ผลของการเติมสารนาโนเงินในสารฉาบแบบนุ่มชนิดอะคริลิกต่อคุณสมบัติทางกายภาพและทางกล (EFFECT OF SILVER NANOPRISMS CONTAINING ACRYLIC SOFT LINER ON PHYSICAL AND MECHANICAL PROPERTIES)

Authors

  • กมลวรรณ คำทรัพย์ โรงพยาบาลบรบือ ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 44130
  • ณปภา เอี่ยมจิรกุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปิยะนารถ เอกวรพจน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเติมสารนาโนเงินในสารฉาบแบบนุ่มชนิดอะคริลิกต่อคุณสมบัติการดูดซึมน้ำ การละลายตัว ความแข็งผิวของสารฉาบวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ สารฉาบแบบนุ่มชนิดอะคริลิกผสมสารนาโนเงินที่ความเข้มข้น 0 25 50 100 และ 200 ส่วนในล้านส่วน นำมาทดสอบการดูดซึมน้ำและการละลายที่ระยะเวลา 1 4 7 และ 14 วัน โดยการเตรียมชิ้นงานเป็นแผ่นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50.00 มิลลิเมตร หนา 0.50 มิลลิเมตร กลุ่มละ 5 ชิ้น และทดสอบความแข็งผิวโดยการเตรียมชิ้นงานเป็นแท่งกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 28.00 มิลลิเมตร หนา 6.00 มิลลิเมตร กลุ่มละ 5 ชิ้น วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบทูกีย์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05ผลการทดลอง สารฉาบแบบนุ่มชนิดอะคริลิกที่ผสมนาโนเงิน มีผลค่าเฉลี่ยการดูดซึมน้ำมีค่า 1.724-2.778 มก./ตร.ซม.ผลค่าเฉลี่ยการละลายตัวของวัสดุมีค่า 0.62-1.53 มก./ตร.ซม. ในการทดสอบการดูดซึมน้ำพบว่ากลุ่มควบคุม (ความเข้มข้นของนาโนเงิน 0 ส่วนในล้านส่วน) มีค่าเฉลี่ยการดูดซึมน้ำมากที่สุด (2.993 มก./ตร.ซม.) และกลุ่มความเข้มข้นของนาโนเงิน 200 ส่วนในล้านส่วน มีค่าเฉลี่ยการดูดซึมน้ำน้อยที่สุด (1.724 มก./ตร.ซม.) ในการทดสอบความแข็งผิวของวัสดุพบว่ากลุ่มควบคุม (ความเข้มข้นของนาโนเงิน 0 ส่วนในล้านส่วน) ที่เวลา 1 วัน มีค่าเฉลี่ยความแข็งของวัสดุน้อยที่สุด (13.80 หน่วยชอร์เอ) และกลุ่มความเข้มข้นของนาโนเงิน 200 ส่วนในล้านส่วน ที่เวลา 14 วัน มีค่าเฉลี่ยความแข็งผิวของวัสดุมากที่สุด (55.68 หน่วยชอร์เอ)สรุป เมื่อเพิ่มปริมาณสารนาโนเงินในสารฉาบแบบนุ่มชนิดอะคริลิกทำให้มีคุณสมบัติดูดซึมน้ำ การละลายตัวลดลง และความแข็งผิวเพิ่มขึ้นคำสำคัญ: สารฉาบแบบนุ่มชนิดอะคริลิก  สารนาโนเงิน  การดูดซึมน้ำ  การละลายตัว  ความแข็งผิวObjective: The purpose of this study was to evaluate the incorporation of silver nanoprisms containing acrylic soft liner on the sorption, solubility and hardness test.Methods: Acrylic soft liner (Visco gel, Dentsply, US) mixed with silver nanoprisms were divided into 5 groups according to the concentration of silver nanoprism added into the soft liner liquid: 0, 25, 50, 100 and 200 ppm respectively. The specimens were immersed in distilled water for 1, 4, 7 and 14 days. For water sorption and solubility test, five disc-shaped specimens (50.00x0.50 mm) of each group were fabricated from stainless steel mold. For the hardness test, five cylindrical specimens (28.00x6.00 mm) of each group were prepared. A hardness durometer (Shore A, model 471; PTC Instruments, Los Angeles CA, USA) was used for hardness tests, the test conditions being in accordance with ASTM: D2240. The results were analyzed by using ANOVA and Tukey HSD test (p<0.05).Results: Water sorption and solubility values ranged from 1.724-2.778 mg/cm2 and from 0.62-1.53 mg/cm2 respectively. For water sorption, control group (0 ppm of silver nanoprisms) exhibited highest mean value (2.993 mg/cm2) though 200 ppm of silver nanoprism group exhibited least mean value (1.724 mg/cm2). For hardness test, control group (0 ppm of silver nanoprisms) at day 1 exhibited least mean value (13.80 shore A unit) though 200 ppm of silver nanoprism group at day 14 exhibited highest mean value (55.68 shore A unit).Conclusions: An increase in silver nanoprisms concentration resulted in an increased hardness and a decrease in both water sorption and water solubility.Keywords: Acrylic Soft Liner, Silver Nanoprisms, Water Sorption, Water Solubility, Hardness

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กมลวรรณ คำทรัพย์, โรงพยาบาลบรบือ ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 44130

โรงพยาบาลบรบือ ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 44130

ณปภา เอี่ยมจิรกุล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

ปิยะนารถ เอกวรพจน์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-06-29

How to Cite

คำทรัพย์ ก., เอี่ยมจิรกุล ณ., & เอกวรพจน์ ป. (2017). ผลของการเติมสารนาโนเงินในสารฉาบแบบนุ่มชนิดอะคริลิกต่อคุณสมบัติทางกายภาพและทางกล (EFFECT OF SILVER NANOPRISMS CONTAINING ACRYLIC SOFT LINER ON PHYSICAL AND MECHANICAL PROPERTIES). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(17, January-June), 1–12. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/8950