การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณมาลอนไดอัลดีไฮด์ และ 5-ไฮดรอกซีเมทิล-2-เฟอร์ฟิวรัลดีไฮด์พร้อมกันด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง

Authors

  • Jaturong Chongcharoen Srinakharinwirot University.
  • Pornpimol Muangthai Srinakharinwirot University.
  • Piyada Jittangprasert Srinakharinwirot University.

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์ปริมาณสารก่อมะเร็ง 2 ชนิด คือ สารประกอบมาลอนไดอัลดีไฮด์ (MDA) และ 5-ไฮดรอกซีเมทิล-2-เฟอร์ฟิวรัลดีไฮด์ (HMF) พร้อมกัน  โดยในงานวิจัยนี้จะอาศัยการทำอนุพันธ์ระหว่าง MDA และ HMF กับ สารละลายกรดไทโอบาร์บิทูริก (TBA) แล้วจึงวิเคราะห์ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงโดยใช้ระบบรีเวิร์สเฟสโครมาโทกราฟี ซึ่งได้ทำการศึกษาสภาวะต่างๆ ในการแยก ได้แก่ องค์ประกอบของวัฎภาคเคลื่อนที่ อัตราการไหลของวัฎภาคเคลื่อนที่ pH ในการแยก อุณหภูมิและระยะเวลาในการเตรียมอนุพันธ์ และความเข้มข้นของ TBA ที่ใช้ในการเตรียมอนุพันธ์ ทั้งนี้ได้ตรวจวัดสารทั้งสองโดยไดโอดแอเรย์ที่ความยาว 530 nm และ 448 nm ตามลำดับ พบว่าสภาวะที่เหมาะสม ได้แก่ องค์ประกอบของวัฎภาคเคลื่อนที่ที่เป็นเมทานอลต่อฟอสเฟตบัพเฟอร์ที่ 40:60 (v/v) อัตราการไหลของวัฎภาคเคลื่อนที่อยู่ที่ 1.0 mL/min และ pH ของฟอสเฟตบัพเฟอร์ที่ 6.5 โดยใช้ 40 mM TBA ในการเตรียมอนุพันธ์ที่อุณหภูมิ 25°C เป็นเวลา 150 นาที ซึ่งสภาวะดังกล่าวสามารถตรวจวิเคราะห์ HMF และ MDA ได้ที่เวลา 2.6 และ 3.4 นาที ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความเหมาะสมของวิธีการวิเคราะห์สารทั้งสองในตัวอย่างนม โดยการหาค่าขีดจำกัดต่ำสุดในการตรวจวัด (LOD) ขีดจำกัดต่ำสุดในที่สามารถวิเคราะห์ปริมาณได้ (LOQ) และร้อยละการคืนกลับ ซึ่งวิธีการที่พัฒนาขึ้นมีค่าของ LOD ของ MDA และ HMF อยู่ที่ (S/N = 3) 0.01 nmol/ml และ 0.30 nmol/mL ตามลำดับ ค่า LOQ ของ MDA และ HMF อยู่ที่ (S/N = 10) 0.07 nmol/mL และ 2.38 nmol/mL ตามลำดับ ในการวิเคราะห์ MDA และ HMF ในตัวอย่างนมพร้อมดื่ม พบว่า ค่าเฉลี่ยของร้อยล่ะการคืนกลับของวิธีการซึ่งทดสอบมีค่า 75.71% และ 107.51% ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (%RDS) เฉลี่ยอยู่ที่ 8.5% และ 6.2% ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับวิเคราะห์ปริมาณ MDA และ HMF พร้อมกันได้ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไปคำสำคัญ: มาลอนไดอัลดีไฮด์ 5-ไฮดรอกซีเมทิล-2-เฟอร์ฟิวรัลดีไฮด์ กรดไทโอบาร์บิทูริกThe optimal conditions for simultaneous analysis of malondialdehyde and hydroxymethylfurfuraldehyde contents were investigated. Both substance are claimed to be carcinogenic substances in several foods. In this research, the derivertized substances of malondialdehyde and hydroxymethylfurfuraldehyde were prepared with 2-thiobarbituric acid. Then those derivertized substances were separated and analyzed theirs content by reverse phase high performance chromatographic technique. The optimized parameters such as mole ratio of mobile phase, flow rate, pH, temperature, time and reagent concentration were studied and detected both substance by diode array detector at 530 and 448 nm, respectively. The optimum condition showed that  the ratio between methanol and phosphate buffer (pH 6.5) was 40 : 60 (v/v). The flow rate was controlled at 1.0 ml/min. The derivertized substances were prepared  by 40 mM thiobarbituric acid as the reagent to react with both substances at 25°C for 150 min. Both derivatived substances showed different color, so derivative compounds were separated and identified at retention time 2.6 and 3.4 min,respectively. The result of validate method for analysis both substances in milk sample including LOD and LOQ showed that LOD (S/N = 3) and LOQ (S/N = 10) of MDA ware 0.01 nmol/ml and 0.07 nmol/ml, respectively. The LOD in HMF analysis was 0.30 nmol/ml and LOQ was 2.38 nmol/ml. The recoveries (%) of MDA and HMF were 75.7% and 107.5%, respectively. The relative standard deviation (%RSD) of both compounds were 8.5 and 6.2%, respectively. These methods were successfully developed for the determination of HMF and MDA in drinking milk samples and can be applied for detection in several samples.Keywords: malondialdehyde, hydroxymethylfurfuraldehyde, Thiobarbituric acid

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Jaturong Chongcharoen, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Pornpimol Muangthai, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Piyada Jittangprasert, Srinakharinwirot University.

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2012-09-21

How to Cite

Chongcharoen, J., Muangthai, P., & Jittangprasert, P. (2012). การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณมาลอนไดอัลดีไฮด์ และ 5-ไฮดรอกซีเมทิล-2-เฟอร์ฟิวรัลดีไฮด์พร้อมกันด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(8, July-December), 14–27. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/2386