same paddy field of significant level (p≤0.05, n=3).Keywords: Oryza sativa L. var. Dokpayom, Potassium Fertilizer, Seed Germination, Amylose Content, Gel Consistency, Alkali Test

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

นูรีย๊ะ มิยะ, Thaksin University, Phatthalung.

Department of Biology, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung 93210.

อนิศรา เพ็ญสุข ติ๊บแก้ว, Thaksin University, Phatthalung.

Department of Plant Science, Faculty of Technology and Community Development, Thaksin University, Phatthalung 93210.

ณัฐธยาน์ ฟาน เบม, Thaksin University, Phatthalung.

Department of Biology, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung 93210.

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

มิยะ น., เพ็ญสุข ติ๊บแก้ว อ., & ฟาน เบม ณ. (2017). ผลของความเข้มข้นของปุ๋ยโพแทสเซียมต่อคุณสมบัติทางทางเคมีของข้าวพันธุ์ดอกพะยอม (Oryza sativa L. var. Dokpayom) (EFFECTS OF POTASSIUM FERTILIZER CONCENTRATIONS ON CHEMICAL PROPERTIES OF Oryza sativa L. var. Dokpayom). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(18, July-December), 109–118. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/9562