ความเหมาะสมของดินพรุเพื่อการปลูกปาล์มน้ำมันในตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (SUITABILITY OF PEAT SOIL FOR OIL PALM PLANTATION IN KARAKET SUB-DISTRICT CHIANYAI DISTRICT NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE)

Authors

  • ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เอ็จ สโรบล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิพักตร์ จินตนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กฤตยากานต์ เดชดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การศึกษาความเหมาะสมของดินพรุเพื่อการปลูกปาล์มน้ำมันในตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ สมบัติของดินในพื้นที่พรุตามรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน ส่วนที่สอง ความเหมาะสมของดินในพื้นที่พรุที่ปลูกปาล์มน้ำมัน และส่วนที่สาม ผลผลิตของปาล์มน้ำมันในพื้นที่พรุ พบว่า ดินพรุในตำบลการะเกด ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับปานกลาง ไม่แตกต่างกันในทุกรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน สมบัติของดินส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ยกเว้นเนื้อดิน ความเป็นกรดด่างของดิน และปริมาณทองแดงที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อยถึงไม่เหมาะสม ในส่วนของผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่พรุตำบลการะเกด พบว่าเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 64.67 และให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 2,623,57 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี อย่างไรก็ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่พรุบางส่วนสามารถให้ผลผลิตใกล้เคียงกับผลผลิตสูงสุดของสายพันธุ์ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการและดูแลรักษา เกษตรกรที่ปลูกแบบขุดยกร่อง และขุดคูระบายน้ำ ส่วนใหญ่ได้รับผลผลิตดีกว่ากลุ่มที่ปลูกแบบไถยกร่อง ดังนั้นหากต้องการเพิ่มความเหมาะสมของการปลูกปาล์มน้ำมันให้อยู่ในระดับมาก เกษตรกรในพื้นที่จำเป็นต้องมีการจัดการเชิงพื้นที่เพื่อให้มีสภาพการระบายน้ำที่ดีขึ้น เช่น การขุดยกร่อง การปรับปรุงสภาพดินโดยการปรับสภาพความเป็นกรดด่าง และเพิ่มปริมาณทองแดงที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันคำสำคัญ: พื้นที่พรุ  การจัดการพื้นที่  และพืชน้ำมันSuitability of peat soil for oil palm plantation in Karaket sub-district Chianyai district Nakhon Si Thammarat province was investigated in three aspects: soil properties under different types of land use, soil suitability of oil palm plantation, and oil palm productivity on peatland. It was found that the suitability of most  peat soil for oil palm plantation in Karaket sub-district was moderately suitable and was not different among all types of land use. The suitability of soil  properties was moderately to highly suitable except for soil texture, pH and available copper which were less suitable to unsuitable. Farmers preferred to grow Suratthani 2 more than (64.67%) other varieties. And its average yield was 2,623.57 Kg/rai/year. However, some oil palm plantation (Suratthani 2) on peatland yielded comparable to Suratthani 2 variety reported by Suratthani Oil Palm Research Center, which depended on management. Oil palm plantation under ridging – drainage canal method out yielded the ridge till method. Thus, improving oil palm yield can be achieved through land and soil management, adjusting soil pH and applying copper.Keywords: Peatland, Land Management, Oil Crop

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โครงการสหวิทยาการระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เอ็จ สโรบล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิพักตร์ จินตนา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กฤตยากานต์ เดชดี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Downloads

Published

2017-07-04

How to Cite

เนื่องมัจฉา ป., สโรบล เ., จินตนา ว., & เดชดี ก. (2017). ความเหมาะสมของดินพรุเพื่อการปลูกปาล์มน้ำมันในตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (SUITABILITY OF PEAT SOIL FOR OIL PALM PLANTATION IN KARAKET SUB-DISTRICT CHIANYAI DISTRICT NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(17, January-June), 52–63. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/9001