การประเมินกระบวนการเตรียมตัวอย่างอ้างอิงสำหรับเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือก (EVALUATION OF PREPARATION PROCESS OF REFERENCE SAMPLE FOR PADDY MOISTURE METER)
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายประเมินกระบวนการเตรียมตัวอย่างอ้างอิงสำหรับเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกแบบความต้านทาน และแบบความจุไฟฟ้าที่นิยมใช้ในการตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ความชื้นข้าวเปลือกในการซื้อขาย โดยในงานวิจัยนี้ข้าวเปลือกพันธุ์ดอกมะลิ 105 และสุพรรณบุรี 60 ถูกทำการปรับความชื้นทั้งหมด 5 ระดับด้วยกัน ตั้งแต่ระดับความชื้นที่ 12% 16% 20% 24% และ 28% ฐานเปียก (wet basis) ผ่านกระบวนการเริ่มตั้งแต่ตรวจสอบความชื้นเริ่มต้น แล้วทำการปรับความชื้นก่อนเข้าสู่กระบวนการที่ 11% ฐานเปียก จากนั้นจึงทำการปรับความชื้นสู่ 5 ระดับข้างต้นด้วยการเติมน้ำตามปริมาณที่ต้องการ แล้วเก็บรักษาในถุงปิดที่ระดับอุณหภูมิ 2-5oC โดยระดับความชื้นของข้าวเปลือกจะถูกตรวจสอบด้วยการเก็บตัวอย่างมาทำการอบเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์ความชื้นทุกๆ วันเป็นระยะเวลา 14 วัน ผลการอบไล่ความชื้นในข้าวเปลือกที่ผ่านการเติมน้ำแล้วเก็บรักษาไว้ที่ระดับอุณหภูมิ 2-5oC พบว่าข้าวเปลือกที่ระดับความชื้นเป้าหมาย 12% 16% 20% 24% และ 28% ใช้เวลา 2 3 4 6 และ 7 วัน จึงมี Rewetting Index ที่ระดับ 95% และข้าวเปลือกทั้งหมดจะมีระดับความชื้นที่เปอร์เซ็นต์เป้าหมายในเวลาไม่เกิน 12 วันตัวอย่างข้าวเปลือกที่ผ่านการปรับความชื้นแล้วจะถูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องในภาชนะปิด ที่อบด้วยไอของเกลืออิ่มตัวควบคุมระดับความชื้นสัมพัทธ์ในภาชนะให้คงที่เพื่อรักษาระดับความชื้นของข้าวเปลือก จากการทดสอบการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องพบว่าข้าวเปลือกที่ระดับความชื้น 12% และ 16% สามารถเก็บรักษาไว้โดยไม่มีการเสื่อมคุณภาพในระยะเวลา 14 วัน ในขณะที่ข้าวเปลือกที่ระดับความชื้น 20% 24% และ 28% ไม่สามารถเก็บไว้ได้เกินกว่า 3 วัน เนื่องจากมีการเจริญเติบโตของเชื้อราผลการทดสอบความถูกต้องในการวัดความชื้นของเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกด้วยตัวอย่างอ้างอิงพบว่า เครื่องวัดความชื้นแบบความจุไฟฟ้าสามารถอ่านค่าความชื้นได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนในระดับที่น้อยกว่าเครื่องวัดความชื้นแบบความต้านทานไฟฟ้า และลักษณะความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดความชื้นแบบความจุไฟฟ้ามีค่ามากขึ้นในลักษณะแนวโน้มแบบเป็นเชิงเส้นแปรผันตามเปอร์เซ็นต์ความชื้นของข้าวเปลือกที่มากขึ้น สำหรับค่าความคลาดเคลื่อนของความชื้นที่อ่านโดยเครื่องวัดความชื้นแบบความต้านทานไม่สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอนได้คำสำคัญ: ข้าวเปลือก เปอร์เซ็นต์ความชื้น ตัวอย่างอ้างอิงThis research aims to evaluate the preparation process of reference sample of capacitance and resistance type paddy moisture meter for paddy grain. Moisture content of KD-105 and Suphanburi-60 paddy grain is adjusted to five level of 12%, 16%, 20%, 24% and 28% wet basis (wb). Fresh harvest paddy grain of KD-105 and Suphanburi-60 are dried to 11% wb. then rewetted to five level of designation moisture content by adding water and kept into closed container at 2-5oC. Evolution of paddy grain moisture content during 14 day is checked daily by paddy sampling. Investigation of moisture evolution of paddy grain show that moisture content of rewetting paddy grain reach 95% of rewetting index within 2, 3 ,4, 6 and 7 day for designation moisture content of 12% 16% 20% 24% and 28%, respectively. However, all of paddy grain reached designation moisture content within 12 day.Reference paddy grain is contained into closed container filled with saturated salt vapor to control relative humidity and maintain moisture content of reference sample paddy grain. According to physical observation, reference sample of 20% 24% and 28% consider to be deteriorating due to fungal germination within 3 day while reference sample of 12% and 16% moisture content could maintain their quality until 14 day.The apparent moisture content measured by capacitance moisture meter has more accurate than resistance moisture meter measurement. Percent error of moisture content of capacitance moisture meter increase linearly with moisture content of paddy grain while no valid trend of percent error of moisture content of resistance moisture meter.Keywords: Paddy, Moisture Content, Reference SampleDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2013-10-14
How to Cite
Bunyawanichakul, P. (2013). การประเมินกระบวนการเตรียมตัวอย่างอ้างอิงสำหรับเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือก (EVALUATION OF PREPARATION PROCESS OF REFERENCE SAMPLE FOR PADDY MOISTURE METER). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(9, January-June), 47–55. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/3447
Issue
Section
บทความวิจัย