การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการกดรัดเส้นประสาทมีเดี่ยนบริเวณอุโมงค์อุ้งมือในพนักงานโรงพยาบาลชลประทาน (A STUDY OF THE PREVALENCE AND RISK FACTORS OF CARPAL TUNNEL SYNDROME IN EMPLOYEES AT THE ROYAL IRRIGATION HOSPITAL)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการกดรัดเส้นประสาทมีเดี่ยนบริเวณอุโมงค์อุ้งมือ (Carpal Tunnel Syndrome, CTS) ในพนักงานที่ทำงานในโรงพยาบาลชลประทาน รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงพรรณาศึกษาแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานที่ทำงานโรงพยาบาลชลประทานได้แก่ คนงาน คนครัว ช่าง และพนักงานเปลที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 121 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตรวจร่างกายและตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (Electrodiagnosis) ของเส้นประสาทมีเดี่ยน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ descriptive statistic, chi-square test และ unpaired t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะ CTS เข้าตามเกณฑ์การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยจำนวน 75 คน (ร้อยละ 62) โดยผู้ที่มีอาการแสดงทางคลินิกร่วมกับการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเข้าได้กับ CTS มีจำนวน 40 คน (ร้อยละ 33.1) ปัจจัยเรื่อง เพศ, อายุ, ค่าดัชนีมวลกาย, ระยะเวลาการทำงานในโรงพยาบาล, และแผนกที่ทำงานมีความสัมพันธ์กับการเป็น CTS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนี้คือ เพศหญิงมีโอกาสเป็น CTS มากกว่าเพศชาย 3.4 เท่า (OR= 3.4; 95%CI 1.55-7.52, P = 0.002), อายุที่มากกว่า 45 ปี มีโอกาสเป็น CTS มากกว่าอายุที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 ปีเป็น 10.1 เท่า (OR=10.1; 95%CI 4.26-23.81, P<0.001), ค่าดัชนีมวลกาย 25-29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตรและมากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรมีโอกาสเป็น CTS มากกว่า ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเป็น 2.5 และ 3.8 เท่า ตามลำดับ (OR=2.5; 95%CI 1.11-5.46, OR=3.8; 95%CI 0.95-15.22, P=0.03), ระยะเวลาการทำงานในโรงพยาบาลที่มากกว่า 12 ปีมีโอกาสเป็น CTS มากกว่าระยะเวลาการทำงานในโรงพยาบาลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 ปีเป็น 2.5 เท่า (OR=2.5; 95%CI 1.16-5.36, P=0.018), แผนกที่ทำงานพบว่า ช่าง คนงาน คนครัว มีโอกาสเป็น CTS มากกว่าพนักงานเปลเป็น 4.2, 5.3, และ 18.0 เท่า ตามลำดับ (OR=4.2; 95%CI 0.74-23.91, OR=5.3; 95%CI 1.33-21.01, OR=18.0; 95%CI 2.47-131.29, P=0.015) ทั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของการใช้งานข้อมือประจำกับการเป็น CTS โดยสรุปการกดรัดเส้นประสาทมีเดี่ยนที่อุโมงอุ้งมือในพนักงานที่ทำงานในโรงพยาบาลโดยใช้การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเป็นหลักพบความชุกร้อยละ 62 และเกือบครึ่งหนึ่งยังไม่แสดงอาการ โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคคือ เพศ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย ระยะเวลาการทำงานและแผนกงานที่ทำคำสำคัญ: การกดรัดเส้นประสาทมีเดี่ยนบริเวณอุโมงค์อุ้งมือ การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย ความชุก ปัจจัยเสี่ยงThe Objectives of this research to study the prevalence of carpal tunnel syndrome (CTS) and occupational risk factors related to CTS among employees in Royal Irrigation Hospital. The study design was cross-sectional descriptive study. The subjects, focused on employees comprised workers, kitchen staffs, mechanics, and patient transferors, 121 consented subjects were included to study. Questionnaire, physical examination and electrodiagnosis of median nerve were done. Data were analyzed by descriptive statistic, chi-square test and unpaired t-test. The results of this research, 75 subjects (62%) were diagnosed with CTS according to electrodiagnostic criteria, 40 subjects of them (33.1%) had clinical signs and symptoms consistent with CTS. Gender, age, body mass index (BMI), length of working and job duty were significantly related to CTS. Female had a higher risk of CTS 3.4 times than male (OR=3.4; 95%CI 1.55-7.52, P=0.002). Subjects over 45 years of age had a higher risk of CTS 10.1 times than younger (OR=10.1; 95%CI 4.26-23.81, P<0.001). Subjects who had BMI between 25 and 29.9 kg/m2 and equal or more than 30 kg/m2 had a higher risk of CTS 2.5 times and 3.8 times than those had BMI equal or less than 24.9 kg/m2 (OR=2.5; 95%CI 1.11-5.46, OR=3.8; 95%CI 0.95-15.22, P=0.03). Subjects who had worked over 12 years had a higher risk of CTS 2.5 times than those who had worked equal or less than 12 years (OR=2.5; 95%CI 1.16-5.36, P=0.018). The mechanics, workers, kitchen staffs had a higher risk of CTS 4.2 times, 5.3 times, 18.0 times than patient transferors (OR=4.2; 95%CI 0.74-23.91, OR=5.3; 95%CI 1.33-21.01, OR=18.0; 95%CI 2.47-131.29, P=0.015). However, this study did not find any association between repetitive hand motion and CTS. Conclusion: The prevalence of CTS in employees at the Royal Irrigation Hospital was 62%, almost half of them were no clinical sign and symptom of CTS. Gender, age, BMI, length of working and job duty were significantly related to CTS.Keywords: Carpal Tunnel Syndrome, Electrodiagnosis, Prevalence, Risk FactorDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2017-07-05
How to Cite
ปังสุวรรณ ส. (2017). การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการกดรัดเส้นประสาทมีเดี่ยนบริเวณอุโมงค์อุ้งมือในพนักงานโรงพยาบาลชลประทาน (A STUDY OF THE PREVALENCE AND RISK FACTORS OF CARPAL TUNNEL SYNDROME IN EMPLOYEES AT THE ROYAL IRRIGATION HOSPITAL). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(17, January-June), 163–173. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/9012
Issue
Section
บทความวิจัย