กรอบการรับรู้สำหรับประเมินบริการกลุ่มเมฆในหน่วยงานภาครัฐ (A PERCEPTION-BASED FRAMEWORK TO EVALUATE CLOUD SERVICE IN GOVERNMENT AGENCY)

Authors

  • ฑกลชัย อุตตรนที Real Estate Information Center.
  • อภิรักษ์ ปรีชญสมบูรณ์ TOT Public Company Limited.
  • วรินญา สุจริยา A.E.C Logistics and Services Co.,Ltd.

Abstract

การประเมินบริการกลุ่มเมฆตามกรอบเดิมที่มีอยู่มีความซับซ้อนทางเทคนิคและไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบผลการใช้บริการระหว่างระบบงานและหน่วยงานที่แตกต่างกันได้ งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาการประเมินบริการกลุ่มเมฆวิธีใหม่ที่สามารถเปรียบเทียบผลของการใช้บริการที่แตกต่างกันได้ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของงบประมาณและประโยชน์ที่ได้รับ และปรับปรุงนโยบายการใช้บริการกลุ่มเมฆของภาครัฐ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากรอบการรับรู้กลางที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเมินบริการกลุ่มเมฆในหน่วยงานภาครัฐ และ 2) สำรวจระดับการยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กรอบการรับรู้กลางที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเมินบริการกลุ่มเมฆในหน่วยงานภาครัฐ และ 2) แบบสอบถาม ประชากร คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์สารสนเทศ ในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจแตกต่างกัน 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคง และด้านสังคม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 76 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 25 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบการรับรู้กลางที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเมินบริการกลุ่มเมฆ ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย การแก้ปัญหาได้ การยอมรับ ความพึงพอใจ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความสร้างสรรค์ 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยอมรับกรอบการรับรู้กลางที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเมินบริการกลุ่มเมฆในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.10) ผลการวิเคราะห์สถิติค่าความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจแตกต่างกัน ยอมรับกรอบการรับรู้กลางที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเมินบริการกลุ่มเมฆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05คำสำคัญ: บริการกลุ่มเมฆ  กรอบการรับรู้  ระบบงานAn existing evaluation framework of cloud service involved technical complex key criteria and guidelines which were not be standardized. Then the evaluation outcomes of systems and agencies that used cloud services could not be compared. This research had developed the new methodology in evaluating the cloud service so that the outcome could be compared in order to be able to analyzing the value of budgeting and benefits received and to revising the government's cloud service usage policy. The research purposed was to 1) develop a standard perception-based framework to evaluate cloud service in government agency and 2) assess the level of acceptance by the stakeholders. Research tools were 1) a standard perception-based framework to evaluate cloud service in government agency, 2) a questionnaire. The Population was the stakeholders who worked at the information technology center of the government agencies whose mission were different, that were economic, security and social. The sample size was 76 stakeholders. The sampling method used was the stratified random sampling with 25 percent criterion. Statistics used in this research were mean, standard deviation, and One-way ANOVA. The results found that 1) a perception-based framework to evaluate cloud service compose of seven indicators that were achievement, problems solving, acceptance, satisfaction, efficiency, effectiveness, and creativity, 2) The overall acceptance of a perception-based framework by the stakeholder was at high level (X̅ =4.10). The analysis of the difference in level of acceptance of the stakeholders worked in different agencies with different mission using One-way ANOVA found that there was not significantly statistical difference at the level of .05.Keyword: Cloud Service, Perception-Based Framework, Systems

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ฑกลชัย อุตตรนที, Real Estate Information Center.

Real Estate Information Center, Huay Kwang, Bangkok 10310.

อภิรักษ์ ปรีชญสมบูรณ์, TOT Public Company Limited.

TOT Public Company Limited.

วรินญา สุจริยา, A.E.C Logistics and Services Co.,Ltd.

A.E.C Logistics and Services Co.,Ltd.

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

อุตตรนที ฑ., ปรีชญสมบูรณ์ อ., & สุจริยา ว. (2017). กรอบการรับรู้สำหรับประเมินบริการกลุ่มเมฆในหน่วยงานภาครัฐ (A PERCEPTION-BASED FRAMEWORK TO EVALUATE CLOUD SERVICE IN GOVERNMENT AGENCY). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(18, July-December), 73–84. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/9559