ทอรีนและฮีสตามีนในตัวอย่างปลาทะเล และปลาน้ำจืด (TAURINE AND HISTAMINE IN SEAFISH AND FRESHWATER FISH SAMPLES)

Authors

  • กาญจนา คล่องงานฉุย Srinakharinwirot University.
  • พรพิมล ม่วงไทย Srinakharinwirot University.

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณทอรีนและฮีสตามีนแบบพร้อมกันในตัวอย่างปลา ได้แก่ ปลาทะเล และปลาน้ำจืดของประเทศไทยด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง โดยวิธีการเตรียมสารอนุพันธ์ของทอรีนและฮีสตามีนด้วยออร์โท-พทาลอัลดีไฮด์ ทั้งนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ พบว่าสภาวะที่เหมาะสมจะใช้วัฏภาคเคลื่อนที่เป็นสารละลายผสมของฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 4.8 เข้มข้น 0.02 โมลาร์ต่ออะซิโตไนไตรล์ อัตราส่วน 65:35 โดยปริมาตร ควบคุมอัตราการไหล 0.8 มิลลิลิตรต่อนาที และตรวจวัดด้วยฟลูออเรสเซนต์ที่ความยาวคลื่นของการกระตุ้นและความยาวคลื่นของการเปล่งแสง 333 และ 451 นาโนเมตร ตามลำดับ โดยสามารถวิเคราะห์ทอรีนและฮีสตามีนได้พร้อมกันภายในเวลา 10 นาที ค่าระยะเวลารีเทนชันเท่ากับ 5.415 และ 8.483 นาที ตามลำดับ ผลของการศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการวิเคราะห์พบว่า กราฟมาตรฐานของทอรีนและฮีสตามีนมีความเป็นเส้นตรงอยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.0005 ถึง 10 และ 0.03 ถึง 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) ของทอรีนและฮีสตามีน เท่ากับ 0.9975 และ 0.9980 ตามลำดับ มีค่าขีดจำกัดต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ (LOD) และค่าขีดจำกัดต่ำสุดที่สามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณได้ (LOQ) ของทอรีน เท่ากับ 0.0001 และ 0.0005 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ สำหรับฮีสตามีนมีค่า LOD และ LOQ เท่ากับ 0.01 และ 0.03 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าวิธีวิเคราะห์นี้สามารถแยกทอรีนและฮีสตามีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปวิเคราะห์ปริมาณทอรีน และฮีสตามีนในตัวอย่างปลาน้ำจืดและปลาทะเลได้ โดยตรวจพบปริมาณทอรีนในตัวอย่างปลาอยู่ในช่วง 490.81±1.7 ถึง 1721.92±1.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีปริมาณฮีสตามีนในช่วง 6.78±0.2 ถึง 19.07±1.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ได้ศึกษาปัจจัยวิธีการปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม นึ่ง และทอดในตัวอย่างปลา พบว่าวิธีการปรุงอาหารส่งผลต่อปริมาณทอรีนและฮีสตามีนในตัวอย่างคำสำคัญ: ทอรีน  ฮีสตามีน  ปลาทะเล  ปลาน้ำจืดThe aim of this research was to simultaneous analysis taurine and histamine content in fish samples as seafish and freshwater fish of Thailand by high-performance liquid chromatography and derivatied with o-phthalaldehyde (OPA). The optimization of HPLC conditions for quantitative analysis of taurine and histamine were obtained. The optimum conditions for mobile phase system were 0.02 M phosphate buffer pH 4.8 : acetonitrile as 65:35, controlled flow rate at 0.8 mL/min and detected by fluorescence detector with fluorescence excitation and emission peaks at 333 and 451 nm, respectively. This condition could separated taurine and histamine within 10 mins, retention time of taurine and histamine were 5.415 and 8.483 mins, respectively. Validation method of the analysis was also studied and the calibration curve showed a linearity range of 0.0005 - 10 and 0.03 - 10 mg/L for taurine and histamine, respectively, with the correlation coefficients (R2) of taurine and histamine as 0.9975 and 0.9980 respectively. The limits of detection (LOD) and limits of quantitation (LOQ) of taurine and histamine presented as 0.0001 mg/L and 0.0005 mg/L for taurine and 0.01 mg/L and 0.03 mg/L for histamine. The method was showed an effective separation of both taurine and histamine and applied to quantity of taurine and histamine in fish samples. Taurine in Thai fishes samples were found in the range of 490.81±1.7 - 1721.92±1.9 mg/kg. Histamine in Thai fishes were found in the range of 6.78±0.2 - 19.07±1.4 mg/kg. The effects of processing on fish samples such as boiling, steaming and frying were studied and the results revealed that taurine and histamine content depend on processing method.Keywords: Taurine, Histamine, Seafish, Freshwater Fish

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กาญจนา คล่องงานฉุย, Srinakharinwirot University.

Department of Chemistry, Faculty of Science, Srinakharinwirot University.

พรพิมล ม่วงไทย, Srinakharinwirot University.

Department of Chemistry, Faculty of Science, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2017-12-27

How to Cite

คล่องงานฉุย ก., & ม่วงไทย พ. (2017). ทอรีนและฮีสตามีนในตัวอย่างปลาทะเล และปลาน้ำจืด (TAURINE AND HISTAMINE IN SEAFISH AND FRESHWATER FISH SAMPLES). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(18, July-December), 1–10. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/9546