การบริหารความเสี่ยงในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่: บริบทการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (RISK MANAGEMENT OF NEW PRODUCT DEVELOPMENT: MOBILE APPLICATION CONTEXT)

Authors

  • จุฑาทส อุตตรนคร Thammasat University.
  • อรพรรณ คงมาลัย Thammasat University.
  • ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา Suan Dusit University.

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในบริบทการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ และเสนอแนะแนวทางการบริหารความเสี่ยงสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ โดยระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดของปัจจัยเสี่ยงในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงด้านตลาด ปัจจัยเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ปัจจัยเสี่ยงด้านความรู้ ปัจจัยเสี่ยงด้านความสามารถ และผลกระทบของประสิทธิภาพการพัฒนาโครงการและการศึกษาเชิงประจักษ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งเก็บจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ในบริษัทรับจ้างพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่มีกำไรสูงสุด 15 บริษัทแรก จำนวน 300 ชุด และได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับมา 224 ชุด คิดเป็นร้อยละ 74.67 ของแบบสอบถามทั้งหมดการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structure Equation Model : SEM) ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติผลการวิจัยพบว่าผลการวิเคราะห์ทางสถิติผู้วิจัยพบว่า ผลกระทบจากปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิภาพการพัฒนาโครงการบริบทการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือเกิดขึ้นสามารถอธิบายได้ ร้อยละ 77 (R2 = .77) โดยมีค่าน้ำหนักสัมพันธ์มาตรฐาน (Standardized Coefficients หรือ Beta: β) เท่ากับ 0.88 โดยปัจจัยด้านความเสี่ยงในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (NPD Risk) ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการพัฒนาโครงการผลิตภัณฑ์ใหม่ (NPD Performance) มากที่สุดได้แก่ ความเสี่ยงด้านความสามารถของผู้พัฒนา ซึ่งรองลงมาได้แก่ ความเสี่ยงด้านการนำความรู้เฉพาะด้าน และการควบคุม/รักษาข้อมูลที่สำคัญไปใช้ ความเสี่ยงด้านความซับซ้อนทางเทคนิค ความเสี่ยงด้านการวิเคราะห์ตลาด ความเสี่ยงด้านการจัดการความต้องการของทางผู้ว่าจ้าง และความเสี่ยงด้านนโยบายและกฎหมาย ตามลำดับ ดังนั้น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถของผู้พัฒนาเป็นอันดับแรกเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เกิดขึ้นในอนาคตต่อไปคำสำคัญ: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  ความเสี่ยง  การบริหารความเสี่ยง  แอพพลิเคชั่นบนมือถือThis research is carried in order to study about the risk factors affecting the effectiveness of the product development in context of mobile application as well as to provide the guideline for managing the risks that may have occurred. The methodology of the research consists of the review of literatures, theories, and relevant studies. With this information, the researcher can conceptualize the framework of the risk factors on mobile application including market, technology, knowledge, capability, and effectiveness of the project. There were 300 questionnaires distributed to the first 15 mobile application development companies that can make the highest profits in the industry. There were 224 questionnaires returned which is 74.67%.Exploratory factor analysis and structure equation model were used as statistical methods to analyze the empirical data. With these methods, the effect of risk factors may have occurred at 77% (R2 = .77). The standardized coefficients (Beta: β) is approximately 0.88. The results show that the riskiest part affecting the mobile application project performance is the developer’s capability, followed by the risks from specific knowledge and security control, technical complexity, market analysis, requirement management, and policy and legislation respectively. Regarding this research, a developer’s capability should be focused as the first priority to reduce the risk and create new business opportunity.Keywords: New Product Development, Risk, Risk Management, Mobile Application

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

จุฑาทส อุตตรนคร, Thammasat University.

Department of Technology Management, College of Innovation, Thammasat University.

อรพรรณ คงมาลัย, Thammasat University.

College of Innovation, Thammasat University.

ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา, Suan Dusit University.

Graduate School, Suan Dusit University.

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

อุตตรนคร จ., คงมาลัย อ., & กานต์รวีกุลธนา ณ. (2017). การบริหารความเสี่ยงในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่: บริบทการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (RISK MANAGEMENT OF NEW PRODUCT DEVELOPMENT: MOBILE APPLICATION CONTEXT). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(18, July-December), 35–48. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/9553